Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์กรณีศึกษา เรื่อง สลดลูกตายคาท้อง! สาวจะคลอดร้องเรียกพยาบาลนอนเฉย…
วิเคราะห์กรณีศึกษา เรื่อง สลดลูกตายคาท้อง!
สาวจะคลอดร้องเรียกพยาบาลนอนเฉยบอกให้ทนเอา
ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอด (6P)
1.แรงผลักดัน (Power)
เวลา 09.00 น ของวันที่ 28 พฤศจิกายน 61 ขณะนั้นรู้สึกเจ็บท้องเป็นพักๆ ทุก 15 – 20 นาที
เวลา 04.00 น วันที่ 29 พฤศจิกายน 61 มารดารู้สึกผิดปกติ คือ เด็กดิ้นมาก น้ำคร่ำเดิน ท้องเริ่มยุบ เจ็บท้องถี่ทุก 2-3 นาที
2.หนทางคลอด (Passages)
ไม่มีปัญหา เพราะเคยคลอดบุตรเองมาแล้ว 2 ครั้ง
3.สิ่งที่คลอดออกมา (Passengers)
ไม่มีปัญหา เพราะทารกมี Vertex เป็นส่วนนำ และทารกมีน้ำหนัก 2780 กรัม
4.สภาวะร่างกาย (Physical condition)
ผู้คลอดที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ไม่มีโรคประจำตัว และมาตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
กฎหมาย
พรบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2545 ว่าด้วยมาตรา 41
สูญเสียอวัยวะหรือพิการ ตั้งแต่ 100,000 ไม่เกิน 240,000 บาท
บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 100,000 บาท
เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร ตั้งแต่ 240,000 ไม่เกิน 400,000 บาท
ประโยชน์ที่ได้รับ
พยาบาลไม่ควรละเมิดสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติควรรายงานแพทย์และพิจารณาการส่งต่อผู้ป่วย
ควรมีการติดตามความก้าวหน้าของการคลอดด้วย partograph เป็นระยะ
ข้อเสนอแนะ
พยาบาลควรมีการประเมินความก้าวหน้าของการคลอด โดยการตรวจภายในเพื่อประเมินการเปิดขยายของปากมดลูก โดยในเวลานั้นมีถุงน้ำแตกแล้ว อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ สายสะดือพลัดต่ำหรือสายสะดือพันคอได้ ซึ่งหากพยาบาลมีการประเมินแล้วพบความผิดปกติ แล้วมีการรายงานแพทย์ อาจป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับทารกได้
พยาบาลควรมีการอธิบายของขั้นตอนการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น
พยาบาลควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
เมื่อแพทย์มาถึงโรงพยาบาล ควรมีการตัดสินใจที่จะผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เพื่อทำการช่วยชีวิตเด็กให้เร็วที่สุด
หลักสังคมและศีลธรรม
พยาบาล
ด้านสังคม
จากการวิเคราะห์กรณีศึกษา การที่พยาบาลนิ่งเฉยไม่สนใจความเจ็บปวดของผู้คลอดรายนี้จนทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิต เมื่อสังคมได้ทราบข่าวนี้ วิชาชีพพยาบาลจะถูกตีแผ่ในด้านลบ สังคมจะมองว่าพยาบาลไม่มีจรรณยาบรรณที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้ เอาแต่ห่วงที่จะนอน ทำให้ภาพลักษณ์ของพยาบาลถูกสังคมมองไปในทางเสื่อมเสีย
ด้านศีลธรรม
จากในข่าวพยาบาาลควรจะเสียสละเวลาการนอนลุกมาดูแลประเมินอาการหญิงตั้งครรภ์ รายงานอาการกับแพทย์จะดีกว่าการนอนโต้ตอบอยู่บนเตียงตนเอง ควรช่วยตามกำลังที่มีให้ถึงที่สุด ณ เวลานั้น ควรเห็นใจความเจ็บปวดของหญิงตั้งครรภ์ คิดช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ให้พ้นทุกข์ ไม่ควรนิ่งเฉย
แพทย์
ด้านสังคม
แพทย์ได้ออกมาแถลงข่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากพยาบาลไม่ได้รายงานแพทย์ เกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในตอนนั้น จึงทำให้สังคมมองว่าเป็นความผิดของพยาบาล แต่ในความจริงนั้นเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้เป็นความผิดของพยาบาลเพียงคนเดียว แต่รวมถึงบุคลาการทางแพทย์ที่ไม่ได้มาดูอาการของหญิงตั้งครรภ์เป็นระยะด้วย
สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วยการตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต
พยาบาลไม่ได้ปฏิบัติตามสิ่งที่หญิงตั้งครรภ์ร้องขอเรื่องการส่งตัวไปยังโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ทั้งที่หญิงตั้งครรภ์จัดอยู่ในรายที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้ทารกเกิดภาวะตายในครรภ์ในที่สุด
ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไมมีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
พยาบาลไม่ได้ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด อัตราการเต้นของหัวใจของทารก ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้พยาบาลไม่ทราบภาวะฉุกเฉินของผู้คลอดและทารกในครรภ์
ผู้ป่วยมีสิทธิขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพหรือเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มีอยู่
พบว่าหญิงตั้งครรภ์อายุ 42 ปี ซึ่งจัดว่าเป็นรายที่มีความเสียงสูง สถานพยาบาลควรมีการส่งตัวหญิงตั้งครรภ์ไปคลอดในสถานที่มีความพร้อมสูงกว่าและมีแพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์และกุมารศาสตร์ และควรให้คำแนะนำเรื่องการส่งตัวว่าไปโรงพยาบาลจังหวัด
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
พบว่าพยาบาลนิ่งเฉย ขณะที่หญิงตั้งครรภ์บอกว่าตนรู้สึกปวดท้องอย่างมาก หน้าท้องแข็งเกร็ง ทารกในครรภ์ดิ้นมากขึ้นแล้ว จากนั้นดิ้นลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าอาจเสี่ยงต่อภาวะทารกตายในครรภ์
