Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
14.1 บทที่ 14 ความเป็นครู ความอดทน, 14.1 บทที่ 14 ความเป็นครู :ความอดทน …
14.1 บทที่ 14 ความเป็นครู
ความอดทน
ความหมายของความอดทน
เป็นความสามารถควบคุมการแสดงออกทางกาย วาจา และสภาวะด้านจิตใจของครูให้เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยและเป็นปกติ พร้อมทั้งสามารถปฏิบัติภาระหน้าที่การสอนและหน้าที่ต่างๆที่มีอยู่ต่อไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยไม่มีการหยุดชะงักหรือเปลี่ยนแนว เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าที่ขัดขวางอันเป็นอุปสรรคยั่วยุยั่วเย้าจิตใจ หรือถูกชักจูงให้ไขว้เขว
เกิดจากการใช้ปัญญาประกอบการแสดงพฤติกรรมด้วยการแสดงออกถึงความอดทน องค์ประกอบของความอดทนมี 2 ประการ
ความอดทนทางใจ
ความอดทนต่อการกระทบกระทั่งยั่ยุให้เจ็บใจและความอดทนต่อกิเลส คือ ความโกรธและความโลภ
ความอดทนทางกาย
ความอดทนต่อความลำบากในการทำงานหรือการเรียน และความอดทนต่อความทุกข์เวทนาทางกาย ความเจ็บปวด ความเหนื่อย ความหิว
ประเภทของความอดทน 4 ประเภท
ความอดทนต่อความลำบาก
ความอดทนต่อทุกข์
ความอดทนต่อความเจ็บใจ
ความอดทนต่ออำนาจกิเลส
คุณค่าของการมีความอดทน
ประโยชน์ของการมีความอดทน
ทำให้เราเป็นคนสุขุม รอบคอบ มีสติ
งานหรือกิจกรรมต่างๆสำเร็จลุล่วงไปอย่างดี
เสริมสร้างให้เป็นคนมีมานะมีความพยายามในการทำงานหรือความทุกข์ยากใลำบากต่างๆในชีวิต
มีความเป็นผู้นำ เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
สอนให้เราไม่ยอมแพ้หรือท้อถอย
เป็นที่รักของทุกคน
โทษของการไม่มีความอดทน
มีนิสัยวู่วาม ไม่มีความรอบคอบ
งานหรือกิจกรรมต่างๆไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
เป็นคนหนักไม่เอา เบาไม่สู้ สร้างนิสัยเกียจคร้าน
ไม่มีความเป็นผู้ใหญ่
ไม่เป็นที่รักของคนอื่น
พฤติกรรมที่ปรารถนาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
จงเป็นคนอดทน เพราะจะทำให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน/การเรียน
จงเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่โกรธง่ายและยิ้มแย้มแจ่มใส
ให้อดทนต่อความเหนื่อยยากและอุปสรรคต่างๆ ที่กำลังประสบอยู่
ความอดทนตามหลักศาสนา
ความอดทนตามหลักศาสนาพุทธ
ต้องคำนึงถึง"หิริโอตัปปะ" ให้มากและต้องรู้จักเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น
ต้องฝึกสมาธิให้มาก เพราะทัั้งความอดทนและสมาธิเป็นคุณธรรมที่เกื้อหนุนกัน ความอดทนจะหนักแน่นก็ต้องมีสมาธิมารองรับ
ความอดทนตามหลักศาสนาอิสลาม
เป็นความรู้สึกของจิตใจอันหนักแน่นมั่นคง พร้อมเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ อย่างไม่ย่อท้อจนสำเร็จได้ด้วยดี ไม่รู้สึกหวั่นไหวหรือพ่ายแพ้ต่อเหตุการณ์นั้นๆ
ความอดทนในกรอบของอัล-กรุอานและอัล-หะดีษ : ความอดทนจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ศรัทธา
ความอดทนเส้นทางสู่สวรรค์
เรามีหน้าที่ต้องหมั่นบริหารหัวใจของเราให้มีความแข็งแกร่งตลอดชั่วชีวิตของเรา "...และเจ้าจงอดทนต่อเหตุการณ์ที่แระสบแก่เจ้า เพราะนั่นคือส่วนหนึ่งของกิจการที่แข็งแกร่ง"
ลักษณะของความอดทน
มีความอดกลั้น
เป็นผู้ไม่ดุร้าย
ไม่ปลูกน้ำตาให้แก่ใครๆ
มีใจเบิกบานแจ่มใสอยุ่เป็นนิตย์
อดทนต่อความยากลำบากกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่
อดทนต่อความตรากตรำ
พฤติกรรมแสดงออกถึงความอดทน 10 ประการ
ไม่แสดงอาการทุรนทุรายหรือร้องครวญครางเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
ไม่กล่าวคำหยาบคายเมื่อถูกผู้อื่นยั่วอารมณ์
ไม่แสดงอาการหิวโหยเมื่อร่างกายต้องการอาหาร
ไม่ทำร้ายผู้อื่นที่ทำให้เกิดความโกรธ
ควบคุมกิริยาอาการให้เป็นปกติได้ เมื่อเจ็บแค้นใจ
เมื่อผิดหวังก็ไม่แสดงอาการเสียใจ
เมื่อมีอุปสรรคในการเรียน การทำงาน ก็ไม่ย่อท้อ
ใช้สติปัญญาควบคุมการกระทำของตนเองให้อยุ่ในอำนาจของเหตุผลได้
พยายามทำงานที่ยากให้สำเร็จตามเป้าหมาย
ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต
1) มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
3) มีทั้งถูกและผิด
5) มีทั้งการได้มาและการสูญเสีย
2) มีทั้งยากและง่าย
4) มีทั้งแพ้และชนะ
พฤติกรรมความอดทนมี 2 ประการ
พฤติกรรมความอดทนทางกาย
1) ความอดทนต่อความยากลำบากในการงานหรือการเรียน
2) ความอดทนต่อทุกขเวทนาทางกาย
2.พฤติกรรมความอดทนทางใจ
1) ความอดทนต่อการกระทบกระทั่งกัน การยั่วยุ ความเจ็บแค้นใจ
2) อดทนต่อกิเลส (ความโกรธ)
สรุป
พฤติกรรมแสดงออกถึงความอดทนของครูที่มีความอดทนทั้งพฤติกรรมความอดทนทางกายและทางใจนั้นต้องยึดเป้าหมายการสอนอยู่ในใจอย่างมั่นคง กระตือรือร้นในงานรับผิดชอบ เอาจริงเอาจังกับงาน อุทิศเวลา ขยัยทำงาน อุตสาหะไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคในงาน ติดตามผลความคืบหน้าของงานการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง
14.1 บทที่ 14 ความเป็นครู :ความอดทน
นางธนิดา วงศ์สัมพันธ์ 6220160339 เลขที่ 1 กลุ่ม 3