Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจสุขภาพนักเรียนโดยพยาบาลอนามัยโรงเรียน - Coggle Diagram
การตรวจสุขภาพนักเรียนโดยพยาบาลอนามัยโรงเรียน
7.3 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อภายในโรงเรียน
วิธีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อภายในโรงเรียน ทุกโรงเรียนควรมีหลักป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามหลักวิทยาการระบาด
ตรวจหาผู้ป่วย คือ ตรวจสุขภาพของนักเรียนก่อนเข้าโรงเรียน อาการเบื้องต้นของโรคติดต่อ ซึ่งจะใช้เป็นข้อสังเกตของนักเรียน ได้แก่ หน้าซีดผิดปกติ ตาแดง ตาบวม คันตา น้ำตาไหล มีน้ำมูก คอแห้ง ท้องเสีย ปวดท้อง มีผื่นขึ้น เป็นต้น
การแจ้งเมื่อมีโรคติดต่อเกิดขึ้นในโรงเรียนเพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมได้ทันท่วงทีก่อนโรคจะแพร่กระจายออกไปตามพระราชบัญญัติ 2523 คือ
โรคติดต่ออย่างอื่น เช่น โรคไอกรน ไข้รากสาดน้อย โรคโปลิโอ วัณโรค โรคเรื้อน เมื่อมีโรคเกิดขึ้นหรือสงสัย ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายโรงเรียนแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายอนามมัยประจำท้องถิ่น เจ้าหน้าที่อนามัยหรือแจ้งให้แพทย์ทราบ
โรคติดต่อที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ประกาศให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความสำหรับท้องถิ่นนั้นๆ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายโรงเรียน ปฏิบัติการเช่นเดียวกันกับเมื่อมีโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้น
โรคติดต่อต้องแจ้งความ ต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อเกิดโรคตามกฎหมายมี14 โรคที่ต้องแจ้ง คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง คอตีบ โรคบาดทะยัก โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า ไข้รากสาดใหญ่ แอนแท็กซ์ โรคทริคิโนซิส ไข้กาฬหลังแอ่น โรคคุดทะราดระยะติดต่อ
การแยกนักเรียนที่ป่วยและนักเรียนที่สัมผัสโรคติดต่อ
การแยกนักเรียนที่ป่วย
เมื่อพบนักเรียนมีอาการของโรคติดต่อ ควรแยกนักเรียนป่วยออกจากนักเรียนอื่นทันทีและนักเรียนควรได้รับการตรวจจากแพทย์
ถ้าเป็นโรคตืดต่อร้ายแรง ต้องส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลโรคติดต่อ
นักเรียนป่วยเป็นวัณโรค ควรให้หยุดพักการเรียนชั่วคราว จนพ้นระยะติดต่อ หากจำเป็นต้องมาโรงเรียน เช่นสอบ ควรแยกชั้นเรียน
นักเรียนโรคติดต่ออื่นๆให้พิจารณาความรุนแรง ถ้ามากก็ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
การแยกนักเรียนที่สัมผัสโรค นักเรียนที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้เป็นโรคติดต่ออาจได้รับเชื้อจากผู้ป่วยแต่ไม่แสดงอาการ ฉะนั้นอาจแพร่เชื้อได้ จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการก่อน
การรับนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคติดต่อกลับเข้าเรียน
นักเรียนที่ป่วยเป็นโรคติดต่ออื่นๆถ้าไม่สามารถให้แพทย์รับรอง ให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อนามัยพิจารณาว่าหายดีแล้ว
นักเรียนที่หยุดเรียนเพราะป่วย ก่อนที่จะกลับเข้าไปเรียน ทางฝ่ายโรงเรียนควรไต่สวนหาสาเหตุการขาดเรียน หากเป็นโรคติดต่อ ก่อนจะอนุญาตให้เข้าเรียนได้ต้องให้แพทย์ เจ้าหน้าที่อนามัย หรือครูพิจารณาว่าพ้นระยะแล้ว
นักเรียนที่ป่วยเป็นโรคอันตรายหรือวัณโรค ควรมีใบรับรองแพทย์เพื่อแจ้งว่าหายดีแล้ว
7.2 การช่วยเหลือเด็กพิการ
ประเภทของความพิการทางด้านสุขภาพ
ความพิการทางด้านร่างกาย (Physical Handicap)
ความพิการทางสมอง (Mental Handicap)
ความพิการทางอารมณ์ (Emotion Handicap)
ความพิการหรือความบกพร่องทางสังคม (Social Handicap)
