Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling )…
การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น
( Probability sampling )
การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างว่าทุกๆหน่วยหรือทุกๆสมาชิกในประชากรมีโอกาสจะถูกเลือกเท่าๆกัน จะต้องมีรายชื่อประชากรทั้งหมด ใช้วิธีการจับสลากหรือใช้ตารางเลขสุ่มโดยมีเลขกำกับหน่วยรายชื่อทั้งหมดของประชากร
สุ่มจากหน่วยย่อยของประชากร
ตัวอย่าง
ประชากรทั้งหมด 400 คน ต้องการ 100 คน นำประชากรทั้ง 400 คน มาให้หมายเลขตั้งแต่ 001 ถึง 400 เขียนลงในฉลากแล้วนำมาคลุกเคล้ากันสุ่มมาเพียง 100 คน
ข้อดี
วิธีการไม่สลับซับซ้อน ปฏิบัติได้ง่าย
ข้อเสีย
มีค่าใช้จ่ายสูง
การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างประชากรแบบแบ่งประชากรออกเป็นพวกหรือชั้น โดยมีลักษณะภายในคล้ายกัน แต่จะแตกต่างกันระหว่างชั้น จากนั้นทำการสุ่มจากแต่ละชั้นขึ้นมา โดยใช้สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่สุ่มขึ้นมาเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้
มีการแบ่งประชากรเป็นชั้น/พวก ที่มีลักษณะภายในชี้นคล้ายคลึงกัน
ข้อดี
วิธีนี้ช่วยควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน
ข้อเสีย
การแบ่งประชากรเป็นประชากรย่อยอาจปฏิบัติได้ยาก
ตัวอย่าง
แบ่งตามพื้นที่ แบ่งตามเพศ แบ่งตามอายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้
การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกตามพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายชื่อของประชากร และสุ่มตัวอย่างประชากรจากพื้นที่ดังกล่าวตามจำนวนที่ต้องการหรือจะทำการสุ่มต่อเป็นลำดับขั้นมากกว่า 1 ระดับ โดยอาจแบ่งพื้นที่จากภาค เป็นจังหวัด เรื่อยไปจนเล็กสุด
ข้อดี
ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย
ประสิทธิภาพจะต่ำ
หน่วยย่อยของประชากรอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งมีความหลากหลายภายในกลุ่ม
ตัวอย่าง
ถ้าต้องการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั่วประเทศไทย ก็อาจทำได้โดยเตรียมรายชื่อของโรงเรียนทั้งหมดแบ่งตามภาคของโรงเรียน สุ่มตัวอย่างออกมา
วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างประชากรโดยแบ่งประชากรออกเป็นลำดับชั้นต่าง ๆ โดยทำการสุ่มประชากรจากหน่วยหรือสำดับชั้นที่ใหญ่ก่อน ก็ทำการสุ่มหน่วยที่มีลำดับใหญ่รองลงไปทีละชั้น ๆ จนถึงกลุ่มตัวอย่างในชั้นที่ต้องการ
ข้อดี
ใช้ได้ดีกับประชากรขนาดใหญ่ที่แบ่งเป็นลำดับชั้นลดหลั่น
ข้อเสีย
มีค่าใช้จ่ายสูงในการติดตามกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรแบ่งเป็นลำดับชั้นแบบลดหลั่น
ตัวอย่าง
การสุ่มหาประชากรจากจังหวัด แล้วมาอำเภอ มาตำบล
การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ( Systematic sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยมีรายชื่อของทุกหน่วยประชากรมาเรียงเป็นระบบ การสุ่มจะแบ่งประชากรออกเป็นช่วงๆที่เท่ากัน แล้วสุ่มประชากรหน่วยแรก ส่วนหน่วยต่อๆไปนับจากช่วงสัดส่วนที่คำนวณไว้
ข้อดี
วิธีการไม่สลับซับซ้อน
ปฏิบัติได้ง่าย
ข้อเสีย
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเป็นวงจรหรือช่วง อาจได้ตัวอย่างที่ลำเอียง
ตัวอย่าง
ต้องการสุ่มนักเรียน 200 คน จากทั้งหมด 1,000 คน จึงสุ่มทุกๆ 5 คน เอามา 1 คน เมื่อสุ่มผู้ที่ตกเป็นตัวอย่างประชากรคนแรกได้หมายเลข 003 คนที่สองตกเป็นตัวอย่างได้แก่หมายเลข 008 สำหรับคนที่สามและคนต่อ ๆ ไป
สุ่มจากหน่วยย่อยของประชากร