Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Electronic signatures (ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส) (5W & 1H (WHERE (Kerry…
Electronic signatures (ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส)
CASE
มีคนเซ็นต์รับของแทนบ้านผม อาจเป็นบุรษไปรษณีย์?
https://pantip.com/topic/36599557?fbclid=IwAR2xIpCjjeMW_pjVDu8Avdsvja40JBnu6vZ6zxtrurFvlHNyGcfPG51Hgjs
ประสบการณ์จากเพื่อน มีการเซ็นต์รับของโดยบุรุษไปรษณีย์ มีการเซ็นรับของโดยมีการระบุว่า ของอยู่หน้าบ้าน
5W & 1H
WHAT
อักษร อักขระ ตัวเลข ลายนิ้วมือ หรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนํามาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
WHERE
Kerry
ไปรษณีย์
ห้างสรรพสินค้า
สถานที่ต่างๆ ที่ต้องการการยืนยันตัวตน
WHEN
มีการส่งของ
มีการซื้อสินค้าตามห้างร้านผ่านบัตรเครดิต/เดบิต
มีการยืนยันตัวตน โดยเป็นการสแกนลายนิ้วมือ
การเบิกถอนเงินสดจากบัญชีหรือผ่านตู้ ATM
WHY
เพื่อสะดวกต่อการยืนยันตัวตน
HOW
มีเครื่องอุปกรณ์ในการใช้เซ็นต์ยืนยันตัวตน
WHO
“เจ้าของลายมือชื่อ” หมายความว่า ผู้ซึ่งถือข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
และสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นในนามตนเองหรือแทนบุคคลอื่น
ประโยชน์
1.เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับคู่ค้าว่าทำธุรกิจกับบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง คู่ค้ายินดีที่จะทำการค้ากับเว็บไซต์ที่มีการใช้ลายมือชื่อดิจิตอลมากกว่าเว็บไซต์ที่ไม่มีการใช้ลายมือชื่อดิจิตอลตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมาไม่ได้มีการดัดแปลงหรือแก้ได้
2.เพื่อให้คู่ค้าสามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลจริงๆไม่ได้มีคนอื่นเปิดอ่านหรือดัดแปลง ทำให้เกิดความสบายใจและความเชื่อถือในการซื้อขายปกป้องข้อมูลให้เป็นความลับจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต
3.ปกป้องสิทธิจากบุคคลที่จงใจจะทำผิดสัญญา
4.ในกรณีที่ผู่ส่งทำสัญญาโดยมีการใช้ลายมืออิเล็คทรอนิกส์แล้ว และผู้ส่งจะทำผิดสัญญาโดยบอกว่าไม่ได้ส่งข้อมูล ผู้รับสามารถใช้ลายมือชื่อดิจิตอลเป็นหลักฐานในการเอาผิดทางกฎหมายได้
ข้อเสีย
2.วิธีการนี้ยังขาดความชัดเจน ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายเซ็นเป็นผู้ลงนามจริงหรือไม่ จึงอาจโดนปฏิเสธความรับผิดชอบในชั้นศาลได้
1.ไม่สามารถตรวจจับการแก้ไขเนื้อหา หรือข้อความในเอกสารที่เกิดขึ้นหลังจากการเซ็นได้
พระราชบัญญัติ
หมวด ๒
ลายมือชื่ออิเล็กกทรอนิกส์
มาตรา ๒๖ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้
(๑) ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เช่ือมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อ
โดยไม่เชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่นภายใต้สภาพที่นํามาใช้
(๒) ในขณะสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น
(๓) การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้นสามารถ
จะตรวจพบได้และ
(๔) ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ การเปลี่ยนแปลงใดแก่ข้อความนั้นสามารถตรวจพบได้นับแต่เวลาที่ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการจํากัดว่าไม่มีวิธีการอื่นใดที่แสดงได้ว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ หรือการแสดงพยานหลักฐานใดเกี่ยวกับความไม่น่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส
มาตรา ๒๗ ในกรณีมีการใช้ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างลายมือ
ชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จะมีผลตามกฎหมาย เจ้าของลายมือชื่อต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้มีการใช้ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาติ
(๒) แจ้งให้บุคคลทคาดหมายได ี่ ้โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะกระทําการใดโดยขึ้นอยู่กับลายมือ
ชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทราบโดยมิชักช้า เมื่อ
(ก) เจ้าของลายมือชื่อรู้หรือควรได้รู้ว่าข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น
สูญหาย ถูกทําลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผยโดยมิชอบ หรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
(ข) เจ้าของลายมือชื่อรู้จากสภาพการณ์ที่ปรากฏว่ากรณีมีความเสี่ยงมากพอที่ข้อมูล
สําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สูญหาย ถูกทําลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผยโดยมิชอบ หรือถูก
ล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
มาตรา ๒๘ ในกรณีมีการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมายเสมือนหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้บริการออกใบรับรองต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติที่ตนได้แสดงไว้
