Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงร่างกายผู้ป่วย
ปัจจัยภายใน ได้แก่
สุขภาพอนามัย (คนที่แข็งแรงจะสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี ย่อมมีสุขภาพดี)
การมองโลก ประสบการณ์ชีวิต (คนที่คิดบวก ก็จะทําให้มีกําลังใจที่จะดูแลสุขภาพ หรือคนที่เตรียมตัววางแผนก่อนเกษียณ)
กรรมพันธุ
ความเชื่อ คนที่มีความเชื่อว่าความสูงอายุคือความภาคภูมิใจ เป็นที่เคารพย่อมดูแลตนเองและแสวงหาความรู้เพื่อทําให้มีสุขภาพดี ชะลอความเสื่อมในร่างกาย
ปัจจัยภายนอก ได้แก่
การศึกษา
เศรษฐกิจ เช่น ผู้ที่มีรายได้เป็นของตนเองเงินเดือน ดอกเบี้ย บํานาญ ฯลฯย่อมสามารถเลือกอาหารที่ดีมีคุณภาพมากกว่าผู้สูงอายุที่มีข้อจํากัดเรื่องค่าใช้จ่าย
สิ่งแวดล้อม ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เสียงดังก็จะทําให้ผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องการไดเยิน หรือ มลพิษทางอากาศ ทําให้ผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
การเกษียณงาน
ระบบผิวหนัง (Integumentary System)
ผิวหนังบางลง ความเหนียวของผิวหนังเพิ่มมากขึ้นเซลล์ผิวหนังมีจํานวน ลดลง
เซลล์ที่เหลือเจริญช้าลงอัตราการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เดิมลดลง
ทําให้ความยืดหยุนของผิวหนังไม่ดี น้ําและไขมันใต้ ผิวหนังลดลง ทําให้ผิวหนังเหี่ยวและมีรอยย่นมากขึ้น
สามารถมองเห็นปุ่่ม กระดูกชัดเจนขึ้น ประกอบกับการไหลเวียนที่ผิวหนังลดลง ผู้สูงอายุจึงเกิด แผลกดทับได้ง่ายและทนต่อความเย็นได้น้อยลง
ทําให้การหายของแผลช้าลง เส้นใยอีลาสตินลดลงแต่เส้นใย คอลลาเจน ใหญ่และแข็งตัวมากขึ้น
ต่อมเหงื่อมีจํานวนและขนาดลดลง
ดังนั้น การระบาย ความร้อนโดยวิธีการระเหยจึงไม่ดี ทําให้การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเลวลง ทําให้เกิดลมแดด (heat stroke)
ต่อมไขมันทํางาน ลดลง
ทําให้ผิวหนังแห้ง คันและแตกง่าย
ผมและขนมีจํานวนลดลง อัตราการเจริญของผมและขนลดลง ตามอายุ เมลานิน ซึ่งผลิตจากเซลล้สรเางสีของผมลดลง
ทําใหผมและขนทั่วไปสี จางลงกลายเป็นสีเทาหรือขาว เส้นผมร่วงแห้งง่าย เนื่องจากการไหลเวียน เลือดบริเวณหนังศีรษะลดลง เส้นผมได้รับอาหารไม่เพียงพอ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System)
-หลอดเลือดของผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมมากขึ้น ผนังหลอด เลือดฝอยหนาขึ้น
ทําให้การแลกเปลี่ยนอาหารและของเสียลดลง ผนังหลอด เลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง เพราะมีเส้นใยคอลลาเจนมากขึ้นและมีการเชื่อม กันตามขวางของเส้นใยคอลลาเจนเหล่านั้นทําให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะความดัน โลหิตต่ําเมื่อเปลี่ยนท่าทาง (postural hypotention) ได้ง่าย
ดังนั้น การ เปลี่ยนแปลงท่าทางต่าง ๆ ในผู้สูงอายุจึงควรกระทําอย่างช้า ๆ เกิดรอย ฟกช้ําได้ง่าย
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory System)
-ผู้สูงอายุจะมีความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง ความแข็งแรงและกําลังการหด ตัวของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจเข้าหายใจออกลดลง ปอดยืดขยายและ หดตัวได้น้อยลง
-จํานวนถุงลมปอดลด ผนังถุงลมแตกง่าย เกิดถุงลมโป่งพองได้ง่าย
-การทํางานของเซลล์ขน (cilia) ตลอดทางเดินหายใจลดลง รีเฟล็กซ์และ ประสิทธิภาพการไอลดลง จึงเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย การทํางาน ของฝาปดกล่องเสียงเลวลง เป็นเหตุทําให้เกิดการสําลักและเกิดโรคปอดบวม ได้ง่ายขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร (Digestive System)
ปัญหา
ต่อม น้ําลายเสื่อมหน้าที่ทําให้การย่อยแป้งและน้ําตาลในปากลดลง ปากและลิ้น แห้งมีการติดเชื้อในปากมากขึ้น
การรับรสของลิ้นเสียไปทําให้เกิดภาวะเบื่อ อาหาร
หลอดอาหารมี ขนาดกว้างขึ้นกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารหย่อนตัวลงและ ทํางานช้าลงอาหารให้กระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร ทําให้รู้สึกแสบยอดอก
บางครั้งมีการสูดสําลักเข้าสูู่หลอดลมทําให้เกิดโรคปอดบวมได้
การ เคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารช้าลงเนื่องจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการทํางานของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารลดลงอาหารอยู่ในกระเพาะ อาหารยาวนานขึ้น
ทําให้รู้สึกหิวลดลง การดูดซึมธาตุเหล็กและแคลเซียม ลดลงเนื่องจากการผลิตน้ําย่อยกรดเกลือลดลง ผู้สูงอายุจึงเกิดโรคกระดูกผุ และโรคโลหิตจางได้ง่าย
ระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ (Genitourinary System)
ไต ขับของเสียออกจากร่างกายได้ลดลง เนื่องจากขนาดและจํานวนของหน่วย ไตลดลง
ปริมาณเลือดที่เข้าสู่ไตลดลง และความเสื่อมหน้าที่ของไตโดยเฉพาะ ความสามารถในการควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะ
ผู้สูงอายุจึงมีความเสี่ยง
ต่อภาวะขาดน้ํา
ปัสสาวะบ่อย
เนื่องจาก กระเพาะปััสสาสะมีความจุลดลงและ เซลล์กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลง ความสามารถในการหดตัว
มีปัสสาวะ ค่างหลังการถ่ายปัสสาวะทําให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ผู้ชายอาจมีปัสสาวะขัด ลําปัสสาวะไม่พุ่ง
เนื่องจากต่อมลูกหมากโต
ผู้หญิง ก็มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นครั้งคราว
เพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หย่อน
โรคในระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น โรคติด เชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ไตวาย
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ตอมธัยรอยดำมีเนื้อเยื่อพังผืดมา สะสมมากขึ้น การทํางานจึงลดลงทําใหผู็สูงอายุจะเกิดภาวะ hypothyroidism ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทําให้มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารและน้ําหนักลดลงได้
ตับออนหลั่งอินสุลินลดลงและช้า ระดับน้ําตาลขณะอดอาหารคงที่ ภายใน ร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินน้อยกว่าปกติ เป็นผลทําให้ระดับความทนต่อ น้ําตาล (glucose tolerance) ลดลง
ต่อมเพศทํางานลดลง จึงเป็นผลทําให้ไม่มีประจําเดือน ขนบริเวณรักแร้ และหัวเหน่าลดลง
ปัญหาความเสื่อมที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง
กระดูกเปาะหักง่ายปวดข้อ
เบื่ออาหาร
การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การสำลัก การเหนื่อยง่าย ถุงลมโป่งพอง
เบาหวาน
ท้องผูก
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะลำบาก ถ่ายบ่อย
ต้อกระจก
การนอนไม่หลับ
หูตึง
ผิวแตกแห้งง่ายเหี่ยวย่น
ความไม่สมดุลของน้้ำในร่างกาย
หนาวเย็น
การติดเชืื้อระบบทางเดินปัสสาวะระหว่างร่วมเพส
แผลที่ผิวหนัง