หลักในการช่วยเหลือเด็กพิการ
สามารถเลี้ยงชีพด้วยตนเอง
ไม่เป็นภาระแก่สังคม
สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยดี
การศึกษาสงเคราะห์
7.1 การบันทึกสุขภาพ
การบันทึกลงในบัตรสุขภาพหรือในสมุดบันทึกสุขภาพ
การตรวจร่างกายโดยแพทย์
การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
การได้รับอุบัติเหตุต่าง ๆ
ประวัติความเป็นมาทางด้านสุขภาพของนักเรียนตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน อนาคต
หลักการ
บันทึกสุขภาพควรดูแลและบันทึกให้ถูกต้องตามจริง
ครูประจำชั้นควรเป็นผู้เก็บรักษาบันทึกสุขภาพ
เขียนชื่อโรงเรียน ชั้น
สังเกตและบันทึกเหตุการณ์ของนักเรียนแต่ละคน
ท่าเพื่อรับการตรวจ
ท่าที่ 2
ทำท่าต่อเนื่องจากท่าที่ 1 คือ พลิกมือ หงายมือสิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต คือ เล็บยาวสกปรก ผิวหนังบวม เป็นแผล ผื่นมีขี้ไคล มีเม็ดตุ่มเล็กๆ มีน้ำใสๆ ตามง่ามมือ ตุ่มสากบริเวณด้านนอกของแขน
ท่าที่ 1
ยื่นมือไปข้างหน้าให้สุดแขนทั้งสองข้าง คว่ำมือกางนิ้วทุกนิ้ว
ท่าที่ 5
สำหรับนักเรียนหญิง ใช้มือขวาเปิดผมไปทัดไว้ที่ด้านหลังหูขวา หันหน้าไปทางซ้าย
ส่วนนักเรียนชายหันหน้าไปทางซ้ายเท่านั้น
ท่าที่ 6
ในท่าเดียวกันนักเรียนหญิงใช้มือซ้ายเปิดผมไปทัดไว้ด้านหลังหูซ้ายหันหน้าไปทางขวาส่วนนักเรียนชายให้หันหน้าไปทางขวาเท่านั้นสิ่งผิดปกติที่ควรสังเกตคือมีไข่เหาบริเวณโคนเส้นผมมีน้ำหรือน้ำหนองไหลออกมาจากหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มีขี้หูอุดตันข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มีแผล ต่อมน้ำเหลืองหลังหูโต
ท่าที่ 10
ให้กัดฟันและยิ้มกว้าง ให้เห็นเหงือกเหนือฟันบน และเห็นฟันล่างให้เต็มที่สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต คือ ริมฝีปากซีดมาก เป็นแผลที่มุมปาก มุมปากเปื่อย เหงือกบวมเป็นหนอง ฟันผุ ผิวหนังบริเวณใบหน้า หน้าผาก แก้มคาง เป็นวงขาว ๆ เรียบหรือเป็นวงแดง มีขอบชัด
ท่าที่ 4
ใช้มือทั้งสองข้าง ดึงคอเสื้อออกให้กว้าง หมุนตัวซ้ายและขวาเล็กน้อยเพื่อจะได้เห็นรอบ ๆ บริเวณคอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังสิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต คือ เม็ดผื่นคันบริเวณผิวหนังใต้คอบริเวณทรวงอก ผิวหนังเป็นวง ๆ สีขาว ๆ ลักษณะเรียบ โดยเฉพาะบริเวณ คอ ผิวหนังเป็นวงกลมสีแดงเห็นขอบชัด ผิวหนังสกปรกมีขี้ไคล บริเวณคอด้านหน้าบวมโตผิดปกติ
ท่าที่ 3
งอแขนพับข้อศอก ใช้นิ้วแตะเปลือกตาด้านล่างเบา ๆ ดึงเปลือกตาด้านล่างพร้อมกับเหลือกตา ขึ้นลง แล้วจึงกลอกตาไปด้านข้างขวาและซ้ายสิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต คือ ดวงตาแดง มีขี้ตา คันตา ขอบตาล่างแดงมาก อักเสบ เป็นเม็ดหรือมีเม็ดอักเสบ เป็นหนองที่เปลือกตา เปลือกตาบวม
ท่าที่ 8
ให้อ้าปากกว้างแลบลิ้นยาว พร้อมทั้งร้อง “อา” ให้ศีรษะเอนไปข้างหลังเล็กน้อยกลืนน้ำลายสิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต คือ ลิ้นแตก แดง เจ็บหรือเป็นฝ้าขาว ๆ ฟันผุ แผลแดงอักเสบบริเวณเยื่อบุจมูกมีน้ำมูกไหลบริเวณจมูก ไอ ต่อมทอนซิลโต คลำพบต่อมน้ำเหลืองใต้คางหรือคลำพบต่อมไทรอยด์
ท่าที่ 9
สำหรับนักเรียนหญิง ให้แยกเท้าทั้งสองข้างห่างกัน 1 ฟุตใช้มือทั้งสองข้างจับกระโปรงดึงขึ้นเหนือเข่าทั้งสองข้างส่วนนักเรียนชายเพียงแยกเท้าทั้งสองข้างให้ห่างกัน 1 ฟุตเช่นกัน
ท่าที่ 7
ให้กัดฟันและยิ้มกว้าง ให้เห็นเหงือกเหนือฟันบน และเห็นฟันล่างให้เต็มที่สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต คือ ริมฝีปากซีดมาก เป็นแผลที่มุมปาก มุมปากเปื่อย เหงือกบวมเป็นหนอง ฟันผุ ผิวหนังบริเวณใบหน้า หน้าผาก แก้มคาง เป็นวงขาว ๆ เรียบหรือเป็นวงแดง มีขอบชัด