Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาล เด็กชายไอจัง หอบเหนื่อย (เสี่ยงต่อการชักเนื่องจากมีไข้สูง…
การพยาบาล
เด็กชายไอจัง หอบเหนื่อย
เสี่ยงต่อการชักเนื่องจากมีไข้สูง
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยหายใจ 44 ครั้ง/นาที
ผู้ป่วย/ญาติบอกไข้ หนาวสั่น ครั่นเนื้อ ครั่นตัว
กิจกรรมการพยาบาล
ถ้า T > 38 ◦C ทำ Tepid Sponge
แนะนำผู้ป่วย/ญาติเช็ดตัวลดไข้
ติดตามวัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมงโดยเฉพาะอุณหภูมิ เพื่อประเมินภาวะไข้ หากพบความผิดปกติรายงานให้แพทย์ทราบ
กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ 2000 -3000 cc/day
ดูแลให้พักผ่อนเพียงพอ
รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาลดไข้
วาง Cold pack หน้าผากเพื่อระบายความร้อน
จัดสิ่งแวดล้อมให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
Chest X-ray ปอดพบ Infiltration both lower lung
Sputum culture พบ streptococcus pneumoniae
ตรวจร่างกายพบ Throat : อักเสบเล็กน้อย Lung : Rhonchi, fine crepitation, wheezing both lower lung
ผู้ป่วยหายใจ 44 ครั้ง/นาที หอบเหนื่อย ,ไอ, Subintercostal retraction
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ
จัดท่านอนศีรษะสูง
ติดตามผล lab hb hct และ Chest X-Ray
ประเมินและติดตามภาวะพร่องออกซิเจน โดยการวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง ประเมินสีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและสารอาหารในร่างกาย เนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อย
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยอาเจียน ไม่ดูดนม ทานได้น้อย
น้ำหนักลดลงจาก 8.4 กิโลกรัม เหลือ 7.8 กิโลกรัม
การพยาบาล
กระตุ้นให้มารดาให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ รวมทั้งดูแลให้เด็กได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาของแพทย์
จัดอาหารเสริมให้ได้คุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ ได้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ พร้อมกับให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าอาหารครบ 5 หมู่แก่บิดา มารดา เพื่อนำไปปฏิบัติต่อที่บ้าน
ดูแลให้ได้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
อธิบายให้มารดาจัดหานมสูตรต่อเนื่องให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งวิธีชงที่ถูกต้อง
สอนผู้ป่วยและญาติในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงขนมกรุบกรอบ
ติดตามการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของผู้ป่วย โดยการชั่งน้ำหนักทุกวันในเวลาเช้าก่อนรับประทานอาหารและบันทึกไว้
มารดามีความวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของบุตรและความไม่เข้าใจวิธีการรักษา
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาอายุ 16 ปี
ประวัติการตั้งครรภ์ G1P1
มารดามีสีหน้าอิดโรย
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก บิดา มารดา โดยการพูดคุย ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลและมีท่าที
เป็นกันเองอย่างสม่ำเสมอ
เปิดโอกาสให้บิดา มารดาซักถามปัญหาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของบุตร และตอบข้อซักถามด้วยวาจาที่นุ่มนวล สุภาพ
อธิบายให้บิดา มารดาเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรค การดำเนินของโรค แผนการรักษาของแพทย์ให้บิดา มารดาฟังพอสังเขป
อนุญาตให้มารดาหรือบิดาดูแลบุตรอย่างใกล้ชิด
เสริมสร้างกำลังใจให้บิดามารดาหรือญาติในเรื่องของการดูแลบุตร เพื่อให้ญาติเกิดความมั่นใจมากขึ้น เมื่อบุตรมีปัญหาเจ็บป่วย
แนะนำช่องทางการขอความช่วยเหลือหรือติดต่อกลับ กรณีเกิดความไม่มั่นใจ หรือกรณีเกิดภาวะ
ฉุกเฉินต้องการได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน