Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) (สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 10…
อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกำเนิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400 ล้านปี มีหลักฐานหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Charophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยการสร้างคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมขึ้นมา เช่น มีการสร้างคิวติน (cutin) ขึ้นมาปกคลุมผิวของลำต้นและใบเรียกว่า คิวทิเคิล (cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเกิด สโทมาตา (stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำและแลกเปลี่ยนก๊าซ เป็นต้น
อาณาจักรพืชแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
พืชไม่มีท่อลำเลียง ได้แก่ Division Bryophyta
พืชที่มีท่อลำเลียง ได้แก่ Division Psilophyta , Division Lycophyta , Division Sphenophyta , Division Pterophyta , Division Coniferophyta , Division Cycadophyta , Division Ginkophyta , Division Gnetophyta , Division Anthophyta
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 10 ดิวิชั่น
Division Bryophyta พืชที่ไม่มีระบบท่อลำเลียง มีขนาดเล็ก ได้แก่ มอส ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ด
Division Psilophyta พืชที่มีท่อลำเลียงชั้นต่ำ ไม่มีใบและรากที่แท้จริง ได้แก่ หวายทะนอย (Psilotum)
Division Lycophyta พืชที่มีท่อลำเลียงที่มีลำต้น ใบ และรากที่แท้จริงแต่ยังมีใบขนาดเล็ก ได้แก่ ช้องนางคลี่ ( Lycopodium ) และ ตีนตุ๊กแก ( Sellaginella )
Division Sphenophyta พืชที่มีท่อลำเลียง ลำต้นลักษณะเป็นข้อและปล้อง มีการสร้างสปอร์ ได้แก่ สนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง ( Equisetum )
Division Pterophyta พืชที่มีท่อลำเลียง มีหลายชนิดแตกต่างกัน ได้แก่ เฟิร์น( Fern ) แหนแดง( Azolla ) และจอกหูหนู ( Salvinia )
Division Coniferophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ได้แก่ พวกสน ( Pinus ) เช่น สนสองใบและสนสามใบ
Division Cycadophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ ปรง ( Cycad )
Division Ginkgophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ แปะก๊วย (Ginkgo biloba )
Division Gnetophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ มะเมื่อย (Gnetum)
Division Anthophyta พืชที่สร้างเมล็ดมีสิ่งห่อหุ้ม ถือว่ามีวิวัฒนาการสูงสุด พบมากที่สุด ได้แก่ พืชดอก (Flowering plant)
กำเนิดของพืช
จากหลักฐานทางวิวัฒนาการและการศึกษาเปรียบเทียบลำดับเบสของ DNA จากคลอโรพลาสต์และนิวเคียสแล้วพบว่า พืชและสาหร่ายไฟในกลุ่มคาโรไฟต์ (Charopyte) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการ ประกอบกับมีการเรียงตัวของเซลลูโลสที่ผนังเซลล์เหมือนกัน มีสารสีที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ คลอโรฟิลล์ เอและคลอโรฟิลล์ บี รวมทั้งมีโครงสร้างที่ทำหน้าที่ป้องกันเซลล์สืบพันธุ์และไซโกตที่คล้ายคลึงกับการป้องกันเอ็มบริโอในพีช
พืชมีการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตบนพื้นดินดังนี้
การปรับตัวด้านโครงสร้าง โดยมีการปรับโครงสร้างของรากที่สามารถดูดน้ำได้ดี มีเนื้อเยื่อลำเลียงที่ใช้ในการลำเลียงน้ำแร่ธาตุและสารอาหาร และมีปากใบเป็นทางผ่านเข้าออกของแก๊สต่างๆ
การปรับตัวด้านองค์ปรกอบทางเคมี โดยสังเคราะห์สารที่พืชสร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต เช่น ลิกนิน เพื่อให้พืชมีความแข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อม และคิวทินที่ปกคลุมผิวของลำต้นและใบเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ เป็นต้น
การปรับตัวด้านการสืบพันธุ์ โครงสร้างที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียจะมีเนื้อเยื่อมาปกป้องเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งจะเจริญเป็นเอ็มบริโอและเป็นต้นสปอโรไฟต์ต่อไป นอกจากนี้ละอองเรณูของพืชดอกมีการป้องกันการสูญเสียน้ำและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีและเซลล์สืบพันธุ์ยังมีการปรับตัว โดยใช้น้ำน้อยหรือไม่ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวกลางในการผสมพันธุ์
ความหลากหลายของพืช
พืชที่พบในปัจจุบันมีมากกว่า 300,000 สปีชีส์
นักอนุกรมวิธานได้แบ่งพืชออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงและกลุ่มพืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง
กลุ่มพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง
พืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง (nonvascular plant) เป็นพืชบกพวกแรกที่มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นในยุคออร์โดวิเชียน เมื่อประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว พืชกลุ่มนี้มีช่วงระยะแกมีโทไฟต์ยาว แต่ช่วงระยะสปอโรไฟต์สั้นเจริญอยู่บนต้นแกมีโทไฟต์
ปัจุบันพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงแบ่งออกเป็น 3 ไฟลัม
ไฟลัมเฮปาโทไฟตา(Phylum Hepatophyta)
ต้นแกมีโทไฟต์มีทั้งที่เป็นต้นมีส่วนคล้ายใบและที่เป็นแผ่นบางๆ ภายในเซลล์จะมีหยดน้ำมันอยู่ด้วย ต้นสปอโรๆฟต์มีอับสปอร์เมื่อแก่จะแตกออก เพื่อปล่อยสปอร์กระจายพันธุ์ ตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ได้แก่ ลิเวอร์เวิร์ท
ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา(Phylum Anthocerophyta)
ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแผ่น มีรอยหยักที่ขอบ มักมีคอลโรพลาสต์เพียง 1 คอลโรพลาสต์ต่อเซลล์ และต้นสปอโรไฟต์จะมีลักษณะยาวเรียวมีเนื้อเยื่อเจริญอยู่ที่โคนต้น เช่น ฮอร์เวิร์ท
ไฟลัมไบรโอไฟตา(Phylum Bryophyta)
ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะคล้ายใบที่เรียงเวียนรอบแกนกลาง ต้นสปอโรไฟต์มีอับสปอร์ซึ่งมีโครงสร้างพิเศษช่วยในการกระจายสปอร์หรือมีช่องเปิดเพื่อกระจายสปอร์ ตัวอย่างเช่น มอส
พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ด
จากการศึกษาซากดึกดำบนนพ์ของพืชโบราณพบว่า รากของพืชกลุ่มนี้อาจจะวิวัฒนาการมาจากลำต้นส่วนล่างหรือส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงโบราณนั่นเอง
แบ่งออกเป็น 2 ไฟลัม
ไฟลัมไลโคไฟตา(Phylum Lycophyta)
เป็นพืชที่มีลำต้นและใบที่แท้จริง มีใบขนาดเล็ก มีเส้นใบ 1 เส้นที่ไม่แตกแขนง ที่ปลายกิ่งจะมีกลุ่มของใบทำหน้าที่อับสปอร์ พืชกลุ่มนี้ได้แก่ ไลโคโพเดียม (Lycopodium)
ไฟลัมเทอโรไฟตา (Phylum Pterophyta)
ตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ได้แก่ หวายทะนอย หญ้าถอดปล้องและเฟิน
พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีเมล็ด
พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีเมล็ด มีระยะสปอโรไฟต์ที่เด่นชัดและยาวนาน แต่ระยะแกมีโทไฟต์จะมีขนาดเล็กลงมากเมื่อเทียบกับมอสและเฟิน ปัจจุบันแบ่งออกเป็น พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm)และ พืชดอก (angiosperm)
พืชเมล็ดเปลือย
พืชเมล็ดเปลือยมีลักษณะร่วมกันคือ ออวุลและละอองเรณูจะติดบนกิ่งหรือแผ่นใบซึ่งจะอยู่รวมกันที่ปลายกิ่ง เรียกว่า <b>โคน</b>(cone)แยกเป็นโคนเพศผู้และโคนเพศเมีย
พืชเมล็ดเปลือยในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ไฟลัม
ไฟลัมไซแคโดไฟตา (phylum Cycadophyta)
เป็นพืชที่มีการกระจายพันธุ์ในบริเวณที่แห้งแล้งได้ดี ในประเทศไทยพบเพียง 10 สปีชีส์อยู่ในสกุล Cycas
ไฟลัมกิงโกไฟตา (Phylum Ginkophyta)
ปัจจุบันมีเพียงสปีชีส์เดียวกันคือ Ginkgo biloba มีชื่อทั่วไปว่าแป๊ะก๊วยเป็นซากดึกดำบรรพ์
ไฟลัมโคนิเฟอโรไฟตา (Phylum Coniferophyta)
เป็นพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในพืชกลุ่มเมล็ดเปลือยทั้งในด้านลักษณะของต้นและโครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ โคนเพศผู้และโคนเพศเมียอาจเกิดบนต้นเดียวกันหรือแยกต้นกัน
ไฟลัมนีโทไฟตา (Phylum Gnetophyta)
เป็นพืชที่มีลักษณะแตกต่างจากพืชเมล็ดเปลือยกลุ่มอื่นคือพบเวสเซลในท่อลำเลียงน้ำและมีลักษณะคล้ายพืชดอกมากคือ มีกลีบดอก มีใบเลี้ยง 2 ใบ แต่เมล็ดยังไม่มีเปลือกหุ้ม ปัจจุบันพบประมาณ 3 สกุล
พืชดอก
ไฟลัมแอนโทไฟตา (Phylum Anthophyta)
เป็นกลุ่มพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในอาณาจักรพืช พืชกลุ่มนี้มีดอกซึ่งเป็นกิ่งที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ มีออวุลเจริญอยู่ในรังไข่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกสรเพศเมีย
ความหลากหลายของพืชดอก
จากแนวคิดในอดีตพืชดอกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ แต่ในปัจจุบันความรู้จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาคและสารชีวโมเลกุล ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับสายวิวัฒนาการของพืชดอกมีการเปลี่ยนแปลง โดยพืชที่เคยจัดอยู่ในกลุ่มของพืชใบเลี้ยงคู่ได้มีการแยกสายวิวัฒนาการเป็นพืชดอกกลุ่มอื่นๆ