Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case study มภร 15/2 เตียง 6 G2P1 - Coggle Diagram
Case study มภร 15/2
เตียง 6 G2P1
ข้อมูลส่วนตัว
มารดาหลังคลอด เตียง 6 อายุ 24 ปี ชาวลาว ศาสนา พุทธ อาชีพ แม่บ้าน รายได้ต่อเดือน 9000 บาท ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา
ประวัติการเจ็บป่วย
ประวัติการรักษา
ปฏิเสธการเจ็บป่วยในอดีต
ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
ไม่เคยได้รับการผ่าตัด
ไม่แพ้อาหาร ไม่แพ้ยา
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
G2P1-0-0-1 Pregnancy 38 weeks 2 days by date
ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลตำรวจสม่ำเสมอ 11 ครั้ง
ฝากครรภ์ครั้งแรก GA 8 weeks 1 day by date ระหว่างตั้งครรภ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ปี 2558 คลอดบุตรเพศชาย full term, Normal labor น้ำหนักแรกเกิด 3,400 gm. ที่ประเทศลาว
วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล
16/12/63
3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล เจ็บครรภ์ทุกๆ 5 นาที นานครั้งละ 30 นาที เวลา 04.00 ไม่มีมูกเลือด ไม่มีน้ำเดิน ไม่มีปวดศีรษะ ตาพร่ามัว ไม่จุกแน่นหน้าอก ไม่มีปัสสาวะ แสบขัด ลูกดิ้นมากกว่าท10 ครั้ง/วัน
ระดับยอดมดลูก 3/4 เหนือสะดือ Vx, HE, OL FHS 146 bpm
ตรวจภายในพบ ปากมดลูกเปิด 2 เซนติเมตร effacement 75% station -1 MI
ประวัติการคลอดในปัจจุบัน
คลอด Normal labor เวลา 10.21 ทารกเพศญิง น้ำหนัก 3340 gm. ขณะคลอดได้รับ RLS 1000 ml IV drip at 10.00 น. ,5% DN/2 1000 ml + syntocinon 10 unit IV drip at 10.00 น.
วันที่รับไว้ในความดูแล
16/12/63
สัญญาณชีพ(12.30)
Temperature 36.8
Pulse rate 92 bpm
Respiratory rate 18 bpm
BP 117/79 mmHg
SpO2 97%
Pain score -
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2/11/63
Hb 11.1 %
Hct 334.7 %
MCV 88.9 %
Hb Typing = Normal or non clinically
Significant thalassemia
16/12/63
Hb 12.0 g/dL
MCHC 31.4 g/dL
WBC 17.08 10^3/uL
Neutrophil 86.6 %
Lymphocyte 9.2 %
Eosinophil 0.1 %
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงตกเลือดหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
ที่ LR มี blood loss 200 ml
มีแผลฝีเย็บ RML second degree tear
เลือดชุ่มผ้าอนามัย 1 แผ่นประมาณ 50 ml
มีแผลในโพรงมดลูก
วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด
เกณฑ์การประเมิน
v/s อยู่ในเกณฑ์ปกติ
-BP 90-120/60-80 mmHg
-PR 60-100 bpm
-RR 14-22 bpm
-PS 0
มดลูกหดรัดตัวดี กลมแข็ง
ปริมาณเลือดออกทางช่องคลอด ไม่เกิน 500 ml ใน 24 ชั่วโมง
แผลฝีเย็บไม่บวม ไม่แดง ไม่ช้ำ ไม่มี discharge ไหลซึม แผลแห้งติดกันดี
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินปริมาณและลักษณะเลือด ทุก 2-4 ชั่วโมง ในระยะ 24 ชั่วโมงแรกต้องไม่เกิน 500 ml
เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2-3 ชั่วโมง หรือเมื่อรู้สึกชุ่ม และสังเกตปริมาณเลือดที่ออก และนับว่าเปลี่ยนวันละกี่แผ่น
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก คลึงบริเวณหน้าท้อง
กระตุ้นให้แม่ปัสสาวะด้วยตนเองภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังคลอด
ประเมินอาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ใจสั่น ตัวเย็น
หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ให้ bed rest อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
ประเมินแผลฝีเย็ฐตามหลัก REEDA
ประเมินลักษระน้ำคาวปลา ปริมาณ สี กลิ่น
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ ดูค่า Hb, Hct
การประเมินผลการพยาบาล
v/s อยู่ในเกณฑ์ปกติ
Temperature 37.2
BP 91/60 mmHg
Respiratory rate 18 bpm
Pulse rate 72 bpm
มดูกหดรัดตัวดี คลำได้เป็นก้อนกลมแข็ง โดยระดับยอดมดลูกอยู่ที่ 4 นิ้ว
bleeding per vagina 30 ml
2.ผู้ป่วยมีภาวะไม่สุขสบายจากปวดแผลฝีเย็บและแผลที่โพรงมดลูก
ข้อมูลสนับสนุน
มีแผลรกลอกตัวลริเวณมดลูก
มีแผลฝีเย็บที่ perineum
pain score = 3
ผู้ป่วยแสดงสีหน้าเจ็บปวดเวลาขยับตัว
วัตถุประสงค์ : เพื่อบรรเทาอาการปวดมดลูกและแผลฝีเย็บ
เกณฑ์การประเมิน
pain score ลดลง
ผู้ป้วยไม่มีสีหน้าเจ็บปวด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินอาการปวดของผู้ป่วยโดยใช้ pain scale
ดูแลให้ผู้ป่วย bed rest อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ไม่กระทบกระเทือนบริเวณแผล เพื่อลดอาการปวด
หลีกเลี่ยงการคลึงมดลูกขณะที่แม่กำลังปวดมดลูก
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา paracetamol 500 mg 1 tab prn ตามแผนการรักษา
การประเมินผลการพยาบาล
pain score = 2
ผู้ป่วยไม่มีสีหน้าที่แสดงอาการปวด
3.เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยคลอด NL เวลา 10.21 น.
ผู้ป่วยมีอาการอ้อนเพลียจากการสูยเสียพลังงานขณะคลอด
ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแผลที่มดลูกและแผลฝีเย็บ
วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่ล้มในห้องน้ำ หรือทางเดิน
ผู้ป่วยไม่มีรอยเขียวช้ำตามร่างกาย
กิจกรรมทางการพยาบาล
ประเมินอาการวิงเวียนศีรษะ
ดูแลให้ผู้ป่วยปัสสาวะครั้งแรกบนเตียง
ดูแลให้ผู้ป่วย bed rest อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยต้องการ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหาครบ 3 มื้อ เพื่อทดแทนพลังานที่เสียไป
แนะนำให้ผู้ป่วยค่อยๆลุกจากเตียง เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด และช่วยพยุงผู้ป่วยให้ลุกขึ้น
การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนเพลีย
ผู้ป่วยไม่พลัดตกหกล้ม
ผู้ป่วยไม่มีรอยเขียวช้ำตามร่างกาย
4.เสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยมีแผลฝีเย็บแบบ RML 2 degree tear
ผูัป่วยมีแผลที่โพรงมดลูก
วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังคลอด
เกณฑ์การประเมิน
v/s อยู่ในเกณฑ์ปกติ
-Temp 36.5-37.4 องศา C
-BP 90-120/60-80 mmHg
-PR 60-100 bpm
-RR 14-22 bpm
แผลฝีเย็บ ไม่บวม ไม่แดง ไม่ช้ำ ไม่มี discharge ไหลซึืม แผลแห้ง สนิทดี
น้ำคาวปลาไม่มีกลิ่นเหม็น
กิจกรรมทางการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย เพื่อดูการติดเชื้อ
สังเกตและประเมินลักษณะฝีเย็บตามหลัก REEDA
