Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุ - Coggle Diagram
ทฤษฎีความสูงอายุ
1.ทฤษฎีทางชีวภาพ (Biological Theories)
เป็นทฤษฎีที่อธิบายความชราทางชีววิทยาซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนเเปลงทางกายภาพที่เกิดขึ้น
ทฤษฎี อนุมูลอิสระ (Free redical Theory)
ความสูงอายุเกิดจากการสะสมสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน โปรตีน เเละคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับ การได้รับการกระตุ้นจากความร้อน เเสงเเละรังสี ก่อให้เกิดสารที่เรียกว่า อนุมูลอิสระ
เมื่อมีอนุมูลอิสระจะเข้าทำลายโปรตีน เอ็นไซด์เเละ DNA ส่งผลให้อวัยวะมีความเสื่อมลง ร่างกายทำหน้าที่ลดลง
ทฤษฎีจำกัดพลังงาน (Caloric Restriction or Metabolic Theory)
ซึ่งเชื่อว่าการจำกัดพลังงานในอาหารที่รับประทานจะช่วยชะลอกระบวนการเผาผลาญในร่างกายให้ช้าลงโดยเฉพาะไขมัน
ทฤษฎีสะสม (Accumulation Theory)
ทฤษฎีนี้เกิดจากสารไลโปฟัสซิน (Lipofuscin) เป็นสารสีเหลืองที่ประกอบด้วยไขมันเเละโปรตีน
ซึ่งเชื่อว่าสารไลโปฟัสซินมีผลเสียต่อร่างกาย จะมีผลต่อการกระจายเเละการขนส่งสารที่จำเป็นในร่งกาย
ทฤษฎีการเชื่อมขวาง (Cross-Linking Theory) หรือ ทฤษฎีคอลลาเจน (Collagen Theory)
ทฤษฎีเชื่อว่าความสูงอายุว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นโปรตีนบางตัวจะเปลี่ยนเเปลงลักษณะไขว้ขวางกันเเละอาจจะขัดขวางกระบวนการเผาผลาญในร่างกายโดยอุดกั้นทางเดินระหว่างภายนอกกับภายในเซลล์ของสารอาหารเเละของเสียที่เกิดขึ้น หน้าที่การทำงานจึงลดลง
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
ทฤษฎีนี้ได้เปรียบเทียบคนคล้ายกับเครื่องจักร คือ เมื่อมีการใช้งานมากๆ ใช้งานอวัยวะเป็นเวลานานหรือใช้อย่างหักโหมสะสมมาเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้นจึงเกิดการตายของเซลล์ เนื้อเยื่ออวัยวะเเละระบบต่างๆในร่างกายจะทำงานเสื่อมลง
ทฤษฎีพันธุกรรม (Genetic Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์สามารถคาดอายุขัยได้ นั่นคือ ครอบครัวใดที่พ่อเเม่ปู่ย่าตายายอายุยืน ลูกย่อมมีอายุยืนด้วย
ทฤษฎีระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อเเละภูมิคุ้มกัน (Neuroendocrine-Immunologic Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่าความสูงอายุเป็นผลร่วมกันของการเปลี่ยนเเปลงระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อเเละระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ลดลงหรือเเตกต่างจากเดิม ภูมิคุ้มกันเเบบ humoral immunity เกิดจากการทำงานของ B cell ร่างกายสร้าง antibody ต่อต้าน antigen ที่จำเพาะ
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (Phychosocial Theory)
การเปลี่ยนเเปลงทางจิตใจเเละสังคมของผู้สูงอายุมักจะมีผลกระทบพร้อมๆกัน
ทฤษฎีการถดถอย (Disengagement Theory)
เมื่อถึงวัยผู้สูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทเเละหน้าที่ของตนเองลดลงทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีลักษณะเเยกตัวออกจากสังคมทีละน้อยหรือต้องการปล่อยวางเป็นอิสระ
พยาบาลจะต้องให้การดูแลผู้สูงอายุที่เเตกต่างกันเพราะผู้สูงอายุมีการตอบสนองต่อการเกษียณอายุการทำงานที่เเตกต่างกัน
ทฤษฎีการมีกิจกรรม (Activity Theory)
ทฤษฎีนี้ส่งเสริมการทำกิจกรรมต่อไปไม่ยอมรับการเป็นผู้สูงอายุเร็วเกินไป เมื่อสูงอายุเกิดการสูญเสียบทบาทที่เคยทำอยู่บทบาทใหม่หรือบทบาทที่เเตกต่างออกไปรวมทั้งความสนใจใหม่ๆควรเข้ามาเเทนที่
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
ทฤษฎีนี้อธิบายว่าผู้สูงอายุจะมีความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆได้ ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพเเละเเบบเเผนการดำเนินชีวิตที่มีมาในอดีตที่เเต่ละคนเคยปฏิบัติมาก่อน
ทฤษฎีของเพค (Peck Concept)
ขยายเเนวคิดของอิริคสันให้เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการสร้างความรู้สึกมีศักดิ์ศรีในตนเองว่าผู้สูงอายุควรสร้างความรู้สึกพึงพอใจในตนเองในฐานะเป็นคนคนหนึ่ง ไม่ใช่จากการมีบทบาทในสังคม
เเนวคิดพัฒนากิจชีวิตของอิริคสัน (Erikson‘s Decelopmenttal Tasks)
การเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดี อยู่บนพื้นฐานของการประสบความสำเร็จในการเผชิญพันธะกิจในเเต่ละขั้นตอนของชีวิตสิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติ