Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงผู้สูงอายุ
1.ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงร่างกายผู้สูงอายุ
-กรรมพันธุ์
-สุขภาพอนามัย
-การมองโลก ประสบการณ์ชีวิต
-ความเชื่อ
-การศึกษา
-เศรษฐกิจ
-สิ่งแวดล้อม
-การเกษียณงาน
3.ปัญหา สาเหตุ และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุ
8.ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถ่ายปัสสาวะลําบาก และถ่ายบ่อยบริหารกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดโดยการขมิบก้นบ่อย ๆ ดื่มน้ําอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในตอนกลางวัน
9.ต้อกระจกตรวจตาปีละ 1 ครั้ง ถนอมสายตา ไม่ใช้สายตามากเกินไป แสงสว่างเพียงพอ
7.ท้องผูกดื่มน้ํามากขึ้น รับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น ออกกําลังกายสม่ําเสมอออกกําลังกาย สม่ําเสมอ ห้ามกลั้นอุจจาระ
10.การนอนไม่หลับจัดสถานที่ให้เงียบสงบ ไม่มีสิ่งรบกวนขณะนอนหลับ ดื่มนมอุ่น ๆ ก่อนนอนนวดเบา ๆ บริเวณหลังก่อนนอน
6.เบาหวานออกกําลังกายสม่ําเสมอ ควบคุมอาหาร รับประทานอาหารแป้งและน้ําตาลลดลง ลดความอ้วน
11.หูตึงตรวจหูปีละ 1 ครั้ง สังเกตอาการหูตึง ถ้าพบความผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์แนะนําการใช้เครื่องช่วยฟัง
5.การติดเชื้อในทางเดินหายใจและการสําลัก ถุงลมโป่งพอง หายใจลําบากเหนื่อยง่ายรับประทานอาหารช้า ๆ หลีกเลี่ยงการพูดขณะรับประทานอาหาร บริหารการหายใจมากขึ้น ดื่มน้ํามาก ๆ มีการไอที่ถูกวิธี
12.ผิวแห้งแตกง่ายเหี่ยวยานหลีกเลี่ยงการอาบน้ําบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ ถ้าจําเป็นให้ใช้สบู่อ่อน ๆ ทาผิวหนังด้วยโลชั่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด
4.กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง สมองขาดเลือดออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา ลดความอ้วน งดอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ตื่นเต้น
13.ความไม่สมดุลของน้ําในร่างกายแนะนําให้ดื่มน้ําอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อนเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ําออกจากร่างกาย
กระดูกเปราะและหักง่าย ปวดข้อรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกลังกายในสถานที่ที่มีแสงแดดอ่อน ๆ อย่างสม่ำเสมอ บริหารข้อมากขึ้น งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา หลีกเลี่ยงท่านั่งยอง ๆ พับเพียบ ขัดสมาธิ ลดน้ําหนัก
14.หนาวเย็น ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ในวันที่มีอากาศหนาวเย็น
2.ภาวะเบื่ออาหาร ขาดสารอาหาร โลหิตจางเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสูงครบทั้ง 5 หมู่ รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ครั้ง รับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น รักประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
15.การติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์ เจ็บขณะร่วมเพศแนะนําการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ ใช้สารหล่อลื่นขณะร่วมเพศ
1.อุบัติเหตุ แผลบริเวณผิวหนัง หลีกเลี่ยงการประคบร้อนหรือเย็นจัดเกินไป ตรวจผิวหนังอยู่เสมอ จัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบ แสงสว่างเพียงพอ
2.การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาในผู้สุงอายุ
-ระบบภูมิคุ้มกันทํางานลดลง
ทําให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
-ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory System)
ผู้สูงอายุจะมีความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง ความแข็งแรงและกําลังการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจเข้าหายใจออกลดลง ปอดยืดขยายและหดตัวได้น้อยลง
-ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal system)
หลังอายุ 40 ปี อัตราการเสื่อมของกระดูกมากกว่าอัตราการสร้าง เซลล์กระดูกลดลง แคลเซียมมีการสลายออกจากกระดูกมากขึ้นในเพศหญิงสาเหตุที่สําคัญคือ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนนี้ออก ฤทธิ์กระตุ้นการทํางานของ osteoblasts ลดลงหลังหมดประจําเดือนทําให้ แคลเซียมสลายออกจากกระดูก กระดูกผู้สูงอายุจึงเปราะและหักง่ายแม้ไม่ได้รับอุบัติเหตุ
-ระบบทางเดินอาหาร (Digestive System)
ฟันสึกกร่อน เคลือบฟันบางลง ฟันเปราะ บิ่นง่าย ฟันผุ หลุดล่วงง่าย ต่อมน้ําลายเสื่อมหน้าที่ทําให้การย่อยแป้งและน้ําตาลในปากลดลง ปากและลิ้นแห้งมีการติดเชื้อในปากมากขึ้น การรับรสของลิ้นเสียไปทําให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร เซลล์บริเวณหลอดอาหารมีการเปลี่ยนแปลงมีการยื่นโป่งพองของ
-ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System)
หลอดเลือดของผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมมากขึ้น ผนังหลอดเลือดฝอยหนาขึ้น ทําให้การแลกเปลี่ยนอาหารและของเสียลดลง ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง
-ระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ (Genitourinary System)
ไต ขับของเสียออกจากร่างกายได้ลดลง เนื่องจากขนาดและจํานวนของหน่วยไตลดลง ปริมาณเลือดที่เข้าสู่ไตลดลง และความเสื่อมหน้าที่ของไตโดยเฉพาะความสามารถในการควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะ ผู้สูงอายุจึงมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ํา ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากกระเพาะปัสสาสะมีความจุลดลงและ
-ปัญหาการได้ยินลดลง หูตึง (Presbycusis)j
สาเหตุมาจากมีการเสื่อมของ organ of Corti และ basilar membrane ร่วมกับเส้นประสาทคู่ที่ 8 (auditoty nerve) ทําให้มี ความบกพร่องการได้ยินระดับเสียงสูงมากกว่าระดับเสียงต่ำการสื่อสารกับผู้สูงอายุ ไม่ควรตะโกน แต่ควรพูดด้วยเสียงทุ้ม พูดถ้อยคําง่าย ๆ พูดช้า ๆ ชัดเจน หลีกเลี่ยงใช้คําเดี่ยว ควรใช้คําที่มีหลายพยางค์ ขณะสนทนายืนตอหน้าผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมองเห็นชัด พูดต่อ หน้า ไม่ห่างเกินและไม่ใกล้กว่า 3 ฟุต ผู้สูงอายุสามารถแยกสีแดง สีส้ม และสีเหลือง ได้ดีกว่าสีน้ำเงิน สีม่วง และเขียวดังนั้น การเลือกใช้สีที่เห็นชัดเจนตกแต่งบ้านจะช่วยให้ลดอันตราย เนื่องจากอุบัติเหตุภายในบ้าน เซลล์สมองและเซลล์ประสาทมีจํานวนลดลง ความจําเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องราวใหม่ ๆ (recent memory)
-ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ต่อมธัยรอยด์มีเนื้อเยื่อพังผืดมาสะสมมากขึ้น การทํางานจึงลดลงทําให้ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะhypothyroidism ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทําให้มีอาการอ่อนเพลียเบื่ออาหารและน้ําหนักลดลงได้ ตับอ่อนหลั่งอินสุลินลดลงและช้า ต่อมเพศทํางานลดลง
-ระบบผิวหนัง
ผิวบางลง ความเหนียวของผิวหนังเพิ่มมากขึ้นเซลล์ผิวหนังมีจํานวนลดลง น้ำและไขมันใต้ผิวหนังลดลง ทำให้หนังเหี่ยวและมีรอยย่นมากขึ้น การไหนเวียนที่ผิวหนังลดลง จึงทำให้เกิดแผลกดทับได้ง่าย ต่อมเหงื่อมีจำนวนและขนาดลดลง ผมและขนทั่วไปกลายเป็นสีขาวเส้นผมร่วงแห้งง่าย