Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุ, นางสาวคีตภัทร บุญขำ เลขที่9, รหัส 62111301010 - Coggle…
ทฤษฎีความสูงอายุ
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (Phychosocial theory)
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและสังคมของผู้สูงอายุมักจะมีผลกระทบพร้อม ๆ กัน
ทฤษฎีการถดถอย (Disengagement Theory)
เมื่อถึงวัยผู้สูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทและหน้าที่ของตนเองลดลงทําให้มีลักษณะแยกตัวออกจากสังคมทีละน้อย
การพยาบาล
ให้มีความรู้การเตรียมตัวก่อนการเกษียณ สนับสนุนให้มีความรู้สึกมีคุณค่า
ทฤษฎีการมีกิจกรรม (Activity theory)
ส่งเสริมการทํากิจกรรมต่อไป ไม่ยอมรับการเป็นผู้สูงอายุเร็วเกินไป เมื่อเกิดการสูญเสียบทบาทที่เคยทํา บทบาทใหม่หรือบทบาทที่แตกต่างออกไปควรเข้ามาแทนที่
การพยาบาล
การกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมต่อไปเพื่อความมั่นคงและอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
ผู้สูงอายุจะมีความสุขในการทํากิจกรรมต่างๆได้ ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและแบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีมาในอดีตที่แต่ละคนเคยปฏิบัติมา
การพยาบาล
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการตัดสินใจที่จะเลือก เพื่อให้มีความพึงพอใจและไม่ขัดแย้งต่อความรู้สึกภายในของผ้สูงอายุ
ทฤษฎีของเพค
(Peck Concept)
ขยายแนวคิดของ Erikson
เจาะจงเกี่ยวกับการรู้สึกมีศักดิ์ศรีในตนเอง
ควรสร้างความรู้สึกพอใจในตนเอง
หาความสุขทางใจมากกว่าหมกมุ่นกับข้อจำกัดของร่างกายที่สูงอายุมากขึ้น
สะท้อนคิดถึงอดีตที่ประสบความสำเร็จอย่างชื่นชม
แนวคิดพัฒนกิจชีวิตของอิริคสัน (Eriksons Developmental Tasks)
การเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดีอยู่บนพื้นฐานของการประสบความสําเร็จในการเผชิญพันธะกิจในแต่ละขั้นตอนของชีวิต
สิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติ
หาความหมายของชีวิตเพื่อเสริมความรู้สึกมีศักดิ์ศรี ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีทางชีวภาพ (Biological Theories)
อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกาย
ทั้งด้าน Anatomy และ Physiology
ประกอบด้วย
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ
(Free radical Theory)
ความสูงอายุเกิดจากการสะสมสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตร่วมกับการได้รับการกระตุ้นจากความร้อน แสง และรังสี ก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระ เมื่ออนุมูลอิสระเข้าไปทําลายโปรตีน เอ็นไซด์และ DNA ส่งผลให้อวัยวะมีความเสื่อมลง ร่างกายทำหน้าที่ได้ลดลง
ทฤษฎีที่สอดคล้อง
ทฤษฎีจํากัดพลังงาน
(Caloric Restriction or Metabolic Theory)
เชื่อว่าการจํากัดพลังงานในอาหารที่รับประทานจะช่วยชะลอกระบวนการเผาผลาญในร่างกายให้ช้าลงโดยเฉพาะไขมัน
ทฤษฎีสะสม
(Accumulation Theory)
เกิดจากสาร Lipofuscin ซึ่งเชื่อว่ามีผลเมีผลเสียต่อการกระจายและการขนส่งสารที่จําเป็นในร่างกาย
เป็นสารสีเหลือง ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน
พบในเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ตับและเส้นประสาท เป็นผลผลิตของการเผาผลาญไขมันไม่อิ่มตัว
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross - Linking Theory)
/ ทฤษฎีคอลลาเจน (Collagen Theory )
เชื่อว่าเป็นผลาจากการเปลี่ยนแปลงของสารไขว้ขวาง คือ กลุ่มคอลลาเจน อิลาสติน รวมทั้งสารที่อยู้ทั้งในและนอกเซลล์ (เป็นกลุ่มสารเส้นใยโปรตีนที่ประกอบเป็นโครงร่างและเนื้อเยื่อประคับประคองให้ความแข็งแรง) เมื่อเนื้อเยื่อคอลลาเจนมีการเปลี่ยนแปลงทําให้มีลักษณะแข็ง แตกแห้ง สูญเสียความยืดหยุ่น จะส่งผลให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะ เช่น ผิวหนัง
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
เปรียบเทียบคนเหมือนเครื่องจักร
คือ เมื่อมีการใช้งานมากๆ เป็นเวลานาน เมื่ออายุมากขึ้นจึงเกิดการเสื่อมและตายของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย จะทํางานได้น้อยลง เช่น ข้อเข่า เป็นต้น
ทฤษฎีพันธุกรรม (Genetic Theory)
เชื่อว่าความสูงอายุถูกควบคุมด้วยพันธุกรรม อายุขัยของมนุษย์ถูกโปรแกรมก่อนเกิดกําหนดไว้ โดยเริ่มจากยีนใน DNAที่ถ่ายทอดลักษณะต่าง ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์สามารถคาดอายุขัยได้ เช่น ครอบครัวใดที่ปู่ย่าตายายอายุยืน ลูกหลานจะอายุยืนด้ย
ทฤษฎีระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อและภูมิคุ้มกัน
(Neuroendocrine-Immunologic Theory)
เชื่อว่าความสูงอายุเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงระบบประสาท
ต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกันที่ทําหน้าที่แตกต่างจากเดิม
นางสาวคีตภัทร บุญขำ เลขที่9
รหัส 62111301010