Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นางสาวมธุรส เปลรินทร์ :pencil2: รหัสนักศึกษา 5806510116 46503317…
นางสาวมธุรส เปลรินทร์ :pencil2:
รหัสนักศึกษา 5806510116
Chapter 4 :ทฤษฎีการออกแบบ การสร้าง และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
:pen:
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจทฤษฎีการออกแบบและการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้
การออกแบบ และการสร้างนวัตกรรม
นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคาว่า “นว” หมายถึง ใหม่ และ “กรรม” หมายถึง การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวกรรม หรือ นวัตกรรม จึงหมายถึง การกระทำใหม่ๆ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้ดีขึ้น และเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการศึกษาจึงเรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา”
“นวัตกรรม” มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ นวัตกรรม จึงหมายถึงการนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ในวงการการศึกษามีการนำเอานวัตกรรมมาใช้ เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) ซึ่งในวงการศึกษามีคำเกี่ยวกับนวัตกรรมอยู่ 3 คำ ได้แก่
-Educational Innovation
-Learning Innovation
-Instructional Innovation
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง สิ่งใหม่ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา
นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional Innovation) หมายถึง สิ่งใหม่ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Innovation) หมายถึง สิ่งใหม่ที่นำมาใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ ในการนำนวัตกรรมมาใช้
เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการสอน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่บางครั้งมีการนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียน
องค์ประกอบของนวัตกรรมการเรียนรู้
1. วัตถุประสงค์
เป็นส่วนที่บอกว่านวัตกรรมนั้นใช้เพื่อพัฒนาอะไร ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้คืออะไร วัตถุประสงค์ที่มีความชัดเจนจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการใช้นวัตกรรมนั้น มีข้อมูลสำหรับพิจารณาตัดสินใจ
2. แนวคิดพื้นฐาน
เป็นส่วนที่ทำให้นวัตกรรมมีความน่าเชื่อถือว่าเมื่อนำไปใช้ จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังนั้น ทฤษฎี หลักการ ที่นำมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐาน ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และถ้าทฤษฎี หลักการเหล่านั้น
มีงานวิจัยรองรับผล
ก็จะยิ่งทำให้มั่นใจว่าการใช้นวัตกรรมนั้น จะได้รับผลตามที่ต้องการ
3. โครงสร้างหรือขั้นตอนการใช้
เป็นส่วนที่แสดงภาพรวมของนวัตกรรม ถ้า
นวัตกรรมเป็นวัตถุ สิ่งของ
จะมีโครงสร้างที่แสดง ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ชุดการสอนแผนจุฬา ประกอบด้วย ซองบรรจุเอกสารบัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรคำถาม และบัตรเฉลย เป็นต้น
ส่วนนวัตกรรมที่เป็นวิธีการ
หรือกระบวนการก็จะแสดงขั้นตอนการใช้นวัตกรรมเป็นลำดับขั้น เช่น รูปแบบการสอนต่างๆ จะมีคำอธิบายขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตั้งแต่ขั้นเตรียมการ ขั้นผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นการจัดการหลังการเรียนรู้
4. การประเมินผล
เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม โดยจะระบุวิธีวัดผล เครื่องมือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผล หากใช้วิธีประเมินผลที่ต่างออกไป อาจจะพบผลของการใช้นวัตกรรมที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม
เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้
เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น
การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม
ศึกษาประเภทของนวัตกรรม
ศึกษาวิธีการสร้าง
ศึกษาหลักสูตรการศึกษา
ลงมือสร้าง
ทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอน และปรับปรุง
ประเมินผล
ในการออกแบบนวัตกรรมผู้ออกแบบควรกล่าวถึงส่วนต่างๆ ต่อไปนี้
ชื่อนวัตกรรม
วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกรรม
ทฤษฎีหลักการที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม
ส่วนประกอบของนวัตกรรม
การนำนวัตกรรมไปใช้
องค์ประกอบในการจัดทำนวัตกรรม
มีความรู้ รู้จุดเด่น ต้นทุน คุณภาพ ฝีมือเดิม และสังเคราะห์ได้
ตรงตามความความจำเป็นในการแก้ปัญหา
ผลที่ได้มีคุณค่า
จัดการนำสู่ผลได้จริง
การสร้างนวัตกรรม
มีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร และจะแก้อย่างไร ประเด็นนี้มีความสำคัญมาก เพราะเราต้องรู้ปัญหาที่แท้จริงก่อนลงมือแก้ปัญหาจะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ
นำปัญหาที่พบมาวาดเป็นภาพ โดยลงข้อมูลที่สำคัญ ๆ ก่อนไปที่ละภาพ
นำภาพที่ได้มาวิเคราะห์ หาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไรและจะแก้ไขได้อย่างไร วิเคราะห์ต่อไปว่าการแก้ไขนั้น ๆ เรารู้อะไรบ้างและเราไม่รู้อะไร ทำอย่างไรจึงจะรู้ นำมากำหนดเป็นแผนภูมิ เช่น การสอนให้เด็กจำได้ เรารู้ว่าการท่องมากทำให้จำได้นานมีอะไรอีกที่เราไม่รู้
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation)
หมายถึง การกระทำใหม่ การสร้างใหม่ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้การศึกษาหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดกับผู้เรียน
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมที่นำมาใช้ในทางการศึกษา ทั้งการกระทำใหม่ใดๆ การสร้างสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ขอแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม หมายถึง
การยกร่างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่
หรือการพัฒนาวัตกรรมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น จากนั้นสู่ขั้นตอน
การนำนวัตกรรมไปใช้
หมายถึง การนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรับรองผลว่ามีผลการใช้อยู่ในระดับดี โดยยืนยันจากผลการทดสอบ และในขั้นตอนสุดท้ายคือ
การประเมินผลการใช้นวัตกรรม
หมายถึง การสอบถามความคิดเห็น หรือความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรมนั้นๆ ว่าดีมีประโยชน์ มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี โดยยืนยันจากเครื่องมือการวัดและประเมินผลนวัตกรรมนั้น
ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
Step 1
การสร้างและหาประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ยกร่างนวัตกรรม (สื่อ วิธีการสอน หลักสูตร การวัดและการประเมิน และกระบวนการบริหาร) เสนอผู้เชี่ยวชาญ ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง/เป้าหมาย 1, 2
Step 2
-ศึกษาผลการนำไปใช้ ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย ทำการทดสอบผลและประเมินผลการใช้ โดยอาจจะ
-เปรียบเทียบก่อนใช้ และหลังใช้ ( ใช้ t-test แบบ t-pair)
-เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ( ใช้ t-test แบบ one-sample)
Step 3
ประเมินผลใช้แบบวัดความพึงพอใจ แบบวัดทัศนคติ แบบวัดความคิดเห็น หรือใช้รูปแบบประเมินใดๆ เพื่อการประเมินผลการใช้นวัตกรรมนั้น
การนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์
( Implication of learning innovation )
นวัตกรรมการเรียนรู้ ( learning innovation ) สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษา สรุปได้ ดังนี้
1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน
เช่น
1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ผู้สอนส่วนใหญ่ยังคงยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็นนามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
1.3 ปัญหาด้านการวัดและประเมินผล เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ครูผู้สอนนำไปใช้ในการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลย้อนกลับในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้
1.4 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู – อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู – อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
3. การนำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ
นวัตกรรมการเรียนรู้นอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการปรับปรุงและพัฒนางานหรือการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาวิชาชีพอีกด้วย โดยผู้สร้างนวัตกรรมสามารถนำผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ หรือปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นได้
ตัวอย่าง นวัตกรรมการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในการพัฒนาเรียนการสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI )
ที่มีประสิทธิภาพที่สามารถทำให้ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนนี้เกิดการเรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
สื่อประสม (Multi Media)
สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีโอทัศน์ และเสียง
ผลกระทบของนวัตกรรมการเรียนรู้ (Impacts of learning innovation )
ครูผู้สอน
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมประเภท Multimedia สามารถจัดทำสื่อนวัตกรรมออกมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
ผู้เรียน
จะต้องสนใจใฝ่เรียนรู้ในเรื่องของการใช้นวัตกรรมในรูปแบบของไอทีให้มากขึ้น เพื่อจะได้เกิดความคุ้นเคยแล้วสามารถใช้สื่อได้อย่างถูกต้อง
สถานศึกษา
ต้องจัดทำสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ให้พร้อมเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและทำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีความสมบูรณ์ ซึ้งจงส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปพัฒนาการศึกษาให้มีความเจริญ ก้าวหน้าต่อไป
บทที่ 5 การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
:pen:
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
-เพื่อศึกษารูปแบบการประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
-นักศึกษาสามารถประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศได้
ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้
การประเมินผลสื่อการเรียนรู้
หมายถึง การนำเอาผลการวัดและประเมินสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย ( Interpretation ) และ ตัดสินคุณค่า ( Value Judgment ) เพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่ประการใด จะเห็นได้ว่าการประเมินผลสื่อการเรียนรู้กระทำได้โดยการพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อการเรียนรู้นั้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลซึ่งมีความสำคัญ
การวัดผลต้องกระทำอย่างมีหลักการและเหตุผลอย่างเป็นระบบ
เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง สามารถบ่งบอกถึงศักยภาพของสื่อได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เพื่อประโยชน์ของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้อย่างเที่ยงตรงต่อไป ซึ่งในความหมายเดียวกันนี้จะมีคำว่าการวัดผลสื่อการเรียนรู้ควบคู่กันไปด้วย
“การวัดผลสื่อการเรียนรู้”
หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ให้กับสื่อการเรียนรู้
ดังนั้น
การวัดผลและประเมินผลสื่อการเรียนรู้
จึงเป็นกระบวนการที่ต้องจัดทำควบคู่กันไปเสมอ
โดยใช้เครื่องมือในการวัดและประเมินผลสื่อการเรียนรู้หลากหลายประเภทหลายรูปแบบที่สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม
จะเห็นว่า การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน กระทำได้โดย
การพิจารณาข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อนั้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อจึงมีความสำคัญ การวัดผลจึงต้องกระทำอย่างมีหลักการเหตุผลและเป็นระบบเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง สามารถบอกศักยภาพของสื่อได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์ของการประเมินผลสื่ออย่างเที่ยงตรงต่อไป
การวัดผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง
การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ให้กับสื่อการเรียนการสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลสื่อการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ ผู้กระทำการวัดและประเมินผลอาจเลือกใช้ตามความเหมาะสม ที่นิยมกันมากได้แก่
แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ (Checklist)
เป็นต้น
ความสำคัญของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนหรือสื่อการเรียนรู้นั้น มีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้ ดังนี้
1. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณภาพของการเรียนการสอน
ในการประเมินผลสื่อการเรียนรู้จะมีส่วนของการตรวจสอบการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การใช้สื่อการเรียนรู้เป็นการอำนวยความสะดวกและกำหนดเส้นทางให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้ได้ข้อมูล
เพื่อยืนยันว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่ อย่างไร
เพียงใด หากไม่ทำการประเมินผลสื่อการเรียนรู้เราก็ไม่สามารถทราบผลของการจัดการเรียนรู้และไม่สามารถบอกได้ว่าการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลสื่อการเรียนรู้ในแง่มุมเหล่านี้จะ บ่งบอกประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้
4. สร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนรู้
สื่อการสอนที่ได้รับการประเมินผลแล้วจะมีข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพของสื่อ รวมทั้งมีข้อมูลที่ช่วยในการกำหนดสถานการณ์ที่เหมาะสมต่อการนำสื่อการเรียนรู้นั้นไปใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วย
สร้างความมั่นใจให้กับผู้นำสื่อการเรียนรู้ไปใช้
รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้สามารถเลือกและใช้สื่อการเรียนรู้นั้นได้อย่างสะดวก เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
3. เกิดการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
การประเมินผลสื่อการเรียนรู้ในแต่ละบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำวิจัยหรือการพัฒนาจะทำให้ได้ข้อมูลซึ่งในบางครั้งเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการใช้สื่อการเรียนรู้
ทำให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นแนวทาง เป็นวิธีการ หรือเป็นรูปแบบใหม่ของการผลิตหรือการใช้สื่อการเรียนรู้
ซึ่งจะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและส่งผลดีต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
2. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้
การประเมินผลสื่อการเรียนรู้จะทำให้ได้ข้อมูลว่าสื่อได้รับการสร้างและพัฒนาได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ในกระบวนการของการผลิต ทำให้ได้
สื่อการเรียนรู้ตรงตามลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
และเมื่อนำสื่อการเรียนรู้ที่ผลิตนั้นไปใช้สามารถใช้ได้จริงตามที่ออกแบบหรือตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะบ่งบอกคุณลักษณะและ
คุณภาพของสื่อการเรียนรู้ว่ามีความเหมาะสม ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้หรือไม่
วิธีการประเมินผลสื่อการเรียนรู้
การประเมินสื่อการเรียนรู้ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้
การประเมินโดยผู้สอน
การประเมินโดยผู้ชำนาญ
การประเมินโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ
การประเมินผลโดยผู้เรียน
การประเมินประสิทธิภาพของสื่อ
การประเมินผลโดยตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
วิธีการประเมินผลสื่อการเรียนรู้
1. การประเมินโดยผู้สอน
ผู้สอนควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอน เคยได้รับการฝึกอบรมจนมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อและมีประสบการณ์ในการใช้สื่อการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี
2. การประเมินโดยผู้ชำนาญ
ผู้ชำนาญในที่นี้ หมายถึง ผู้ชำนาญด้านสื่อการเรียนการสอนและจะต้องมีประสบการณ์ด้านการประเมินด้วย ดังนั้น ผู้ชำนาญอาจเป็นผู้สอน เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนในสาขาวิชาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งอาจารย์ด้านการวัดผลและการประเมินผลที่มีความรู้ความสามารถด้านสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
3. การประเมินโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ
คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อประเมินสื่อการสอนเป็นกลุ่มบุคคลที่หน่วยงานแต่งตั้งขึ้นมาประเมินสื่อ ซึ่งลักษณะของกรรมการชุดนี้จะประเมินคุณลักษณะ ประสิทธิภาพการใช้และคุณลักษณะด้านอื่นๆของสื่อการเรียนการสอนด้วย
4. การประเมินผลโดยผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญของการใช้สื่อการเรียนการสอน ผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อหรือเรียนรู้จำสื่อการเรียนรู้นั้นๆ หรือได้ใช้ประสาทสัมผัสกับสื่อการเรียนรู้นั้นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบ ดังนั้นผู้เรียนจึงเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงและเป็นผู้ที่มีการรับรู้ สามารถพิจารณาถึงคุณลักษณะ คุณภาพ และคุณค่าของสื่อการเรียนรู้ได้อย่างสมเหตุสมผล
5. การประเมินประสิทธิภาพของสื่อ
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจทำได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการประเมินประสิทธิภาพของสื่อนั้นสื่อที่จะต้องได้รับการประเมินประสิทธิภาพส่วนใหญ่จะเป็นสื่อที่ผลิตขึ้นตามหลักการของการสอนแบบโปรแกรม เช่น บทเรียนโปรแกรมชุดการสอนโมดุลและโสตทัศนูปกรณ์โปรแกรม เป็นต้น การประเมินสื่อโดยวิธีนี้จะคำนึงถึงจุดมุ่งหมายของสื่อการเรียนการสอนและการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนภายหลังจากที่เรียนจากสื่อนั้นแล้ว
6. การประเมินผลโดยตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
การประเมินผลสื่อการเรียนรู้โดยตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นการหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนเพื่อหาความเที่ยงตรง และนับว่าเป็นการพิสูจน์คุณภาพและคุณค่าของสื่อการเรียนรู้นั้น การประเมินผลโดยวิธีนี้จะต้องมีการวัดว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง โดยวัดเฉพาะผลที่เป็นจุดประสงค์ของการสอนที่เกิดจากการใช้สื่อการเรียนรู้นั้นๆ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินสื่อจึงทำได้หลายลักษณะคือ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะเป็นเครื่องมือวัดความรู้ของผู้เรียนภายหลังการเรียนจากสื่อแล้ว
แบบทดสอบความถนัดเพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนภายหลังที่เรียนจากสื่อ
แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจซึ่งเครื่องมือนี้จะประกอบด้วยข้อความหรือคำถามต่างๆเกี่ยวกับสื่อหรืออาจจะมีช่องว่างให้เติมข้อความด้วยก็ได้ เครื่องมือลักษณะนี้ใช้ประเมินได้กับทุกกลุ่มเรียน
การสังเกตเป็นการเฝ้าดูผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อการสอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการใช้
การสัมภาษณ์เป็นการซักถามและพูดคุยกับทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้และผู้เรียนเกี่ยวกับสื่อนั้น เพื่อนำข้อมูลมาประกอบพิจารณาในการประเมินสื่อ ลักษณะของเครื่องมือการประเมินสื่อการเรียนการสอน นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีเครื่องมืออีกหลายลักษณะที่สามารถนำมาประยุกต์ในการออกแบบเครื่องมือการประเมินสื่อได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและวิธีการประเมิน
บทที่ 6 รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
:pen:
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
นักศึกษามีความรู้และเข้าใจนวัตกรรมการศึกษา
นักศึกษาสามารถบอกประเภทของนวัตกรรมการศึกษาได้
นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนในแต่ละยุคได้
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
การศึกษายุค 4.0
Education 1.0
Learner as Receptacles of knowledge ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้จากผู้สอนเพียงอย่างเดียว
Education 2.0
Learner as Communicating, Connecting, Collaborating and Co-creating ผู้เรียนเป็น ผู้สื่อสาร เชื่อมโยง ร่วมมือ และร่วมสร้างสรรค์
Education 3.0
Learner as Connectors, Creators and Constructivists ผู้เรียนเป็น ผู้เชื่อมโยง ผู้สร้างสรรค์ และสร้างองค์ความรู้
Education 4.0
Learner as lnnovation and Producing education ผู้เรียนเป็น ผู้สร้างนวัตกรรม และ การศึกษาที่สร้างผลผลิต
Smart Learner
Think : ความคิด
Ethic : คุณธรรม จริยธรรม
ICT Literacy : ทักษะด้านเทคโนโลยี
Communication : การติดต่อสื่อสาร
Innovation : นวัตกรรม
Public Mind : จิตสาธารณะ
Collaboration : การร่วมมือ
English : ทักษะภาษาอังกฤษ
กระบวนทัศน์การจัดการศึกษาศตววรรษที่ ๒๑
-เน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าความรู้
-ครูไม่ใช่ผู้ที่มอบความรู้เพียงอย่างเดียว
-ครูเป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้พร้อมกับผู้เรียน
-เป้าหมายของการเรียนรู้ไม่ใช่ที่ตัวความรู้
-แหล่งเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ สามารถเปิดกว้างได้อย่างไร้ขีดจำกัด
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1.นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่
-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer-Assisted Instruction)
-มัลติมีเดีย (Multimedia)
-การประชุมทางไกล (Tele Conference)
-วีดีทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Media/Video)
เป็นต้น
2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ
3. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้อง การสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความ ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย
การพัฒนาหลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรบูรณาการ
เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขา ต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความ สำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มี อยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมี ประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์
ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
-การพัฒนาคลังข้อสอบ
-การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
-การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
-การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการ จัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง
บทที่ 7 แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ทางการศึกษา
: :pen:
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เพื่อศึกษาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ทางการศึกษา
ผู้เรียนสามารถบอกความสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ได้
ผู้เรียนสามารถบอกแหล่งเครือข่ายการเรียนรู้ได้
แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ทางการศึกษา
“แหล่งเรียนรู้” หมายถึง “แหล่ง” หรือ “ที่รวม” ซึ่งอาจเป็นสภาพ สถานที่ หรือศูนย์รวมที่ประกอบด้วย ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอน ที่มีรูปแบบแตกต่างจากกระบวนการเรียนการสอนที่มีครูเป็นผู้สอน หรือศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีกำหนดเวลาเรียนยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการและความพร้อมของผู้เรียน การประเมินและการวัดผลการเรียนมีลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นให้เหมาะสมกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ระบบการศึกษาในปัจจุบันนับเป็นการเรียนรู้แบบตลอดชีวิต มีเนื้อหาสาระที่ต้องเรียนรู้เป็นจำนวนมากตลอดเวลา โดยมี การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของมนุษย์ ให้เข้าสู่ระบบการสร้างบุคลากรให้ “ คิดเป็น ทำเป็น และ เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ” สามารถเข้าถึง แหล่งความรู้ และค้นหาคำตอบที่ต้องการได้ด้วยตนเองในระยะเวลาอันสั้น โดยอาศัยระบบเครือข่ายการสื่อสาร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาเทคนิคการรับและส่งข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว
เครือข่าย (Network)
เป็นแนวคิดและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร ตลอดจนชุมชนให้เกื้อกูลเชื่อมโยงกันโดยที่แต่ละฝ่ายต้องมีความเท่าเทียมกัน มีอิสระต่อกันสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง และพร้อมที่จะปฏิบัติงานร่วมกันของสมาชิกเครือข่ายบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน การมีความสัมพันธ์จะเป็นแบบเพื่อนร่วมงาน ประสานความช่วยเหลือกันและเป็นความสัมพันธ์เชิงแนวราบมากกว่าที่จะเป็นแนวดิ่ง ดังนั้นเครือข่ายจึงเป็นสัมพันธภาพของมนุษย์กับมนุษย์ที่ครอบคลุมทั้งการให้และการรับ และการเอื้ออาทรต่อกัน เครือข่ายมีลักษณะเป็นวงจรเปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตธรรมชาติของเครือข่ายจะต้องมีการเจริญเติบโตอยู่เสมอต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของเครือข่ายเช่นเดียวกันกับสิ่งมีชีวิต
การก่อเกิดของเครือข่ายอาจพิจารณาได้ 2 ทาง คือ
เครือข่ายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ซึ่งดูได้จากความเป็นเครือญาติกัน การมีภูมิลำเนาถิ่นกำเนิดเดียวกัน การมีความเชื่อถือศรัทธาเหมือนกัน การมีปัญหาร่วมกัน และการมีความสนใจร่วมกันในงานหรือกิจกรรม เป็นต้น
เครือข่ายโดยการจัดตั้งขึ้น
จะต้องมีผู้คอยกระตุ้นปลุกจิตสำนึกให้เกิดความคิดตระหนักถึงปัญหาของชุมชนร่วมกันและก่อให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มองค์กรขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเป็นเครือข่ายในระบบราชการ
เครือข่ายการเรียนรู้
หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้
หมายถึง การเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาของมนุษย์ ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษาผู้ใหญ่ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบ การทำงาน และเครือข่ายการสื่อสาร นอกจากนี้การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนยังแตกต่างกันออกไป ตามความสามารถในการสื่อสาร ของตัวผู้เรียนเอง และสภาวะแวดล้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลอีกด้วย
การศึกษาในเครือข่ายการเรียนรู้ นับเป็นการศึกษาแบบอะซิงโครนัส
(Asynchronous Learning)
เป็นการเรียนการสอนที่ ไม่จำกัดเวลา สถานที่ และบุคคล ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใด สถานที่ใด กับบุคคลใดก็ได้โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถานศึกษา และเชื่อมต่อไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนมีความพร้อม และสะดวกในการเรียนแต่ละครั้งผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากบทเรียน ออนไลน์ มีการใช้เว็บบอร์ด ใช้ระบบมัลติมีเดียเพื่อเชื่อมการเรียน การสอนถึงกันตลอดเวลา ทำให้เกิดการเรียนการสอนทางไกล และการเรียนการสอนออนดีมานด์
ปัจจุบันมีการสร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้กันมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบการเรียน การสอน รูปแบบใหม่ในสถาบันการศึกษา เช่น เครือข่ายภายในโรงเรียน หรือภายในสถาบันอุดมศึกษา และเชื่อมโยงกันระหว่าง วิทยาเขตจัดเป็นแคมปัสเน็ตเวิร์ค ก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อร่วมมือกันทำงานได้มากขึ้น เป็นสื่อกลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลก รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ อินทราเน็ตในการส่งข่าวสารได้
ความสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
ปัจจุบันมีการสร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้กันมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบการเรียน การสอน รูปแบบใหม่ในสถาบันการศึกษา เช่น เครือข่ายภายในโรงเรียน หรือภายในสถาบันอุดมศึกษา และเชื่อมโยงกันระหว่าง วิทยาเขตจัดเป็นแคมปัสเน็ตเวิร์ค ก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อร่วมมือกันทำงานได้มากขึ้น เป็นสื่อกลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลก รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ อินทราเน็ตในการส่งข่าวสารได้
จุดเริ่มต้นของ ระบบเครือข่ายการเรียนรู้สารสนเทศ หากย้อนไปเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องแรกกำเนิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ต่อมาคอมพิวเตอร์ก็มีบทบาทสร้างสรรค์สังคมมนุษย์เข้ามาช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของมนุษย์มากมาย จินตนาการการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็มีมานานแล้ว โดยเฉพาะในนิยายวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายท่านได้สร้างจินตนาการให้เห็นระบบสื่อสารที่ทรงพลัง โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน
แหล่งการเรียนรู้
หมายถึง แหล่งข่าวสารข้อมูล สารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง
สามารถแบ่งได้ประเภทของแหล่งการเรียนรู้ไว้ 2 แบบ
1. จัดตามลักษณะของแหล่งการเรียนรู้
1.1 แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะหาความรู้ได้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
1.2 แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนเทคโนโลยีทางการศึกษาที่อำนวยความสะดวกแก่มนุษย์เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดประชาชน
1.3 บุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดความรู้ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม การสืบสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านประกอบอาชีพ ตลอดจนนักคิด นักประดิษฐ์ และผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. จัดตามแหล่งที่ตั้งของแหล่งการเรียนรู้
2.1 แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
2.2 แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่น ได้ง่ายรวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย
เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม คุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้ คือการเรียนแบบ ร่วมมือกัน ดังนั้นระบบเครือข่ายจึงควรเป็นกลุ่มของการเรียนรู้โดยผ่านระบบการสื่อสารที่สังคมยอมรับ เครือข่ายการเรียนรู้จึงมี รูปแบบของการร่วมกันบนพื้นฐานของการแบ่งปันความน่าสนใจ ของข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการก่อรูปเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network forming)
เป็นการก่อตัวขึ้นโดยมีแนวทางสำคัญที่ควรดำเนินการ 4 ประการ ได้แก่ การสร้างความตระหนักในปัญหาและการสร้างสำนึกในการรวมตัว การสร้างจุดรวมของผลประโยชน์ในเครือข่ายการแสวงหาแกนนำที่ดีของเครือข่าย และการสร้างแนวร่วมของสมาชิกเครือข่าย ถ้าเครือข่ายแห่งใดปฏิบัติได้ตามแนวทางดังกล่าวก็เชื่อได้ว่าจะสามารถก่อตั้งเครือข่ายในชุมชนได้อย่างแน่นอน
2. ขั้นการจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network organizing)
การจัดระบบบริหารเครือข่ายการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ มีองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณา 5 ประการ คือ การจัดผังกลุ่มเครือข่าย การจัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในเครือข่าย การจัดระบบการติดต่อสื่อสาร การจัดระบบการเรียนรู้ร่วมกัน และการจัดระบบสารสนเทศ ดังนั้นถ้าสามารถจัดระบบบริหารเครือข่ายได้ครบถ้วนดังกล่าว ผลที่ตามมาก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น
3. ขั้นการใช้เครือข่ายการเรียนรู้(learning network utilizing )
การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการเรียนรู้จากการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีกลางประสานงานร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในและภายนอกเครือข่าย การใช้เครือข่ายเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนสารสนเทศและความรู้ของสมาชิกเครือข่าย และผู้สนใจการใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนระดมทรัพยากรร่วมกันของสมาชิกเครือข่าย การใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ให้แก่สมาชิกทั้งภายในและภายนอกเครือข่ายและการใช้เครือข่ายเพื่อให้เป็นเวทีสร้างกระแสผลักดันประเด็นใหม่ๆ ที่เป็นปัญหาของชุมชนและสังคม
4. ขั้นการธำรงรักษาเครือข่ายการเรียนรู้ (learning network maintaining)
การธำรงรักษาเครือข่ายเพื่อให้ดำเนินการไปสู่ความสำเร็จนั้น มีแนวทางปฏิบัติ 6 ประการดังนี้ การจัดดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย การกำหนดกลไกและการสร้างระบบแรงจูงใจให้แก่สมาชิกของเครือข่าย การให้ความช่วยเหลือและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และการสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
กระบวนการและวิธีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
การตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายเป็นขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานหรือฝ่ายจัดการตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งพิจารณาถึงองค์กรต่างๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อรวมเข้าเป็นเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน
การติดต่อกับองค์กรที่จะร่วมเป็นเครือข่ายหลังจากตัดสินใจเกี่ยวกับองค์กรที่เห็นว่าเหมาะสมในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแล้ว ก็จะเป็นขั้นการติดต่อสัมพันธ์เพื่อชักชวนให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการเรียนรู้ โดยต้องสร้างความคุ้นเคย การยอมรับและความไว้ว่างใจระหว่างกันมีการให้ข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูล กระตุ้นให้คิดร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องเดียวกันของเครือข่าย ถือว่าเป็นการเตรียมกลุ่มเครือข่าย
การสร้างพันธกรณีร่วมกัน เป็นข้นตอนการสร้างความผูกพันร่วมกัน มีการตกลงใจในความสัมพันธ์ต่อกันและตกลงที่จะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายซึ่งการทำกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาร่มกันจะต้องมีความรู้เพียงพอที่จะทำกิจกรรมได้โดยการเชิญวิทยากรมาถ่ายถอดเพิ่มพูนความรู้ การไปศึกษาดูงาน เป็นต้น ทำให้เกิดเป็นกลุ่มศึกษาเรียนรู้ขึ้นในองค์กรเครือข่าย
การพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกัน เป็นขั้นตอนที่สร้างเครือข่ายให้เกิดผลงานเป็นรูปธรรมโดยเริ่มทำกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีการตกลงในเรื่องของการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่าย ซึ่งเริ่มด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดกิจกรรม กำหนดบทบาทของสมาชิก รวมทั้งสิทธิหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องชัดเจนขึ้น เกิดเป็นกลุ่มกิจกรรมขึ้นในองค์กรเครือข่าย
การทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากมีการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันแล้ และนำไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกันจนมีผลงานเป็นที่ปากฎชัด เกิดประโยชน์ร่วมกันในองค์กรเครือข่าย จนเกิดการขยายกลุ่มเครือข่ายมากยิ่งขึ้น
การรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรใหม่ร่วมกัน เพื่อรองรับจำนวนสมาชิกใหม่ที่มากขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เมื่อนำระบบเครือข่ายการเรียนรู้เข้ามาใช้กับระบบการศึกษา ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมายใน วงการศึกษา ทั้งในด้านรูปแบบการเรียนการสอน บทบาทของผู้สอน บทบาทของผู้เรียน ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอน
เน้นให้ผู้เรียนเป็นหลักในการแสวงหา ค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองมากขึ้นจาก แหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั่วโลก และจากสื่อหลากหลายประเภทนอกเหนือจากหนังสือ รวมทั้งสามารถเลือกเวลาและ สถานที่ในการศึกษาได้เอง และสามารถเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญที่สนใจในการปรึกษาขอคำแนะนำได้ โดยผ่านระบบเทคโนโลยี ซึ่งต่างจากระบบเดิมที่เน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิงโครนัส คือ มีการจัดตารางสอน วิชาเรียน และกำหนดสถานที่เรียนไว้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายในโรงเรียนอย่างเต็มที่
2. บทบาทของผู้สอน
จากระบบเดิมที่เน้นให้ครูเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอนเปลี่ยนไปสู่ระบบที่ครู เป็นเพียงผู้ชี้แนะหรือเป็นที่ปรึกษาในสาขาวิชาที่สอนโดยผ่านทางเครือข่าย ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีการสอนใหม่ๆ ข้อมูล และ อุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการสอนอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านระบบ เครือข่าย
3. บทบาทของผู้เรียน
เปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมที่นักเรียนเป็นเพียงผู้รับฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของครูไม่มีโอกาส แสดงความคิดเห็นมากนัก รับฟังความรู้ความคิดเห็นจากครูเป็นหลัก ไปสู่ระบบที่นักเรียนต้องเป็นผู้แสวงหาด้วยตนเอง ต้องกระตือรือร้น และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าของวิทยาการ และสนองต่อความต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้มากขึ้น โดยมีครูเป็นเพียงที่ปรึกษา แนะแนวทางในการศึกษาค้นคว้า
4. บทบาทของการเรียนการสอน
มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ โดยเฉพาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเปิดช่องทางไปสู่แหล่งความรู้ต่างๆ ได้ทั่วโลก
5. ห้องเรียน
สำหรับผู้สอน ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ แสดงภาพ วิดีโอโปรเจคเตอร์ เชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่าย และระบบอินเทอร์เน็ต
6. ศูนย์เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน
เป็นสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการ ค้นคว้า เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถาบันการศึกษา รวมทั้งสามารถใช้ผ่านโมเด็มจากบ้านของผู้เรียนเข้าสู่ เครือข่ายได้ตลอด 24 ชั่วโมง
7. ฐานบริการข้อมูลการเรียน
เป็นที่เก็บข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษร รูปภาพ และเสียง ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลาประกอบด้วย
7.1 ฐานบริการเว็บ จัดเก็บข้อมูลเนื้อหา ตำรา วิชาการ ในรูปของอักษร ภาพ และเสียง
7.2 ฐานบริการ Real Audio เป็นสถานี วิทยุเพื่อการศึกษาบนเครือข่าย
7.3 ฐานบริการ Real Video เป็นสถานีบริการทีวีออนดีมานด์
7.4 ฐานบริการกระดานข่าว (Web board) เป็นสถานีบริการจัดแสดงข่าวสารที่บุคคลต้องการประกาศ
7.5 Virtual library และ Digital library เป็นระบบห้องสมุดบนเครือข่าย เป็นแหล่งเก็บข้อมูล ข่าวสารวิชาการต่างๆ ที่สามารถเรียกใช้งานเครือข่ายได้ และสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ทั่วโลก
8. Student Homepage
เป็นที่เก็บข้อมูล ข่าวสารของนักเรียน และส่งการบ้านให้ครูตรวจได้โดยแจ้ง pointer บอกตำแหน่งให้ครูทราบ
ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้
เครือ
ข่ายไทยสาร
เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาต่างๆ ระดับมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันกว่า 50 สถาบัน เริ่มจัดสร้างในปีพ.ศ.2535
เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET
) เป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนการสอนที่สำคัญในยุคโลกา ภิวัตน์ จัดทำโดยทบวง มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540
สคูลเน็ต (SchoolNet)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ได้รับการดูแลและสนับสนุนโดยศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เครือข่ายนี้เชื่อมโยงโรงเรียนในประเทศไทยไว้กว่า 100 แห่ง และเปิดโอกาสให้โรงเรียนอื่นๆ และบุคคลที่สนใจเรียกเข้าเครือข่ายได้
เครือข่ายนนทรี
เป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์แบบและใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สามารถตอบสนองความต้องการใช้ของนิสิต อาจารย์ ข้าราชการ ตลอดจนการรองรับทางด้านทรัพยากรเซอร์เวอร์อย่างพอเพียง
เครือข่ายกระจายเสียงวิทยุ อสมท.
จะรวมผังรายการวิทยุในเครือข่าย อสมท. มีไฟล์เสียงรับฟังทางอินเทอร์เน็ตได้
ThaiSafeNet.Org
เป็นเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ มีพันธกิจด้านการเชื่อมโยงครู ผู้ปกครอง นักการศึกษา ... โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ พันธกิจ : ฝึกอบรมครู ผู้ปกครอง
TCU : Thai Cyber University
Thai MOOC