สังเกต ลักษณะ สี กลิ่น และปรืมาณของน้ำคาวปลา
แนะนำให้มารดาเปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อรู้สึกชุ่ม หรือทุก 4 ชั่วโมง
แนะนำการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ โดยทำความสะอาดทุกครั้งหลังปัสสาวะ อุจจาระ ทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่เช็ดย้อน และซับให้แห้ง
การประเมินผลทางการพยาบาล
v/s อยู่ในเกณฑ์ปกติ
Temperature 37.2
BP 91/60 mmHg
Respiratory rate 18 bpm
Pulse rate 72 bpm
แผลฝีเย็บไม่บวม ไม่แดง ไม่ช้ำ ไม่มี discharge ไหลซึืม แผลแห้ง สนิทดี
น้ำคาวปลามีสีชมพูเข้ม ปรืมาณ 30 ml ไม่มีกลิ่นเหม็น
การประเมินภาวะสุขภาพมารดาหลังคลอด
13B
1.Background ภูมิหลังของมารดา
มารดาหลังคลอด เตียง 6 อายุ 24 ปี ชาวลาว ศาสนา พุทธ อาชีพ แม่บ้าน รายได้ต่อเดือน 9000 บาท ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา
G2P1-0-0-1 Pregnancy 38 weeks 2 days by date ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลตำรวจสม่ำเสมอ 11 ครั้ง ฝากครรภ์ครั้งแรก GA 8 weeks 1 day by date ระหว่างตั้งครรภ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ปี 2558 คลอดบุตรเพศชาย full term, Normal labor น้ำหนักแรกเกิด 3,400 gm. ที่ประเทศลาว
คลอด Normal labor เวลา 10.21 ทารกเพศญิง น้ำหนัก 3340 gm. ขณะคลอดได้รับ RLS 1000 ml IV drip at 10.00 น. ,5% DN/2 1000 ml + syntocinon 10 unit IV drip at 10.00 น.
2.Body Condition การประเมินภาวะร่างกาย
ลักษณะทั่วไป : มารดามีสีหน้าอ่อนเพลีย สีหน้าไม่วิตกกังวล มารดาค่อยๆลุก และเดินช้าเนื่องจากเจ็บแผลฝีเย็บ มารดาให้นมบุตรในท่านอน ลักษณะสบาย มีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อยจากการสูญเสียพลังงานจากการคลอด
มารดาไม่มีภาวะซีด เยื่อบุตาไม่ซีด Capillary refill น้อยกว่า 2 วินาที
มารดาลุกจากเตียงค่อนข้างลำบาก ต้องเกาะขอบข้างเตียง และค่อยๆลุกขึ้นยืน มารดาเดินช้าเนื่องวจากเจ็บแผลฝีเย็บ มารดาลุกจากเตียงตั้งแต่วันแรกที่คลอด
มารดาไม่มี thrombosis และไม่มีอาการชาและหนักที่ขา
มารดาสามารถนอนหลับได้ ไม่ปัญหาในการนอน ตื่นมาให้นมลูกทุก 2 ชั่วโมง
มารดาได้รับประทานอาหารธรรมดา ไม่มีภาวะขาดสารน้ำสารอาหาร
มารดาลุกไปอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อรู้สึกชุ่ม
ก่อนคลอดมารดาน้ำหนัก 56.8 กิโลกรัม
3.Body temperature and Blood pressure
อุณหภูิมร่างกายและความดันโลหิต
17/12/63
Temperature 37.2
Pulse rate 72 bpm
Respiratory rate 18 bpm
BP 91/60 mmHg
Pain score แผลฝีเย็บ 2 คะแนน
4.Breast and Lactation
เต้านมและการหลั่งของน้ำนม
เต้านมแม่คัดตึงเล็กน้อย แต่เมื่อลูกดูดนมเต้านมแม่ก็นิ่ม ไม่คัดตึง คลำพบก้อนเป็นไตเล็กน้อย คลำไม่พบต่อมน้ำเหลืองโต
หัวนมไม่แตก ไม่บอด ไม่บุ๋ม หัวนมไม่สั้น ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลานนมกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร
16/12/63
น้ำนมมีลักษณะเหลืองใส ไหลออกดี
17/12/63
น้ำนมมีลักษณะขุ่นขึ้นเล็กน้อย ไหลดี
L ลูกอมหัวนมมิดถึงลานนม 2 คะแนน
A ได้ยินเสียงกลืนไม่ชัด 1 คะแนน
T หัวนมไม่บอด ไม่บุ๋ม ไม่แตก 2 คะแนน
C แม่รู้สึกสบายเมื่อให้นมลูก 2 คะแนน
H แม่ให้นมบูตร Side lying position 2 คะแนน
รวม 9 คะแนน
5.Belly and fundus
หน้าท้องและยอดมดลูก
กล้ามเนื้อหน้าท้องค่อนข้างหย่อน จากการขยายจากการตั้งครรภ์
มดลูกหดรัดตัวดี กลมแข็ง ไม่มีอาการปวดมดลูก
16/12/63 ระดับยอดมดลูก 5 นิ้วเหนือ symphysis pubis
17/12/63 ระดับยอดมดลูก 4 นิ้วเหนือ symphysis pubis
6.Bladder กระเพาะปัสสาวะ
มารดาไม่มีปัสสาวะแสบขัด สามารถปัสสาวะเองได้หลังคลอด
7.Bleeding and lochia เ
ลือดและน้ำคาวปลา
16/12/63
น้ำคาวปลามีสีแดงสด ไม่มีกลิ่นเหม็น ประมาณ 50 ml
17/12/63
น้ำคาวปลามีสีแดงจาง ไม่มีกลิ่นเหม็น ประมาณ 40 ml
8.Bottom ฝีเย็บและทวารหนัก
แผลฝีเย็บ ไม่แดง ไม่บวม ไม่ช้ำ ไม่มี discharge ไหลซึม แผลชิดสนิทดี
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่มีตุ่ม ไม่คัน
ไม่มีริดสีดวงทวาร
9.Bowel movement
มารดาขับถ่ายหลังคลอดได้ปกติ
10.Blues ภาวะด้านจิตใจ
แม่ไม่มีภาวะ postpartum blues
11.Baby ทารก
สีผิวทารกแดงดี ลักษณะการหายใจปกติ ไม่ใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ ตามตัวมีผื่นเล็กน้อย ลักษณะเป็นผื่นแดง ไม่นูน ไม่คัน แขนขาเคลื่อนไหวได้ดี
13.Belief ความเชื่อ
มารดารับประทานอาหารตรบ 5 หมู่ เลี่ยงลูกด้วยน้ำนมตนเอง
12.Bonding สัมพันธภาพ
มารดาดูแลใส่ใจบุตรดี ตั้งใจให้นมบุตรทุก 2 ชั่วโมง ให้ลูกนอนข้างตัวเสมอ
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลังคลอด
มดลูก (Uterus)
มดลูกที่มีการยืดขยายมากขณะตั้งครรภ์(ประมาณ 11 เท่าของก่อนตั้งครรภ์) จะลดขนาดลงในทันทีที่เด็กและรกคลอด สามารถคลำไปทางหน้าท้องมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ระดับของมดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าเล็กน้อย แต่ภายหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้วระดับของมดลูกจะลอยสูงขึ้นมาอยู่เหนือสะดือ เล็กน้อยและอาจเอียงไปทางขวา (เนื่องจากทางซ้ายมีล้าไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ขวางอยู่ ) มดลูกจะลดขนาดลงสู่อุ้งเชิงกรานเร็วมากประมาณวันละ ½ -1 นิ้ว เพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เรียกว่า “มดลูกเข้าอู่”(Involution of uterus)อาศัยขบวนการ 2 ประการคือ 1.การย่อยสลายตัวเอง (Autolysis or self digestion) 2.การขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูก( Ischemia or localized anemia )
โดยระดับของมดลูกจะลดลงดังนี้
ภายหลังคลอดทันทีจะอยู่ระหว่างสะดือกับหัวเหน่าและมีน้ำหนักประมาณ1,000 กรัม
ใน 1 ชั่วโมงต่อมามดลูกจะลอยตัวสูงขึ้นมาอยู่ระดับสะดือเนื่องจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกส่วนบนและส่วนล่างไม่เท่ากัน
ต่อจากนั้น 2 วันหลังคลอดมดลูกจะหดรัดตัวและลดขนาดลงวันละ ½ - 1 นิ้วหรือประมาณ 1 fingerbreadth (FB)
7 วันหลังคลอดระดับมดลูกจะอยู่กึ่งกลางระหว่างหัวเหน่ากับสะดือหรือประมาณ 3 นิ้วฟุตเหนือหัวเหน่าหนักประมาณ 500 กรัม
2 สัปดาห์หลังคลอดระดับมดลูกจะอยู่ที่ระดับหัวเหน่าหรือคล้าไม่พบทางหน้าท้องมีน้ำหนักประมาณ 300 กรัม
6 สัปดาห์หลังคลอดมดลูกจะมีน้ำหนักเท่ากับระยะก่อนตั้งครรภ์คือประมาณ 50 กรัมขนาด 3 X 2 X 1 ซม.