สิทธิและข้อพึงปฏิบัติด้านสามีผู้ป่วย
สิทธิที่สามีควรได้รับคือการสามารถเข้าไปให้กำลังใจผู้ป่วย ขณะที่สูญเสียทารกไปแล้วเพราะว่าผู้ป่วยอาจมีปัญหาทางด้านจิตใจที่ต้องสูญเสียบุตรไปและสิทธิเรียกร้องยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือ เบื้องต้น(มาตรา 41)
ด้านแพทย์
ด้านจริยธรรม
การยึดถือประโยชน์ของผู้ป่วยและส่วนรวมเป็น(beneficence) แพทย์มีหน้าที่ในการสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีและยังประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ป่วยและสุขภาวะของสังคมโดยรวม
การปฏิบัติงานที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อผู้ป่วย (nonmaleficence) แพทย์มีหน้าที่ในการให้การดูแลรักษาในทุกขั้นตอนที่หลีกเลี่ยงภัย อันตรายใน ทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
ด้านสังคม
แพทย์ได้ออกมาแถลงข่าว พูดถึงว่า เกิดจากพยาบาลไม่ได้รายงานแพทย์ เกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของมารดาในตอนนั้นจึงทำให้สังคมมองมองว่าเป็นความผิดของพยาบาล แต่ในความจริงนั้นเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้มาจากพยาบาลเพียงคนเดียว แต่รวมถึงบุคลาการทางแพทย์ที่ไม่ได้มาดูอาการของหญิงตั้งครรภ์เป็นระยะ
พยาบาล
หลักจริยธรรมในวิชาชีพพยาบาล
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ โดยพยาบาลควรใส่ใจในความเจ็บปวดของหญิงตั้งครรภ์ ควรให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด พูดให้กำลังใจ และบอกถึงความก้าวหน้าของการคลอด ซึ่งพยาบาลควรเดินมาประเมินอาการของผู้ป่วยข้างเตียง
ความซื่อสัตย์และการรักษาความลับ พยาบาลควรมีการเพิ่มพูน ความรู้ ความสามารถ ทักษะในการทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรมีการประเมินความก้าวหน้าของการคลอดเป็นระยะๆ และเมื่อพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น และอยู่นอกเหนือขอบเขตของพยาบาล ควรมีการแจ้งไปยังแพทย์ เพื่อให้เข้ามาประเมินอาการหญิงตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติทันที
การไม่ทำในสิ่งที่เป็นอันตราย โดยพยาบาลควรใช้ความระมัดระวังเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ไม่ควรละเลยหน้าที่จนก่อให้เกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ซึ่งพยาบาลควรเดินมาประเมินอาการของผู้ป่วยข้างเตียง
ความรับผิดชอบ โดยพยาบาลไม่มีความมุ่งมั่นตั้งใจต่อการปฏิบัติหน้าที่มากพอที่จะคำนึงถึงอันตรายที่ผู้ป่วยจะได้รับ
จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน
พยาบาลควรใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของหญิงตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม
ไม่ควรทอดทิ้งและละเลยหน้าที่จนก่อให้เกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ซึ่งพยาบาลควรเดินมาประเมินอาการของหญิงตั้งครรภ์ข้างเตียง
พยาบาลควรมีสติใส่ใจในความเจ็บปวดของหญิงตั้งครรภ์ ควรให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด โดยพยาบาลควรใช้ความระมัดระวังเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ
พยาบาลควรพึงตระหนักและถือปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบ เมื่อคนไข้ร้องขอความช่วยเหลือ ควรรีบเข้าไปดูประเมินอาการทันที เพื่อให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีและตามความเหมาะสมพยาบาล
พยาบาลควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้พยาบาลควรมีการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะในการทำงาน เมื่อสังเกตได้ว่าหญิงตั้งครรภ์มีอาการผิดปกติ ควรที่จะประเมินได้ว่าควรให้การพยาบาลแบบใดที่จะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
เมื่อพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรมีการแจ้งไปยังแพทย์ซึ่งพยาบาลควรเป็นผู้ประสานงาน
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง
พยาบาลควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจและใส่ใจต่อหญิงตั้งครรภ์ เมื่อหญิงตั้งครรภ์ร้องขอความช่วยเหลือก็ควรมาดูประเมินอาการ ดูความผิดปกติที่เกิดต่อหญิงตั้งครรภ์ และให้การช่วยเหลือตามหลักความรู้การปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสมทำอย่างเต็มความสามารถของตนเอง
พยาบาลควรมีสติในการทำงาน ประเมินอาการของหญิงตั้งครรภ์ตามองค์ความรู้ของการพยาบาล ใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบในการปฏิบัติงาน
แพทย์
จริยธรรม
การยึดถือประโยชน์ของผู้ป่วยและส่วนรวมเป็นหลัก(beneficence) แพทย์มีหน้าที่ในการสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีและยังประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ป่วยและสุขภาวะของสังคมโดยรวม
การปฏิบัติงานที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อผู้ป่วย (no maleficence) แพทย์มีหน้าที่ในการให้การดูแลรักษาในทุกขั้นตอนที่หลีกเลี่ยงภัย อันตรายใน ทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย