Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Patent สิทธิบัตร (WHERE (บริษัท, องค์กร, ธุรกิจ), WHAT?…
Patent สิทธิบัตร
-
WHAT?
หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือ ออกแบบลวดลายไม่ให้เหมือนคนอื่น
ศาลจีนเมืองฝูโจวสั่งห้ามจำหน่าย iPhone หลายรุ่นเนื่องจากละเมิดสิทธิบัตร 2ฉบับของควอลคอม คือในส่วนของการปรับภาพ และจัดการแอปพิเคชั่นในการใช้ทัชสกรีน
แอปเปิลจดสิทธิบัตรในชื่อ ‘การตรวจจับผู้ควบคุมในรถยนต์ด้วยการใช้อุปกรณ์สวมใส่’ โดยเป็นแนวคิดเพื่อลดแรงกระตุ้นที่ทำให้ผู้ขับรถยนต์หยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวในนาฬิกาอัจฉริยะ โดยเมื่อผู้สวมใส่อยู่ในท่าจับพวงมาลัยรถยนต์ ระบบจะปิดการแจ้งเตือนทุกอย่างของสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะโทรศัพท์หรือข้อความเข้า ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิไปกับโทรศัพท์น้อยลง
แต่ระบบนี้ยังมีจุดอ่อนอยู่ คือมันต้องใช้นาฬิกาอัจฉริยะ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอุปกรณ์ชนิดนี้
-
บทลงโทษ
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. สิทธิบัตร(ฉบับที่3)พ.ศ.2542
หมวดที่6 ความผิดและกำหนดโทษ
มาตรา ๘๗ บุคคลใดยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืออนุสิทธิบัตร โดยการแสดงข้อความอันเป็ นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้ไปซึ่ง สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทําผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็ นนิติบุคคล ผู้ดําเนินกิจการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่กฎหมายกาหนดสําหรับความผิดนั้นๆด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้วาการกระทําของนิติบุคคลนั้นได้กระทําโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
-
-
-
HOW
การจดสิทธิบัตร
- การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จะต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม
- เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้ว ถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอหรือ
ตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งนี้จะมีเงื่อนเวลาว่า จะต้องดำเนินการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากดำเนินการไม่ทันก็สามารถขอผ่อนผันได้ หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
- ในการแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอจะต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติม
พร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียม
- ในกรณีคำขอตามข้อ 1 ถูกต้องหรือได้แก้ไขถูกต้องตามข้อ 3 แล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอมาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาเป็นเงิน 250 บาท โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งสองครั้งๆ ละ 60 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ และให้จัดส่งคำขอรับสิทธิบัตรชุดล่าสุดอีกหนึ่งชุดพร้อมทั้งส่งคำแปลข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านกรณีที่ผู้อื่นเห็นว่าสิ่งที่ยื่นขอสิทธิบัตรนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย หรือผู้ขอไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์แอบเอาของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์มาจดทะเบียน
- เมื่อประกาศโฆษณาแล้ว ผู้ขอต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงิน 250 บาท โดยใช้แบบ สป/อสป/005-ก ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศโฆษณา หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
- ภายหลังจากมีการขอให้ตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการสืบค้นเอกสารว่า เคยมีสิ่งประดิษฐ์เดียวกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ( รวมทั้งตรวจค้นเอกสารจากต่างประเทศด้วย ) ถ้าคำขอถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย จะแจ้งให้ผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนเป็นเงิน 500 บาท และออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอต่อไป หากไม่ถูกต้องจะยกคำขอ
-