Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มงคลสูตรคำฉันท์ :explode: - Coggle Diagram
มงคลสูตรคำฉันท์
:explode:
ความเป็นมา
:silhouettes:
เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
พระองค์ทรงนำพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฎกตั้ง แล้วแปลถอดความเป็นบทร้อยกรองภาษาไทย
การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านภาษา
ผู้แต่ง
:red_flag:
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
ลักษณะคำประพันธ์
:pen:
ทรงใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เพราะสามารถประพันธ์ได้ตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
:checkered_flag:
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น ไม่มีผู้ใดจะทำให้เกืดสิริมงคลแก่เราได้นอกจากตัสเราเอง
เรื่องย่อ :star:
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้รับฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มพระภาคเจ้า ณ เชตวันวิหาร เขตกรุงสาวัตถี มงคลสูตรเกิดขึ้นด้วนอำนาจคำถาม คือ พระสัมมสัมพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ที่มีลัทธิเรื่่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลา ๑๒ ปี ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล ๓๘ ประการ ต่อจากราตรีนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้ให้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง
ใจความสำคัญของมงคลสูตรคำฉันท์ :pencil2:
คาถาบทที่ ๑
ไม่ควรคบคนชั่วเพราะจะพาให้เราประพฤติชั่วไปด้วย ควรคบดีมีความรู้ เพราะจะนำเราไปสู่ความสำเร็จ
คาถาบทที่ ๒
ควรปฏิบัติตนและควรอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควรแห่งตน ทำบุญไว้แต่ปางก่อน
คาถาบทที่ ๓
รู้จักฟัง รู้จักพูด มีวินัย ใฝ่ศึกษาความรู้
คาถาบทที่ ๔
ดูแลบิดา มารดา บุตร ภรรยาเป็นอย่างดี ทำงานด้วยความตั้งใจ
คาถาบทที่ ๕
รู้จักให้ทาน ช่วยเหลือญาติพี่น้อง ทำแต่ความดี
คาถาบทที่ ๖
ไม่ประพฤติชั่ว ไม่ละเลยในการประพฤติ เว้นการดื่มน้ำเมา
คาถาบทที่ ๗
ให้ความเคารพผู้ควรเคารพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี มีความกตัญญูรู้คุณ และรู้จักฟัง
คาถาบทที่ ๘
มีความอดทน ว่านอนสอนง่าย หาโอกาสพบผู้ดำรงคุณธรรมเพื่อสนทนาธรรม
คาถาบทที่ ๙
พยายามกำจัดกิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตเพื่อจิตสงบถึงซึ่งนิพพาน
คาถาบทที่ ๑o
มีจิตอันสงบ รู้จักปล่อยวาง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่มากระทบ
คาถาบทที่ ๑๑
เทวดาและมนุษย์ปฏิบัติสิ่งที่เป็นมงคลเหล่านี้แล้วจะไม่พ่ายแพ้ให้แก่ข้าศึกทั้งปวง มีแต่ความเจริญ
แปลบทมงคลสูตร :confetti_ball:
อถ โข อญฺญตฺรา เทวตา
ครั้งนั้นแลเทวดา องค์หนึ่งมหา-นุภาพมหิทธิ์ฤทธี
บทอาขยาน :warning:
อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือ บ่ คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
แปล :
การไม่คบคนพาล เพราะคนพาลจะพาไปทำสิ่งที่ผิด ควรคบกับบัณฑิต เพระบัณฑิจะพาไปทำสิ่งดีๆ และประสบความดี และควรบูชาสิ่งที่ควรบูชา เช่น บิดา มารดา เป็นต้น เมื่อทำสิ่งเหล่านี้จะถือว่าเป็นมงคล
คุณค่าที่ได้รับด้านสังคม และด้านวรรณศิลป์ :checkered_flag:
มงคลสูตรคำฉันท์เป็นวรรณคดีที่มีมาจากมงคลสูตร ซึ่งเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคนโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน มงคลสูตร ๓๘ ประการ ช่วยให้ทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าไปด้วย
คุณค่าด้านสังคม :!:
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ :!:
เนื้อความในมงคลสูตรคำฉันท์มีที่มาจากคาถาบาลีและคำศัพท์ในทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอันมาก แต่ก็เป็นคำที่ความหมยเข้าใจได้ไม่ยาก เช่น โสตถิ ภควันต์ อภิยชนีย์ชน นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงสามารถถ่ายทอดและเรียบเรียงเนื้อความเป็นภาษาไทยได้อย่างเรียบง่ายและทรงเลือกสรรถ้อยคำได้สอดคล้องกับลีลาจังหวะของบทประพันธ์
คุณค่าด้านเนื้อหา
:!:
มงคลสูตรคำฉันท์นอกจากจะมีการแปลถอดความมาจากพระคาถาแล้ว ยังมี
การอธิบายขยายมงคลเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น