(๒) ใช้ความระมัดระวังตามสมควรให้แน่ใจในความถูกต้องและความสมบูรณ์ของการแสดงสาระสําคัญทั้งหมดที่ตนได้กระทําเกี่ยวกับใบรับรองนั้นตลอดอายุใบรับรอง หรือตามที่มีการกําหนดในใบรับรอง
๓) จัดให้มีวิธีการในการเข้าถึงโดยสมควร ให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบ
(ก) การระบุผู้ให้บริการออกใบรับรอง
(ข) เจ้าของลายมือชื่อซึ่งระบุในใบรับรองได้ควบคุมข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่อข้อเท็จจริงในการแสดงสาระสําคัญทั้งหมดจากใบรับรองได้ในเรื่องดังต่อไป
(ค) ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีผล ใช้ได้ในขณะหรือก่อนที่มีการอิเล็กทรอนิกส์ในขณะมีการออกใบรับรอง
(๔) จัดให้มีวิธีการเข้าถึงโดยสมควร ให้คู่กรณทีี่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบกรณีดังต่อไปนี้
จากใบรับรองหรือจากวิธีอื่น
(ก) วิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ
(ข) ข้อจํากัดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนําขอม้ ูลสําหรับใชสร้ ้างลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกสหร์ ือใบรับรอง
(ค) ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีผลสมบูรณ์ใช้ได้และไม่สูญหาย
ถูกทําลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผยโดยมิชอบ หรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
(ง) ข้อจํากัดเกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดที่ผู้ให้บริการออกใบรับรองได้ระบุไว้
(จ) การมีวิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคําบอกกล่าวเมื่อมีเหตุตามมาตรา ๒๗ (๒)
(ฉ) การมีบริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรองที่ทันการ
(ฉ) การมีบริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรองที่ทันการ
(๕) ในกรณีที่มีบริการตาม (๔) (จ) บริการนั้นต้องมีวิธีการที่ให้เจ้าของลายมือชื่อสามารถแจ้งได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามมาตรา ๒๗ (๒) และในกรณีที่มีบริการตาม (๔) (ฉ) บริการนั้นต้องสามารถเพิกถอนใบรับรองได้ทันการ(
๖)ใช้ระบบ วิธีการ และบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บรการ
มาตรา ๒๙ ในการพิจารณาความเชื่อถือได้ของระบบ วิธีการ และบุคลากรตามมาตรา ๒๘
(๖) ให้คํานึงถึงกรณีดังต่อไปนี
(๑) สถานภาพทางการเงิน บุคลากร และสินทรัพย์ที่มีอยู่
(๒) คุณภาพของระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
(๓) วิธีการออกใบรับรอง การขอใบรับรอง และการเก็บรักษาข้อมูลการให้บริการนั้น
(๔) การจัดให้มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเจ้าของลายมือชื่อที่ระบุในใบรับรอง และผู้ที่อาจ
คาดหมายได้ว่าจะเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
(๕) ความสม่ําเสมอและขอบเขตในการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ
(๖) องค์กรที่ให้การรับรองหรือให้บริการออกใบรับรองเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือการมีอยู่ของ
สิ่งที่กล่าวมาใน (๑) ถึง (๕)
(๗) กรณีใดๆ ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา ๓๐ คู่กรณีที่เกี่ยวข้องต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้
๑)ดําเนินการตามสมควรในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(๒)ในกรณีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีใบรับรอง ต้องมีการดําเนินการตามสมควร ดังนี้
(ก)ตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบรับรอง การพักใช้หรือการเพิกถอนใบรับรอง และ
(ข)ปฏิบัติตามข้อจํากัดใดๆ ที่เกี่ยวกับใบรับรอง
มาตรา๓๑ ใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลทางกฎหมายโดยไม่ต้องคํานึงถึง
(๑) สถานที่ออกใบรับรองหรือสถานที่สร้างหรือใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ
(๒)สถานที่ทําการงานของผู้ออกใบรับรองหรือเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ใบรับรองที่ออกในต่างประเทศให้มีผลตามกฎหมายในประเทศเช่นเดียวกับใบรับรองที่ออกในประเทศ หากการออกใบรับรองดังกล่าวได้ใช้ระบบที่เชื่อถือได้ไม่น้อยกว่าระบบที่เชื่อถือได้ตามพระราชบัญญัตินี้
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างหรือใช้ในต่างประเทศให้ถือว่ามีผลตามกฎหมายในประเทศ
เช่นเดียวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างหรือใช้ในประเทศ หากการสร้างหรือใช้ลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ใช้ระบบที่เชื่อถือได้ไม่น้อยกว่าระบบที่เชื่อถือได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ในการพิจารณาว่าใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ใดมีความเชื่อถือได้ตามวรรคสอง
หรือวรรคสาม ให้คํานึงถึงมาตรฐานระหว่างประเทศและปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
บทลงโทษ
มาตรา 264
ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
มาตรา 265
ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท