Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของเงินไทยและเงินต่างประเทศ (วิวัฒนาการของเงินไทย…
วิวัฒนาการของเงินไทยและเงินต่างประเทศ
วิวัฒนาการของเงินไทย
ประวัติของเงินไทย
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-16 ในวัฒนธรรมแบบฟูนัน-ทวารวดี ได้ผลิตเหรียญกลมแบนจากโลหะเงิน ดีบุก ทองแดง โดยใช้แม่พิมพ์ตราสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น พระอาทิตย์ สังข์ แพะ ปูรณกลศ ตัวอักษร เป็นต้น
อาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเป็นเมืองท่าค้าขายบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทยมีการผลิตเงินดอกจันทน์และเงินโม เพื่อระบบเศรษฐกิจอย่างแพร่หลาย
ราชอาณาจักรสุโขทัย ล้านนา กรุงศรีอยุธยา ได้ผลิตคิดค้นเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ พร้อมกันนั้นก็ยอมรับเงินตราของต่างชาติด้วย เงินตราที่ใช้ในอาณาจักรล้านนา ได้แก่ เงินไซซี เงินกำไล เงินเจียง เงินท้อค เงินดอกไม้ ส่วนราชอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาได้ผลิตเงินพดด้วง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นใช้ และใช้เบี้ยหอยแทนเงินปลีกย่อย บางครั้งเบี้ยหอยขาดแคลนก็ได้ผลิตเบี้ยโลหะและประกับดินเผาขึ้นใช้ร่วมด้วย
ภายหลังราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาสลายลง กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ถือกำเนิดขึ้นตามลำดับ ก็ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 การเปิดประเทศสยามสู่อารยประเทศ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเงินตราให้เป็นสากล นำไปสู่การผลิตเงินตราในลักษณะเหรียญกลมแบนออกใช้เป็นครั้งแรก ต่อมารัชกาลที่ 5 จึงทรงประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง นับตั้งแต่นั้นเงินตราไทยจึงคงเป็นลักษณะเป็นเหรียญกลมแบนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
วิวัฒนาการของเงินไทยแต่ละสมัย
เงินตราฟูนัน ก่อตัวขึ้นบริเวณทางใต้ของลุ่มน้ำโขง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 และล่มสลายลง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 จากการโจมตีของพวกเจนละ อาณาจักรฟูนันได้รับอารยธรรมด้านการปกครองโดยกษัตริย์
เงินตราศรีวิชัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 การค้าทางทะเลมีความสำคัญมากขึ้น ส่งผลให้เมืองที่อยู่บน คาบสมุทรสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไชยา และนครศรีธรรมราช
เงินตราทวารวดี
อาณาจักรทวารวดีเริ่มมีความสำคัญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 และล่มสลายลงในพุทธศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม
เงินตราสุโขทัย ราชอาณาจักรสุโขทัยได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ คือ เงินพดด้วง นอกจากนี้ยังใช้ "เบี้ย" เป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำ เงินพดด้วงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย
เงินตราสมัยกรุงศรีอยุธยา คล้ายเงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย แต่ตรงปลายขาที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนเงินพดด้วงสุโขทัย ตราที่ประทับส่วนใหญ่เป็นตราจักรและตราประจำรัชกาล เช่น ครุฑ ช้าง ราชวัตร พุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น
เงินตราสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ 1 เงินพดด้วงในรัชกาลนี้ เดิมประทับตราจักร และตราตรีศูล แต่หลังจากบรมราชาภิเษกแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเงินพดด้วงประจำรัชกาลแล้วประทับตราพระแสงจักร-บัวอุณาโลม
สมัยรัชกาลที่ 2 ตราที่ประทับบนเงินพดด้วย คือ ตราจักรและตราครุฑ สันนิษฐานว่าตราครุฑ มาจากพระนามเดิมของรัชกาลที่ 2 คือ "ฉิม" ซึ่งเป็นวิมานของพญาครุฑ
สมัยรัชกาลที่ 3 ตราปราสาทเป็นตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ผลิตเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นอกจากนี้ยังมีการผลิตเงินพดด้วงเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญๆ ประทับตราต่างๆ เช่น ดอกไม้ ครุฑเสี้ยว ใบมะตูม และเฉลว เป็นต้น
สมัยรัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ
สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยประทับลงบนเหรียญกษาปณ์
สมัยรัชกาลที่ 6 มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้แต่ไม่มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเหรียญกษาปณ์ที่มีราคาไม่สูงนัก คือ 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์, และ 1 สตางค์ ในช่วงต้นรัชกาลยังคงใช้เหรียญที่ผลิตในรัชกาลที่ 5 ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 จึงโปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญเงินหนึ่งบาทประจำรัชกาล เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-ไอราพต
สมัยรัชกาลที่ 7 ในรัชกาลนี้มีการผลิตเหรียญหมุนเวียนออกใช้ไม่มากนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เหรียญประจำรัชกาลที่นำออกใช้เป็นเหรียญชนิดราคา 50 และ 25 สตางค์ ตราพระบรมรูป-ช้างทรงเครื่อง
สมัยรัชกาลที่ 8 เหรียญประจำรัชกาลที่ผลิตออกใช้หมุนเวียน เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-พระครุฑพ่าห์ ชนิดราคา 50, 25, 10 และ 5 สตางค์ มี 2 รุ่น คือ รุ่นแรกมีพระบรมรูปเมื่อครั้นเจริญพระชนมพรรษา
สมัยรัชกาลที่ 9 เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ใช้ในรัชกาลปัจจุบัน มี 8 ชนิดราคา คือ 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 5 บาท และ 10 บาท
เงินตราสมัยกรุงธนบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงเก่า สันนิษฐานว่ามีการผลิตเงินพดด้วงขึ้นใช้เพียง 2 ชนิดคือ เงินพดด้วงตราตรีศูลและตราทวิวุธ
การพัฒนารูปแบบของเงินไทย
เงินตราโบราณ
เงินพดด้วง
กษาปณ์ไทย
หมาย
อัฐกระดาษ
บัตรธนาคาร บัตรธนาคาร ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสาม ธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย
เงินกระดาษหลวง
ธนบัตร
วิวัฒนาการของเงินต่างประเทศ
เงินตราโลก
จารึกกฎหมายของกษัติฮัมมูราปีแห่งบาบีโลน
เงินรูปนกฮูกของชาวกรีก
เหรียญทองของชาวลิเดีย 600-700 ปีก่อนคลิสต์ศักราช
เงินกากบาททองแดงของชาวตังก้า คริสต์ศตวรรษที่ 15-20
เงินห่วงทองคำของาวซูดาน คริสต์ศตวรรษที่ 19
เงินจอบและเงินมีดของจีน 500-900 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ลักษณะของเงินต่างประเทศ
“เงิน” ที่เรียกว่าเงินก็เนื่องมาจากส่วนใหญ่ผลิตมาจากแร่โลหะเงิน การยอมรับโลหะเงินว่าเป็นสื่อกลาง ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวางในสังคมต่างๆนี้ มีผลช่วยให้การแลกเปลี่ยนสินค้า กระทำกันได้กว้างขวางมากขึ้น ขึ้นมา โดยเงินตรายุคแรกเริ่มนั้นก็ใช้ก้อนโลหะเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ราคาจะมากจะน้อยก็เทียบกับน้ำหนักของโลหะเงินนั้น ต่อมาจึงรู้จักทำสัญลักษณ์บนตัวโลหะเงินจึงทำให้ก้อนโละเปลี่ยนไปเป็นเหรียญกษาปณ์ โดยเหรียญกษาปณ์รุ่นแรกๆของโลกจากที่มีการขุดค้นพบเป็นเหรียญกษาปณ์ของชาวลิเดียซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณเมื่อ 2,700 ปีที่แล้ว มีที่ตั้งอยู่ในประเทศตูรกีในปัจจุบัน ชาวลิเดียได้นำโลหะเงินผสมทองคำที่ได้จากธรรมชาติมาตัดแบ่งตามขนาดและน้ำหนักตามมาตรฐานของทางราชการ แล้วประทับตราของกษัตริย์ลิเดียลงไปเพื่อรับรองหรือยืนยันในความเป็นมาตรฐานของก้อนเงินนั้น นอกจากนี้ก็มีการผลิตเหรียญกษาปณ์เงินและเหรียญกษาปณ์ทองออกมาใช้ด้วย การผลิตเหรียญกษาปณ์ของชาวลิเดียนได้กลายมาเป็นต้นแบบในการผลิตเหรียญกษาปณ์ของอาณาจักรอื่นๆในเวลาต่อมา
เหรียญกษาปณ์ชาวลิเดียนตรารูปหัวสิงโต
เหรียญกษาปณ์ของชาวกรีก มักมีรูปเคารพของเทพเจ้า
เหรียญกษาปณ์ชาวโรมัน
เงินกหาปณะในสมัยพุทธกาลรูปร่างกลม
เงินกหาปณะในสมัยพุทธกาลรูปร่างสี่เหลี่ยม
เหรียญทองแดงที่มีรูปพระพุทธเจ้า
ประวัติของเงินต่างประเทศ
ก่อนที่จะมีการนำเงินมาใช้ มนุษย์ยุคโบราณใช้สินค้าในการแลกเปลี่ยนกัน อย่างเช่น หนังสัตว์และฟัน สินค้าเกี่ยวกับสัตว์ จึงถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดของคนสมัยนั้นในการทำการค้า ในประเทศจีนเปลือกหอยทากถูกนำมาใช้เป็นเบี้ย เพื่อใช้ทำการค้าแบบจีนสมัยโบราณ ซึ่งเป็นที่มาของลักษณะเงินหยวนในเวลาต่อมา สินค้าอื่นๆ ที่นิยมนำมาใช้แทนเงินได้แก่ เกลือ ลูกปัด เมล็ดพันธุ์พืช อาวุธ และยาสูบ