Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis - Coggle Diagram
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis
สาเหตุ
1.จุลชีพคือแบคทีเรียไวรัสและปรสิต
2.ไม่ใช่จุลชีพคือสารเคมี น้ำย่อย น้ำดี เลือดเศษอาหารจากกระเพาะอาหารและลำไส้ บาดแผลผ่าตัดรั่วเข้าช่องท้องและอุบัติภัยและสิ่งแปลกปลอม
พยาธิสรีรวิทยา
น้ำเยื่อบุช่องท้องมีการอักเสบจะทำให้หลอดเลือดของช่องเยื่อบุท้องขยายตัวเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผนังหลอดเลือดให้มีการซึมผ่านของศาลเร็วเพิ่มขึ้นสารน้ำจากหลอดเลือดจะผ่านผนังออกสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์ในลำไส้และผนังของลำไส้ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำจำนวนมากและปริมาณน้ำจากระบบไหลเวียนลดลงเป็นผลให้ไตขาดเลือดไปเลี้ยงผู้ป่วยอาการช็อกจากการเสียน้ำ จนทำให้ระบบไหลเวียนล้มเหลว
การประเมินสภาพ
1.จากการซักประวัติ
ซักประวัติอาการปวดท้องตำแหน่งที่ปวดลักษณะการปวดกระจายกว้างขึ้นบนหน้าท้องเรื่อยเรื่อย จนหน้าท้องแข็งตึงขยับตัวไม่ได้ต้องนอน งอตัวตลอดเวลามีการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนมีไข้สูง
2.จากการตรวจร่างกายและพบอาการและอาการแสดงดังนี้
-อาการปวดท้องเฉียบพลัน
-กดเจ็บหน้าท้องเจ็บเมื่อปล่อยมือและเกร็งเวลากดและหน้าท้องแข็งแกร่งเหมือนกระดาน
-ท้องอืด ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลงเปิดพบหน้าท้องโป่งตึง เคาะได้เสียงโปร่ง
-มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
-มีไข้
-กระหายน้ำ
-ปัสสาวะออกน้อย
-ชีพจรเร็ว หายใจตื้นตื้นและเร็ว ความดันโลหิตลดลงกระสับกระส่าย
จากการตรวจพิเศษ
-การถ่ายภาพรังสีบริเวณหน้าท้องในรายที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ทะลุจะเห็นเงาของอากาศอิสระอยู่นอกทางเดินอาหารบริเวณ ใต้กระบังลม
-การทำอันตราซาวน์จะพบของเหลวสะสม
หรือก้อน
การรักษา
ให้สารน้ำชดเชยทางหลอดเลือดดำ
ให้เพียงพอเพื่อป้องกันการช็อกจากการเสียน้ำ
ใส่ท่อระบายNG tubeเพื่อดูดสารน้ำและลมให้ทุเลาอาการท้องอืด
ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้น
การรักษา
ไส้ติ่งแตกตัดไส้ติ่งออก appendectomy
แผลกระเพาะอาหารทะลุเย็บปิดรูทะลุ simple sutra and omental graft
ลำไส้เน่าตายจากไส้เลื่อนบีบรัด ผ่าตัดลำไส้เน่าออกตัดต่อลำไส้ใหม่
มีหนองในอุ้งเชิงกรานล้างหนองออกการรักษาจะได้ผลดีมากน้อยเท่าใด
นั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสาเหตุระยะเวลาที่เกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และให้มีการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลก่อนผ่าตัด
2.แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่อง จากการปวดท้องและท้องอืด
1.ผู้ป่วยมีภาวะขาดสารน้ำและเกลือแร่จากกลไกลการอักเสบและติดเชื้อ
3.มีการติดเชื้อในช่องท้อง
4.ไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการปวดท้อง จากกระบวนการการอักเสบ
5.ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติเมื่อรับการรักษาด้วยการผ่าตัด
ข้อวิฉัยการพยาบาลหลังผ่าตัด
1.ผู้ป่วยมีภาวะขาดสารน้ำและเกลือแร่จากการงดน้ำงดอาหารและสูญเสียทางท่อระบาย
2.แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากปวดแผลหลังผ่าตัด
3.เสี่ยงต่อการติดเชื้อของแผลผ่าตัดหรือการติดเชื้อในช่องท้องยังไม่หมดไป
4.ปวดแผลเนื่องจากเนื้อเยื่อบาดเจ็บ