Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ความสำคัญและความหมายของการวัดและประเมินผล (ความสำคัญ (ด้านบริหาร,…
บทที่ 1 ความสำคัญและความหมายของการวัดและประเมินผล
ความสำคัญ
การวัดผลและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการสอนและเป็นส่วนสำคัญที่ผู้สอนที่ดีจะแสวงหาแนวทางให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ และเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
ผู้สอนจะต้องรู้ความสามารถของผู้เรียน ความสนใจของผู้เรียน
และข้อบกพร่องของผู้เรียน โดยอาศัยกระบวนการของ
การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา
ด้านบริหาร
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและแผน
หรือทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับชาติระดับท้องถิ่นและสถานศึกษา
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศในการประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงานขององค์การทางการศึกษาสถานศึกษาเพื่อปรับปรุงงานใหม่ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศในการกำหนดงบประมาณจำนวนบุคลากรอาคารสถานที่ สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอในการจัดการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศในการนิเทศ ติดตามการดำเนินงาน
ให้เป็นไปตามแผนงานของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยให้ได้ข้อมูล สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการบริหารและตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
ด้านการเรียนการสอน
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณภาพของการเรียนการสอน ในการประเมินการเรียนรู้ การตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ของครู
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการ
ใช้สื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนเป็นการประเมิน สรุปผลการเรียนรู้ซึ่งมีหลายระดับ
ด้านประกันคุณภาพการศึกษา
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศรายงานต่อผู้เรียน
ผู้ปกครอง และประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพ
การศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่น และสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณภาพ ศักยภาพ สามารถพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ด้านการวิจัย
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศจากการวิจัยเกี่ยวกับนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับชาติและระดับ สถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศจากผลการวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบการจัดการศึกษา
การวิจัยในห้องเรียน
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศจากผลการวิจัยเกี่ยวกับ เทคโนโลยี นวัตกรรมการเรียนการสอน
นำมาใช้ในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศจากผลการวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษา
ความหมาย
การวัด
หมายถึง การกำหนดค่าเป็นตัวเลขให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง โดยใช้กฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ค่าที่เป็นตัวเลขนั้น มีความหมายในเชิงปริมาณเพื่อแทนคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการวัด
หมายถึง กระบวนการกำหนดตัวเลขหรือ
สัญลักษณ์แทนปริมาณหรือคุณภาพของคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการวัด
สรุปการวัดเป็นการกำหนดค่าเป็นตัวเลขให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่งที่ต้องการวัดโดยใช้ กฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ค่าที่เป็นตัวเลขนั้น มีความหมายในเชิงปริมาณเพื่อแทนคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการวัด
การประเมิน
หมายถึง กระบวนการศึกษาสิ่งต่างๆ โดยใช้ระเบียบ
วิธีวิจัย (Research oriented) เป็นการตรวจสอบการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ช่วยเสนอสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจและเป็นการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่มุ่งประเมิน
หมายถึง การประเมินเป็นกระบวนการรวบรวมคัดเลือกข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมมาวิเคราะห์แล้วจัดทำรายงานสรุปให้กับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจไว้พิจารณาตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสม
สรุปความหมายของการประเมินเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมและ นำมาวิเคราะห์ตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยนำผลการวัดมาเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้และสามารถนำผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน
ลักษณะ
3 ลักษณะสำคัญ
การวัดผลจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ เพื่อเทียบกับมาตรฐานที่จะบอกปริมาณหรือจำนวนของคุณลักษณะนั้น ๆ ได้
การวัดความยาวใช้ตลับเมตรเป็นเครื่องมือ
การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือ
การวัดผลได้ค่าเป็นจำนวนหรือตัวเลขที่แสดงปริมาณ
โดยมีหน่วยการวัดที่แสดงระดับหรือจำนวนว่ามีมากน้อยเพียงใด
วัดระยะทางได้เท่ากับ 12 เมตร
วัดอุณหภูมิในห้องได้เท่ากับ 32 องศาเซลเซียส
การวัดผลเป็นกระบวนการในการตรวจวัดคุณลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของหรือสิ่งที่
เป็นนามธรรม
สติปัญญา
ความสนใจ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวัดผล
การวัดด้านกายภาพ (Physical Measurement)
การวัดด้านจิตวิทยา (Psychological Measurement)
การประเมินผล
เป็นการรวบรวมพฤติกรรมทั้งหมดของผู้เรียนซึ่งได้จากการวัดหลายแบบ หลายวิธี
เป็นการคาดคะเนหรือแปลความก้าวหน้าของ
ผู้เรียน ในด้านความสามารถว่าบรรลุตามจุดประสงค์
หรือไม่เพื่อจะได้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าไปในส่วนที่ปรารถนานั้น
เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจากการเรียนการสอนและกระทำต่อเนื่องตลอดเวลา ใช้ในการวินิจฉัยคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนแต่ละขั้นตอน
ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใดและจะต้องแก้ไขอย่างไรเป็นกระบวนการ
ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้สอน ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ธรรมชาติ
1.การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม (Indirect Measurement)
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดเชิงปริมาณ และการประเมินผลแสดงเชิงคุณภาพในกระบวน การของการวัดผล
2.การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ (Imperfect Measurement)
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดเชิงสัมพัทธ์ (Relative Measurement)
การวัดผลและประเมินผลการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีความคลาดเคลื่อน (Error of Measurement)
ประเภท
การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Evaluation)
การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม
(Norm-Referenced Evaluation)
ระดับของการวัดผล
ระดับที่ 1 มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นการกำหนดชื่อให้กับเรื่องราวหรือสิ่งของต่างๆ
เพศชาย
ชั้นประถมศึกษา
เพศหญิง
อาชีพรับราชการ
ชาวนา
ระดับที่ 2 มาตราการจัดอันดับ (Ordinal Scale) เป็นการจัดเรียงลำดับของสิ่งที่อยู่ในหมวดหรือสกุลเดียวกัน ให้ลดหลั่นตามลำดับปริมาณหรือคุณภาพ เช่น เก่ง ค่อนข้างเก่ง ปานกลาง
เก่ง
ค่อนข้างเก่ง
ปานกลาง
ระดับที่ 3 มาตราอันตรภาค (Interval Scale) การกำหนดตัวเลขการวัดในระดับนี้ เป็นแบ่งของที่อยู่ใน
ลักษณะเดียวกัน ออกเป็นประเภทหรือช่วงที่เท่า ๆ กัน
1 ฟุต มี 12 นิ้ว
1 วัน มี 24 ชั่วโมง
ระดับที่ 4 มาตราอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นมาตราการวัดที่สมบูรณ์ คุณสมบัติ ของการกำหนดตัวเลขในมาตราวัดนี้คือ มีศูนย์แท้และมีช่วงคะแนนที่เท่ากัน เรียงขึ้นลงตามลำดับ สม่ำเสมอ
การวัดความยาวของสิ่งของความยาวเท่ากับศูนย์ หมายความว่า ไม่มีความยาว
น้ำหนักศูนย์แสดงว่าไม่มีน้ำหนักอะไรเลย
นายภัทรเมศ อินทองคำ ปี 2 (พลศึกษา) เลขที่ 19