Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะ…
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะภูมิศาสตร์
เครือข่ายระดับข่ายท้องถิ่น(LAN)
1.เครือข่ายแลนแบบใช้สาย
การเชื่อมต่อ LAN แบบใช้สายจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายที่บ้านได้เชื่อมต่อสาย LAN เข้ากับทีวี จากนั้นทำการตั้งค่าเครือข่าย
2.เครือข่ายแลนแบบไร้สาย
คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้ สาย โดยใช้คลื่นความถี่ วิทยุใน การเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ
3.เครือข่ายแลนแบบสายไฟ
ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอินเตอร์เน็ตเข้าสู่สายไฟบ้าน เพื่อให้สายไฟบ้านทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลอินเตอร์เน็ตไปยังตัวรับ Powerline ปลายทางได้ ว่าง่ายๆ คือแปลงสายไฟบ้านให้ทำหน้าที่แทนสาย LAN นั่นเอง ดังนั้นจึงทำให้เราไม่ต้องเดินสาย LAN ภายในบ้านให้ยุ่งยากเพิ่มเติม หากต้องการขยายการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต หรือสร้างเครือข่าย LAN ภายในบ้าน
เครือข่ายระดับเมือง
เป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันในระหว่างที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมระยะทางเป็น 100 กิโลเมตร ที่มีการติดต่อกันในระยะที่ไกลกว่าระบบแลนและใกล้กว่าระบบแวน เป็นการติดต่อระหว่างเมือง เช่น กรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ เชียงใหม่กับยะลาหรือเป็นการติดต่อระหว่างรัฐ โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ring
เครือข่ายระดับประเทศ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะการทำงาน
เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์
ข้อดี
1.ไม่ต้องการระบบปฏิบัติการ (OS) สำหรับเครือข่าย
2.ไม่จำเป็นต้องใช้ Server เพราะแต่ละเครื่องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
3.ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเพราะผู้ใช้แต่ละคนสามารถไฟล์ที่ต้องการแบ่งปันได้ด้วยตนเอง
4.การตั้งค่าได้ง่ายกว่า ระบบเครือข่ายแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Networks)และไม่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทาง
5.หากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งล้มเหลวจะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆของเครือข่ายแต่นั่นก็หมายความว่าผู้อื่นจะไม่สามารถเข้าถึงไฟล์งานได้
ข้อเสีย
1.คอมพิวเตอร์อาจมีการเข้าถึงโดยบุคคลอื่น ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง
2.ไฟล์และโฟลเดอร์ไม่ได้มีการสำรองข้อมูลจากส่วนกลาง
3.ไฟล์และทรัพยากรที่ไม่ได้อยู่ใน “พื้นที่แบ่งปัน”อาจจะยากต่อการเข้าถึงหากผู้ใช้มีการจัดเก็บที่ไม่เป็นระบบ
4.เป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้แต่ละคนที่จะไม่ให้ไวรัสติดเข้ามาในระบบเครือข่าย
5.ระบบรักษาความปลอดภัยมีน้อยหรือไม่มีเลยซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้ใช้ไม่มีการระบุตัวตนในการเข้าระบบ(log on
เครือข่ายแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์
ข้อดี
1.ระบบมีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ
2.การขยายเครือข่ายสามารถทำได้ง่ายเหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่
3.เนื่องจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการทำหน้าที่ดูแลจัดการระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
1.การติดตั้งเครือข่ายมีค่าใช้จ่ายในการลงทุน
2.จำเป็นต้องมีผู้ดูแลโดยเฉพาะเนื่องจากระบบมีความซับซ่อน
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของ
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ
เครือข่ายอินทราเน็ต
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต
ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายของอินทราเน็ตเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอก หรือเชื่อมอินทราเน็ตกับอินทราเน็ตอีกที่หนึ่งเข้าด้วยกัน ลักษณะการทำงานจะเหมือนกันอินทราเน็ตแต่ว่าเชื่อมแต่ละที่ให้เข้าหากัน เพื่อจุดประสงค์การทำงานที่เพิ่มขึ้น เช่นการดูแลจัดการสำนักงานของบริษัทแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน