Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจสุขภาพนักเรียนโดยพยาบาลอนามัยโรงเรียน, 1, 2, 3, 4, 6, 5, 8, 9, 10,…
การตรวจสุขภาพนักเรียนโดยพยาบาลอนามัยโรงเรียน
การตรวจสุขภาพโดยแพทย์
ควรได้รับบริการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ประจำทุกปี แต่เนื่องจากประเทศไทยยังมีบุคลากรแพทย์ไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจสุขภาพโดยบุคลากรระดับอื่นก่อน
เมื่อพบปัญหาที่ต้องการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือไม่สามารถแก้ไขได้จึงจะส่งไปรับการตรวจสุขภาพจากแพทย์โดยละเอียดอีกครั้ง
การตรวจสุขภาพของช่องปากโดยทันตแพทย์หรือทันตภิบาล
เป็นการส่งเสริมสุขภาพปาก ฟัน และรักษาโรคในช่องปากให้แก่นักเรียน ขณะตามความเหมาะสมและความพร้อมด้านบุคลากรในชุมชน ทั้งนี้หากเป็นไปได้นักเรียนควรได้รับการตรวจสุขภาพของปากและกฟันโดยทันตแพทย์หรือทันตภิบาลอย่างน้อยปีละครั้ง หากไม่สามารถติดต่อกับทันตแพทย์หรือทันตภิบาลได้ พยาบาลสามารถให้บริการการตรวจสุขภาพในช่องปากได้ เมื่อพบปัญหาจึงส่งต่อไปรับการดูแลต่อไป
การตรวจสุขภาพโดยครู เป็นการสุขภาพนักเรียนในตอนเช้า (Morning inspection)
นักเรียนทำท่า 10 ท่าตรวจ
ท่าที่ 2 ยื่นมือออกไปข้างหน้าหงายมือกางนิ้วออกทุกนิ้ว เพื่อสังเกตสีของฝ่ามือ ว่าซีดหรือไม่ ปกติฝ่ามือควรมีสีชมพู สังเกตความสะอาด ความพิการ ความผิดปกติ และรอยโรค
ท่าที่ 1 ยื่นมือออกไปข้างหน้าให้สุดแขนทั้งสองข้าง คว่ำมือกางนิ้วทุกนิ้ว เพื่อสังเกตความสะอาด ความพิการ ความผิดปกติ รวมทั้งรอยโรคต่างๆ บริเวณ แขน มือ นิ้ว ง่ามมือ และเล็บ
ท่าที่ 3 งอข้อศอกทั้งสองข้างใช้นิ้วแตะเปลือกตาล่างดึงลงเบาๆ กลอกตาขึ้นบนและลงล่าง แล้วกลอกไปทางซ้ายและขวา เพื่อสังเกตลักษณะขอบตา เยื่อบุเปลือกตา ขนตา ลูกตา แก้วตา ม่านตา ลักษณะของขี้ตา รวมทั้งสังเกตบริเวณหลังแขนและข้อศอก
ท่าที่ 8 อ้าปากกว้างแลบลิ้นออกมาให้ยาวที่สุด พร้อมทั้งเงยหน้าเล็กน้อย และร้อง"อา" เพื่อสังเกตฟันผุและจำนวนซี่ที่ผุลิ้นเพื่อดูความผิดปกติและสังเกตพื้นผิวของลิ้นเพื่อดูความผิดปกติ เช่น ซีด เป็นฝ้าขาว แตก หรืออักเสบ ดูจมูกภายนอกและในรูจมูกว่ามีแผล น้ำมูก ความพิการเยื่อบุตา เหงือก ฟันส่วนใน เพดาน ช่องคอ ต่อมทอนซิล หลังจากนั้นให้หุบปากกลืนน้ำลายเพื่อดูว่าต่อมทอนซิลมีขนาดปกติหรือโตผิดปกติ
ท่าที่ 9 ให้นักเรียนยืนแยกเท้าห่างกัน 1 ฟุต นักเรียนหญิงจับกระโปร่งดึงขึ้นเหนือเข่า
ท่าที่ 10 ให้นักเรียนหันหลังและเดินช้าๆไปด้านหน้า 4-5 ก้าว แล้วเดินกลับมาหาผู้ตรวจ วัตถุประสงค์ ท่าที่ 9 และ 10 เพื่อสังเกตบริเวณเข่า หน้าแข็ง น่อง ลักษณะของกระดูก ผิวหนัง ท่าทางการเดิน
ท่าที่ 5 ให้นักเรียนหันหน้าไปด้านซ้าย นักเรียนหญิงใช้เมื่อขวาเปิดผมให้สูงขึ้นเหนือด้านหลังหูขวา นักเรียนชายหันหน้าไปด้านซ้ายไม่ต้องปัดผม
ท่าที่ 6 ให้นักเรียนหันหน้าไปด้านขวา นักเรียนหญิงใช้เมื่อซ้ายเปิดผมให้สูงขึ้นเหนือด้านหลังหูซ้าย นักเรียนชายหันหน้าไปด้านซ้ายไม่ต้องปัดผม วัตถุประสงค์ของท่าที่ 5 และ 6 เพื่อสังเกตความสะอาดบริเวณหู รอยโรคต่างๆ เส้นผม และไข่เหา
ท่าที่ 4 ปลดกระดุมหน้าอกเสื้ออก 1-2 เม็ด ใช้มือทั้งสองข้างดึงคอเสื้อให้กว้างหันหน้าไปทางซ้ายและขวามือเล็กน้อย ให้เห็นรอบๆ บริเวณคอด้านข้าง ด้านหน้า และด้านหลังเพื่อสังเกตความสะอาดและความผิดปกติของผิวหนังบริเวณคอและหน้าอก เช่นว่าโตหรือไม่ผล ตุ่ม ผื่น กลาก และสังเกตต่อมน้ำเหลืองที่และต่อมไทรอย
ท่าที่ 7 กัดฟันและยิ้มกว้างให้เห็นเหงือกเต็มที่ เพื่อสังเกต สีริมฝีปาก ซีด แห้ง แตก มีแผล แผลที่มุมปาก ตรวจหาฟันผุบริเวณฟันหน้า เหงือก และรอยต่อระหว่างเหงือกกับฟัน สังเกตผิวหนังบริเวณใบหน้า
การตรวจสุขภาพโดยพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
การตรวจสุขภาพนักเรียนโดยพยาบาลสาธารณสุขคือเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่แพทย์เป็นการคัดกรองนักเรียนที่มีความผิดปกติทางด้านสุขภาพอนามัยเพื่อให้การศึกษาหรือส่งต่อไปรับการรักษาจากแพทย์รายละเอียดจะกล่าวถึงในภายหลัง
การตรวจสุขภาพของนักเรียนด้วยตนเอง
มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักดูแลสุขภาพของตนเองให้มากขึ้นจึงได้ให้นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้น ป.5 และ ป.6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีการบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง โดยนักเรียนจะต้องตรวจสุขภาพตนเองอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเมื่อพบความผิดปกติให้แจ้งแก่ครูประจำชั้นเพื่อให้การช่วยเหลือหรือส่งต่อเพื่อรับการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไปครูประจำชั้นหรือครูพยาบาลจะนำข้อมูลความผิดปกติบันทึกลงในบัตรบันทึกสุขภาพครูประจำชั้นจะเป็นผู้เก็บแบบบันทึกการตรวจสุขภาพ(สศ.3)ด้วยตนเองคู่กับบัตร สศ.3 และส่งต่อครูประจำชั้นคนใหม่เมื่อนักเรียนเลื่อนชั้นหรือมอบให้นักเรียนเมื่อย้ายโรงเรียนได้แก่การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงการวัดสายตาการตรวจสุขภาพช่องปาก การทดสอบการได้ยินการตรวจร่างกายการบันทึกสุขภาพนักเรียนการรักษาพยาบาลให้สุขศึกษาและ ติดตามผลการรักษา
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 การตรวจสุขภาพด้วยตนเอง
การตรวจ หาความผิดปกติของร่างกาย
การตรวจดูความเจริญเติบโตของร่างกาย
การตรวจความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า
การสำรวจภาวะสายตา
การได้ยิน
การประเมินความเครียด
ความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น
นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้น ป.5 และ ป.6 บันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง
การตรวจความผิดปกติของร่างกาย
การตรวจดูความเจริญเติบโตของร่างกาย
การตรวจความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า
การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
เป็นการประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียนช่วยให้ทราบว่าร่างกายของนักเรียนมีการเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัยหรือไม่โดยการนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับมาตรฐาน
ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ แสดงระดับการเจริญเติบโตของเด็กได้ชัดเจนกว่ากราฟแสดงน้ําหนักตามเกณฑ์อายุเพราะเด็กจะต้องไม่สูงเกินปกตินอกจากคนที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนจึงควรใช้เป็นตัวชี้เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของเด็กอย่างไรก็ตามความสูงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆจึงจำเป็นต้องติดตามและประเมินผลในระยะยาว
น้ำหนักตามเกณฑ์อายุแสดงถึงภาวะพร่องโภชนาการหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือมีการท่องด้านความสูง(ความสูงต่างกัน 1 cm อาจทำให้น้ำหนักต่างกันได้เกือบ 1 กิโลกรัม) หรืออาจมีภาวะพร่องทั้งน้ำหนักและส่วนสูงกราฟเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์อายุมีข้อด้อย คือ ไม่อาจยังไงว่าเด็กมีภาวะพร่องด้านน้ำหนักส่วนสูงรวมทั้งไม่สามารถระบุปัญหาโภชนาการเกินได้เพราะเด็กที่มีปัญหาโภชนาการเกินอาจมีผลน้ำหนักตามเกณฑ์อายุอยู่ในเกณฑ์ปกติ
น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ใช้ประเมินภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และภาวะผอม ควรใช้ควบคู่กับการเทียบส่วนสูงตามเกณฑ์อายุเพราะการที่เด็กเตี้ยอาจมีน้ำหนักที่สมส่วนกับความสูง
การวัดสายตา
การวัดสายตาเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการจัดที่นั่งในห้องเรียน และช่วยเหลือนักเรียนที่มีสายตาผิดปกติให้ได้รับการตรวจแก้ไขอย่างรวดเร็ว ซึ่งนักเรียนควรได้รับการตรวจสายตาทุกปี
การเตรียมอุปกรณ์
แผ่นวัดสายตารูปตัวอี(E-CHART) หรือแผ่นวัดสายตาที่เป็นตัวเลขเป็นเครื่องมือวัดความสามารถในการมองเห็นว่าปกติหรือผิดปกติ
แว่นรูเข็ม(pin Hole)เป็นเครื่องมือแยกความสามารถในการมองเห็นที่ผิดปกตินั้นว่ามีสาเหตุเกิดจากโรคตาหรือสายตาผิดปกติ
และกระดาษแข็งหรืออุปกรณ์อื่นที่ตัดเป็นรูปตัว E
เทปวัดระยะทาง
การเตรียมสถานที่
มีพื้นที่และแผ่นฝาที่เรียบทึบ
สถานที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร
มีแสงสว่างในบริเวณนั้นอย่างเพียงพอ
การติดตามแผ่นวัดสายตาและเตรียมตัวผู้ที่จะวัดสายตา
ใช้เทปวัดระยะทางจากผนังที่ติดแผ่นวัดสายตาโดยลากเส้นดิ่งถึงพื้นและวัดที่พื้นต่อไปอีก 6 เมตรเขียนเลขกำกับแต่ละเม็ดว่า 1,2,3,4,5, 6 ตามลำดับ
ติดแผ่นวัดสายตาที่ฝาผนัง ให้ตัวเลขแถวสุดท้ายอยู่ในระดับสายตานักเรียนโดยเฉลี่ย
ระยะที่ทางที่ยื่นจุด 6 เมตรควรทำกรอบสี่เหลี่ยมไว้ให้นักเรียนยืน (ให้วางเท้าในกรอบสี่เหลี่ยมที่วาดดังนี้)
ถ้านักเรียนสวมแว่นสายตา ให้ถอดแว่นสายตา วัดก่อน 1 ครั้ง แล้วบันทึกผลในช่อง “วัดสายตา ไม่สวมแว่น” ต่อมา ให้นักเรียนสวมแว่นแล้ววัดอีก 1 ครั้ง เพื่อจะได้ทราบว่าแว่นสายตาของนักเรียนเหมาะสมกับสายตาหรือไม่ แล้วลงบันทึกวัดสายตาในช่อง
ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจวิธีการวัดสายตาและจุดประสงค์ในการวัดสายตา
การทดสอบการได้ยิน
ผู้ตรวจใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้ถูกันห่างจากหูประมาณ 1 นิ้ว แล้วถามผู้ตรวจว่าได้ยินหรือไม่ซึ่งในคนปกติจะสามารถได้ยินเสียง หรือทดสอบโดยให้ผู้ถูกตรวจยืนหันหลังห่างจากผู้ตรวจ 5 ฟุต ให้ผู้ตรวจเรียกชื่อหรือให้ผู้ตรวจทำตามคำสั่งด้วยเสียงดังปกติ การทดสอบการได้ยินอย่างง่ายต้องกระทำในห้องเงียบและให้นักเรียนเข้ามาทดสอบทีละคน การทดสอบดังกล่าวยังไม่เป็นที่รับรองว่าจะคัดเลือกนักเรียนที่มีความผิดปกติของการได้ยินได้อย่างแน่นอน
เครื่องตรวจหูที่สามารถตรวจการได้ยินที่ได้ผลแน่นอนกว่า คือ Audiometer ซึ่งจะต้องไปรับการตรวจที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือที่โรงพยาบาล ผลของการตรวจหูทำให้สามารถให้คำแนะนำแก่ครูในการจัดที่นั่งแก่นักเรียนที่มีปัญหา
การตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
วิธีตรวจสุขภาพช่องปาก
จัดให้นักเรียนนั่งหันหน้าเข้าหาแสงสว่าง ผู้ตรวจยืนหรือนั่งหันหน้าเข้าหานักเรียนโดยให้หน้าคนที่ถูกตรวจอยู่ในระดับสายตา การตรวจฟันบน ให้นักเรียนเงยหน้าอ้าปาก ถ้าเห็นไม่ชัดผู้ตรวจใช้นิ้วมือดันริมฝีปากบนขึ้น
การตรวจฟันล่าง ให้นักเรียนก้มหน้าอ้าปาก ถ้าเห็นไม่ชัดผู้ตรวจใช้นิ้วมือช่วยดึงริมฝีปากล่างลง นักเรียนชั้น ป.1 ถึง ป.6 ควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือครูอย่างน้อยปีละครั้ง
โรคที่พบบ่อยในช่องปากและฟันของเด็กนักเรียน
โรคฟันผุ
ระยะที่ยังไม่เห็นรูผุบนฟัน ฟันจะมีลักษณะเป็นรอยขาวขุ่นหรือเป็นจุดสีน้ำตาล ยังไม่มีอาการใดๆ การใช้ฟลูออไรด์อย่างสม่ำเสมอร่วมกับการแปรงฟันให้สะอาดจะช่วยหยุดการลุกลามของโรคได้
ระยะที่เห็นรูผุบนฟัน ระยะนี้เป็นการรักษาแบ่งตามการลุกลามของโรค ถ้าฟันผุไม่ทะลุโพรงประสาทฟันจะใช้การรักษาโดยการอุดฟัน แต่ถ้าผุทะลุโพรงประสาทฟันต้องรักษารากฟันก่อนทำการอุดหรือครอบฟันต่อไป
สภาวะเหงือกอักเสบ
สังเกตเห็นเหงือกมีลักษณะบวมแดง มีเลือดออกง่ายขณะแปรงฟันหรือถูกกระทบกระเทือน การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในร่างกายช่วงวัยรุ่นและการละเลยต่อการรักษาอนามัยในช่องปากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเหงือกอักเสบได้ง่าย
การตรวจร่างกาย
ก่อนทำการตรวจร่างกาย ผู้ตรวจควรอ่านประวัติสุขภาพของนักเรียนในบัตรบันทึกสุขภาพว่าที่ผ่านมานักเรียนมีการเจ็บป่วยและได้รับภูมิคุ้มกันชนิดใดบ้าง ผลการชั่งน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ โดยเทียบกับตารางมาตรฐานของกรมอนามัย และผลการวัดสายตาเป็นอย่างไร
การตรวจร่างกายนักเรียนชั้นประถมศึกษาใช้ท่าตรวจ 10 ท่า เพื่อความสะดวกและป้องกันการหลงลืมตรวจบางระบบของร่างกาย พร้อมกับวิธีการคลำบางระบบและใช้เครื่องมือบางชนิดตรวจเพิ่มเติมภายหลัง เช่น การคลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ การใช้หูฟังตรวจปอดและหัวใจ สำหรับนักเรียนชั้น ป. 5- 6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาให้ตรวจสุขภาพด้วยตนเองและบันทึกตามแบบฟอร์มของกรมอนามัย
การให้การรักษาพยาบาล ให้สุขศึกษา และติดตามผล
ภายหลังการตรวจสุขภาพ เมื่อพบปัญหาที่สามารถให้การช่วยเหลือได้ควรจัดยามอบไว้ให้ที่ครูประจำชั้น และเขียนคำแนะนำถึงผู้ปกครองเกี่ยวกับปัญหาที่พบและการปฏิบัติตัวในกรณีที่เป็นโรคติดต่อซึ่งอาจเกิดการแพร่ระบาดได้ง่ายอาจแนะนำให้หยุดเรียนในกรณีที่เป็นนักเรียนชั้นสูง สามารถให้คำแนะนำบางอย่างแก่นักเรียนได้เลย
สุขวิทยาส่วนบุคคลสำหรับในรายที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองช่วยเหลือการรักษาได้ควรส่งต่อให้แพทย์รักษาหรือแนะนำให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปหลังจากนั้นควรติดตามผลการรักษาทั้งที่โรงเรียนและติดตามไปเยี่ยมบ้าน หรือนัดผู้ปกครองมารับคำแนะนำร่วมกับครูและเจ้าหน้าที่ที่โรงเรียน
การบันทึกสุขภาพนักเรียน
เพื่อทราบประวัติสุขภาพของนักเรียนทั้งในอดีตและปัจจุบัน
เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้ทราบภาวะสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายรวมถึงบริการสุขภาพได้ที่ได้รับ
เพื่อให้ข้อคิดเห็นและเป็นแนวทางสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูในการรักษาหรือแก้ไขภาวะสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของนักเรียนได้ถูกต้อง
เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิง
ศิวพร อึ้งวัฒนา. (2555). การพยาบาลชุมชน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.