“มดลูกไม่เข้าอู่” (Subinvolution of uterus) เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีซึ่งมีสาเหตุดังต่อไปนี้คือ
มีการตั้งครรภ์แฝดหรือตั้งครรภ์แฝดน้ำซึ่งท้าให้กล้ามเนื้อมดลูกมีการยืดขยายมาก
มีภาวะอ่อนเพลียจากระยะคลอดยาวนานหรือจากการคลอดยาก
เคยตั้งครรภ์มากกว่า 6 ครั้งขึ้นไป
การได้รับยาระงับความรู้สึกในขณะคลอด
การมีเศษรกค้างอยู่ในโพรงมดลูกซึ่งจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
มีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ
มีEarly ambulation ช้ากว่าปกติ
อาการปวดมดลูกมีสาเหตุจากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์เกิดในหญิงครรภ์หลังส่วนในครรภ์แรกปกติจะไม่มีอาการปวดมดลูกเนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกยังมีความตึงตัวสูง ยกเว้นว่าจะมีการยืดขยายของมดลูกมากเช่นครรภ์แฝดหรืvครรภ์แฝดน้ำเด็กตัวโตอาการปวดมดลูกอาจรุนแรงระยะเวลาที่เกิดอาการปวดมดลูกปกติจะไม่เกิน72 ชั่วโมง ถ้าอาการปวดมดลูกมีนานเกิน 72 ชั่วโมงหรืออาการเจ็บปวดรุนแรงอาจเกิดจากมีเศษรกค้างหรือมีก้อนเลือดค้างอยู่
การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกและบริเวณรกเกาะ
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดแล้วจะเกิดรอยแผลที่บริเวณรกลอกตัวมีขนาดประมาณ 8 X 9 เซนติเมตร ปกติจะหายอย่างสมบูรณ์ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด ถ้าไม่หายเรียกว่าซับอินโวลิวชันของบริเวณที่รกลอกตัว (Subinvolution of the placental site) ซึ่งจะมีน้ำคาวปลาไหลอยู่นานน้ำคาวปลาเป็นสีแดงตลอดไม่จางเรียก Persistant Red Lochia
น้ำคาวปลา (Lochia)
Lochia rubra น้ำคาวปลาที่ออกมาในระยะ 2 – 3 วันแรกหลังคลอด เนื่องจากในระยะนี้แผลภายในโพรงมดลูกยังใหม่อยู่การซ่อมแซมยังเกิดขึ้นน้อย สิ่งที่ขับออกมามีลักษณะสีแดงคล้ำและข้นประกอบด้วยเลือดเป็นส่วนใหญ่ น้ำคร่ำเศษเยื่อหุ้มเด็กเยื่อบุมดลูกไขและขนของเด็กขี้เทาลักษณะเลือดไม่เป็นก้อน
Lochia serosa มีประมาณวันที่ 4 – 9 ลักษณะน้ำคาวปลาสีจะจางลงเป็นสีชมพูสีน้ำตาลหรือค่อนข้างเหลืองมีมูกปน ทำให้ลักษณะที่ออกมาเป็นเลือดจางๆยืดได้
คือสิ่งที่ขับออกมาจากแผลภายในโพรงมดลูกตรงบริเวณที่รกเคยเกาะอยู่มีลักษณะเป็นน้ำเลือดปนน้ำเหลืองคล้ายน้ำคาวปลาลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของแผลที่มีการซ่อมแซม
Lochia alba มีประมาณวันที่ 10 หลังคลอดน้ำคาวปลาจะค่อยๆน้อยลงเป็นสีเหลืองจางๆหรือสีขาว
ดังนั้นการตรวจดูน้ำคาวปลาจึงท้าให้เราทราบว่าขณะนี้แผลในโพรงมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ถ้าผิดปกติแผลหายช้าหรือมีการอักเสบของแผล น้ำคาวปลาจะไม่เปลี่ยนแปลงตามปกติอาจมีกลิ่นเหม็น (Foul lochia) ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อถ้ามีสีแดงสดอยู่เรื่อยไปอาจเกิดจากการมีเศษรกค้างได้
การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
ระยะหลังคลอดบริเวณจากปากช่องคลอดจนกระทั่งถึงมดลูกส่วนล่าง (Lower uterinesegment) ยังคงบวม เป็นเวลาหลายวันส่วนของปากมดลูกที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดจะอ่อนนุ่มมีรอยช้ำและมีรอยฉีกขาดเล็กๆซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ประมาณ 18 ชั่วโมงหลังคลอดปากมดลูกจะสั้นลงแข็งขึ้นและกลับคืนสู่รูปเดิมประมาณ 2 – 3 วัน ปลายสัปดาห์ที่ 1 จะกลับคืนเหมือนสภาพเดิมเกือบสมบูรณ์ รูปากมดลูกที่เป็นรูปวงกลม เมื่อก่อนตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงเป็นรูปยาวรีซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงว่าเคยผ่าน การคลอดมาแล้ว
ฝีเย็บ (Perineum)
มารดาหลังคลอดจะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บฝีเย็บจะมีลักษณะบวมและอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังจากการที่หลอดเลือดฝอยฉีกขาด มารดาที่ได้รับการตัดฝีเย็บและได้รับการเย็บซ่อมแซมฝีเย็บจะหายเป็นปกติภายใน 5 – 7 วัน
การมีประจำเดือน
การมีประจำเดือนใหม่ในแต่ละคนจะแตกต่างไม่แน่นอนในรายที่ไม่เลี้ยงทารกด้วยนมมารดาจะกลับมีประจำเดือนใหม่อีกใน 7 – 9 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนพวกที่เลี้ยงทารกด้วยนมมารดาจะมีประจำเดือนช้า จะมีประจำเดือนใหม่ในเดือนที่ 9 หลังคลอด
เต้านม
ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลทำให้หัวนม (nipple) ลานนม (areolar) ขยายใหญ่และมีสีเข้มขึ้นต่อมไขมันบริเวณลานนม (tubercle of montgomery) ท่อน้ำนม (milk duct) ก็จะเจริญเต็มที่ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีผลทำให้ถุงผลิตน้ำนม (alveoli) และเซลล์ผลิตน้ำนม (secreting cell หรือ acini) ที่บุภายในถุงผลิตน้้านมเจริญเต็มที่เพื่อเตรียมสร้างน้ำนม ทำให้ขนาดของเต้านมใหญ่ขึ้นและตึงขึ้นจะเห็นชัดในราววันที่ 2 – 4 หลังคลอด
ภายหลังคลอดฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนซึ่งสร้างมาจากรกมีระดับลดลงทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin) ไปกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนม ส่วนการที่ทารกดูดนมมารดาจะกระตุ้น ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland) ให้มีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อรอบๆถุงผลิตน้ำนมและท่อน้ำนมให้มีการบีบรัดตัวขับน้ำนมออกมาเรียกกลไกนี้ว่า “เล็ทดาวน์รีเฟลกซ์” (let-down reflex) หรือ “มิลค์อีเจคชั่นรีเฟลกซ์” (mill ejection reflex) และฮอร์โมนออกซิโทซินยังมีผลทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวดีซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดและมดลูกกลับเข้าอู่ได้เร็วขึ้น
หัวน้ำนม (colostrum) จะเริ่มผลิตใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอดมีสีเหลืองข้น ในหัวน้ำนมส่วนใหญ่เป็นสารที่มีภูมิคุ้มกันโรคคืออิมมูโนกลอบบูลินเอ(immunoglobulin A หรือ lgA) มีหน้าที่คุ้มกันเชื้อโรคที่มีอยู่รอบๆตัวมารดาจึงถือได้ว่าให้ลูกดูดหัวน้ำนมเป็นครั้งแรกนั้นเป็นการให้วัคซีนคุ้มกันโรคครั้งแรก
น้ำนมระยะปรับเปลี่ยน (transitional milk) เป็นน้ำนมที่ออกมาในช่วงระหว่างหัวน้ำนมจนเป็นน้ำนมแม่ ซึ่งระยะปรับเปลี่ยนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 – 10 หลังคลอดไปจนถึง 2สัปดาห์หลังคลอด ปริมาณของน้ำตาลแลคโทสไขมันวิตามินที่ละลายในน้ำและพลังงานรวมจะเพิ่มขึ้น
น้ำนมแม่ (true milk หรือ mature milk) จะเริ่มประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้ว มีส่วนประกอบของน้ำมากถึงร้อยละ 87 โดยร่างกายจะนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญต่างๆ เด็กที่ดูดนมแม่อย่างเดียวได้พอเพียงไม่จำเป็นต้องกินน้ำเพิ่มอีกแม้จะอยู่ในที่มีอากาศร้อน
ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
ขณะทารกผ่านช่องทางคลอดจะท้าให้เกิดการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะกระเพาะปัสสาวะ จะบวมและมักมีอาการบวมและช้ำรอบๆรูเปิดของท่อปัสสาวะ ด้วยเหตุนี้หลังคลอดใหม่ๆมารดาจึงมักถ่ายปัสสาวะ
ลำบากและจะเป็นมากขึ้นถ้ามีอาการบวมของฝีเย็บ การที่มีกระเพาะปัสสาวะเต็มอาจส่งเสริมให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีเพราะตัวมดลูกถูกเบียดทำให้อยู่ผิดตำแหน่งและขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก เป็นสาเหตุให้มีการตกเลือดหลังคลอดได้จึงควรกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะทุก 4 – 6 ชั่วโมง
ระบบทางเดินอาหาร
มารดามีแนวโน้มที่จะท้องผูกจากการที่
สูญเสียแรงดันภายในช่องท้องทันทีกล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัวประกอบกับมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์และมารดาอาจไม่กล้าเบ่งเพราะกลัวแผลแยกหรือกลัวเจ็บแผลทำให้เกิดอาการท้องผูกภายหลังคลอดได้ และลำไส้จะท้างานได้ดีประมาณปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด
ระบบผิวหนัง
เมื่อการตั้งครรภ์สิ้นสุดลงฝ้าบริเวณใบหน้า (Chloasma gravidarum) จะหายไปแต่สีที่เข้มของลานนมเส้นกลางหน้าท้อง (Linea nigra) และรอยแตกของผิวหนังบริเวณผนังหน้าท้อง(Striae gravidarum) จะไม่หายไปแต่สีอาจจางลง
อุณหภูมิ
Milk Feverเกิดจากนมคัด (Breast engorement) จะพบในวันที่ 3 – 4 หลัง
คลอดอุณหภูมิจะสูงกว่า 38 องศาC และจะหายใน 24 ชั่วโมงหรือเมื่อลดการคัดตึงของเต้านม
Febile Feverเกิดจากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมารดาอุณหภูมิจะสูงกว่า 38องศา C ติดต่อกัน 2 วันหรือมากกว่า
Reactionary Feverซึ่งเกิดจากการขาดน้ำเสียพลังงานในการคลอดหรือได้รับการชอกช้ำ(Trauma) ในขณะคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อยโดยประมาณ 37.8 องศา C แต่ไม่เกิน 38 องศา C แล้วจะลดลงสู่ปกติใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมของมารดาในระยะหลังคลอด
Taking – hold phaseระยะเข้าสวมบทบาทการเป็นมารดาระยะนี้จะอยู่ในช่วง 3 – 10 วันหลังคลอด มารดาหลังคลอดที่ได้รับการตอบสนองในช่วง Taking - in phaseอย่างครบถ้วนก็จะเริ่มปรับตัวเข้าสู่ระยะนี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากยิ่งขึ้นเริ่มสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทารกสนใจบุคคลอื่นๆในครอบครัวเพิ่มขึ้น
Letting-go phaseระยะที่แสดงบทบาทได้ดีเป็นช่วงต่อเนื่องจาก Taking-hold phase ระยะนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 หลังคลอดเป็นต้นไปซึ่งเป็นช่วงที่สตรีหลังคลอดและทารกลับมาอยู่ที่บ้านต้องชี้แนะแนวทางให้มารดาหลังคลอดและสามีได้ร่วมกันวางแผนการด้าเนินชีวิตการปรับตัวเข้าสู่บทบาทใหม่และการมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้นสมาชิกในครอบครัว
Taking – in phaseระยะเริ่มเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดาเป็นระยะ 1 – 3 วันแรกหลังคลอดร่างกายมีความอ่อนล้าไม่สุขสบายจากการปวดมดลูกเจ็บปวดแผลฝีเย็บและคัดตึงเต้านมช่วงนี้จึงสนใจแต่ตนเองมีความต้องการพึ่งพาผู้อื่น (Dependency needs)
คำแนะนำกลับบ้าน
มาตรวจตามนัดหลังคลอด 6 สัปดาห์
การดูแลสุขอนามัย
ห้ามมี sex จนกว่ามดลูกจะเข้าอู่ หรือหลัง 6 สัปดาห์ขึ้นไป
เปลี่ยนขนาดเสื้อชั้นในตามขนาดของเต้านม
เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อรู้สึกชุ่ม
สังเกตลักษณะน้ำคาวปลาว่ามีลักษณะอย่างไร ต้องไม่มีกลิ่นเหม็น และเป็นสีเหลือง
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ โดยทำความสะอาดทุกครั้งหลังปัสสาวะ อุจจาระ ทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่เช็ดย้อน และซับให้แห้ง
ไม่ควรฟอกสบู่ที่เต้านม อาจทำให้หัวนมแตก ให้ใช้น้ำอุ่นเช็ดก่อนและหลังลูกกินนม
หลังอายน้ำให้ลูกให้เช็ดสะดือทุกครั้ง
ดูแลทำความสะอาดแผลฝีเย็บ ไม่ดึงปมไหม
การทำงานการออกกำลังกาย
ห้ามยกของหนัก
ห้ามขึ้นลงบันไดเยอะ เพราะอาจจะทำให้มดลูกหย่อนได้
ทำ kegel exercise เมื่อปผลฝีเย็บไม่เจ็บ ทำวันละ 200-300 ครั้ง
อาหาร
ดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร
งดอาการรสจัด ของหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เน้นทานอาหารประเภทโปรตีนเยอะๆ
รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
อาหารที่ช่วยให้น้ำนมไหลดี เช่น น้ำขิง หัวปลี แกงเลียง
อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
มีไข้ไม่หาย ไม่ทราบสาเหตุ
มีปัสสาวะแสบขัด
แผลฝีเย็บแยก
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น สีเปลี่ยน ปริมาณมากขึ้น
น้ำนมเป็นหนอง
มดลูกลดลงต่ำ
เต้านมบวมแดง คัดตึงมาก