Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุ, นางสาวภัชราภรณ์ หนูรอด ชั้นปี 2 รุ่น 37 เลขที่ 65 …
ทฤษฎีความสูงอายุ
ทฤษฎีทางชีวภาพ (Biological Theories)
ทฤษฎีที่อธิบายความชราทางชีววิทยา ซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดขึ้น ในร่างกายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
เมื่อเข้าสู่วัยชรากระบวนการเปลี่ยนแปลงของความชรามักสัมพันธ์กับกับอายุของสิ่งมีชีวิต
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radical Theory)
ความสูงอายุเกิด จากการสะสมสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับ
การได้รับการกระตุ้นจากความร้อน แสง และรังสี ก่อให้เกิดสารที่ เรียกว่า อนุมูลอิสระ
เมื่อมีอนุมูลอิสระจะเข้าทําลายโปรตีน เอ็นไซด์และ DNA ส่งผลให้อวัยวะมีความเสื่อมลง ร่างกายทําหน้าที่ลดลง
การประยุกต์ใช้
การแนะนำให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ปกป้องร่างกายจากรังสี แสงแดด ใช้ครีมกันแดด
ควรแนะนำให้ทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อาหารที่มีวิตามินA,C,E
แนวคิดใหม่ที่สอดคล้อง คือ ทฤษฎีจํากัดพลังงาน(Caloric Restriction or Metabolic Theory)ซึ่งเชื่อว่าการจํากัด พลังงานในอาหารที่รับประทานจะช่วยชะลอกระบวนการเผาผลาญในร่างกายให้ช้าลงโดยเฉพาะไขมัน
ทฤษฎีสะสม(Accumulation Theory)
ทฤษฏีนี้เกิดจาก สารไลโปฟัสซิน (Lipofuscin)
ไลโปฟัสซิน เป็นสารสีเหลืองที่ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน พบในเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ตับและเส้นประสาท สารนี้เป็นผลผลิตของ
การเผาผลาญไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเชื่อว่าสารไลโปฟัสซินมีผลเสียต่อร่างกายจะมีผลต่อการกระจายและการขนสรงสารที่จําเป็นในร่างกาย
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง(Cross-Linking Theory)
หรือ ทฤษฎีคอลลาเจน(Collagen Theory )
ทฤษฏีเชื่อว่า ความสูงอายุเมื่อมีอายุมากขึ้นโปรตีนบางตัวจะเปลี่ยนแปลงลักษณะไขว้ขวางกันและอาจจะขัดขวางกระบวนการเผาผลาญ
ในร่างกายโดยอุดกั้นทางเดินระหว่างภายนอกกับภายในเซลล์ของสารอาหารและของเสียที่เกิดขึ้น หน้าที่การทํางานจึงลดลง
สารไขว้ขวาง เช่น คอลลาเจน อิลาสติน และสารที่อยู่ภายในเซลล์รวมทั้งสารที่อยู่นอกเซลล์เป็นกลุ่มสารเส้นใยโปรตีนที่ประกอบ
เป็นโครงร่างของร่างกาย เป็นเนื้อเยื่อประคับประคองและให้ความแข็งแรง พบมากในผิวหนัง กระดูกและกล้ามเนื้อ
เนื่องจากคอลลาเจนเกิดจากการเชื่อมตามขวางภายในเซลล์ พบเมื่ออายุมากขึ้น เมื่อเนื้อเยื่อคอลลาเจนมีการ เปลี่ยนแปลงทําให้มีลักษณะแข็ง
แตกแห้ง สูญเสียความยืดหยุ่น มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง เนื้อเยื่อสูญเสียความยืดหยุ่น เป็นผลให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะ
เช่น ผิวหนัง ผนังหลอดเลือด เลนซ์ในลูกตา ทําให้มีความทึบแสงมากขึ้น และกลายเป็นต้อกระจก (cataracts)
การประยุกต์ใช้
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายแบบยืดเหยียด(flexibility)จะช่วยป้องกันการยึดติดแข็งของกล้ามเนื้อ
เอ็นและข้อ ร่างกายเคลื่อนไหวคล่อง ช่วยป้องกันการหกล้มได้
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
เปรียบเทียบคนคล้ายกับเครื่องจักร คือเมื่อมีการใช้งานมาก ๆ ใช้งานอวัยวะเป็นเวลานาน หรือใช้อย่างหักโหมสะสมมาเรื่อย ๆ
เมื่ออายุมากขึ้น จึงเกิดการตายของเซลล์เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบต่างๆในร่างกายจะทํางานเสื่อมลง เช่น หลอดเลือด ข้อเข่า เป็นต้น
จึงควรมีการส่งเสริมสุขภาพและการชะลอความเสื่อมของร่างกายเพื่อชะลอความเสื่อม
การประยุกต์ใช้
แนะนำการชะลอความเสื่อมของร่างกาย เช่น การป้องกันข้อเข่าเสื่อมด้วยการควบคุมน้ำหนักตัว
ลงบันไดอย่างช้าๆ และไม่กระโดดเมื่อเต้นแอโรบิก ลดอาหารที่มีไขมันป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
ทฤษฎีพันธุกรรม (Genetic Theory)
เชื่อว่าความสูงอายุถูกควบคุมด้วยพันธุกรรม อายุขัยของมนุษย์ถูกโปรแกรมก่อนเกิดกําหนดไว้โดยเริ่มจากยีนในDNAถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ให้ลูกหลาน
ทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์สามารถคาดอายุขัยได้ นั่นคือ ครอบครัวใดที่ พ่อ–แม่ , ปู่–ย่า , ตา–ยาย อายุยืน ลูกย่อมมี อายุยืนด้วย
การประยุกต์ใช้
การป้องกันไม่ให้ร่างกายเสื่อมลงเร็วกว่ากำหนดด้วยการกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด
ทฤษฎีระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อและภูมิคุ้มกัน (Neuroendocrine-Immunologic Theory)
เชื่อว่า ความสูงอายุเป็นผลร่วมกันของการเปลี่ยนแปลงระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกันที่ทําหน้าที่ลดลง หรือแตกต่างจากเดิม
ระบบภูมิคุ้มกันแบบ humoral immunity เกิดจากการทํางานของ B cell ร่างกายสร้าง antibody ต่อต้าน antigen ที่จําเพาะ
เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และภูมิคุ้มกันนี้ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น มีผลทําให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
การประยุกต์ใช้
กระตุ้นการสร้างเสริมสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อด้วยการรักษาสุขอนามัย ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ
หลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารปิ้ง/ย่างไหม้เกรียม ควันบุหรี่ และตรวจหามะเร็งเป็นประจำ
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (Phychosocial theory)
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและสังคมของผู้สูงอายุมักจะมีผลกระทบพร้อมๆกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพสถานภาพ วัฒนธรรม
เจตคติ โครงสร้างครอบครัว และการมีกิจกรรมในสังคม
ทฤษฎีการถดถอย (Disengagement Theory)
เมื่อถึงวัยผู้สูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทและหน้าที่ของตนเองลดลง ทําให้ผู้สูงอายุ
ส่วนใหญ่มีลักษณะแยกตัวออกจากสังคมทีละน้อย หรือต้องการปล่อยวาง เป็นอิสระ
ถ้าสังคมและบุคคลรอบข้างของผู้สูงอายุยอมรับเปิดโอกาสและเคารพในตัวผู้สูงอายุ จะทําให้
ผู้สูงอายุมีความสุขมากขึ้น และทําให้พวกเขารู้สึกว่ายังมีคุณค่ากับสังคมและบุคคลรอบข้างต่อไป
การประยุกต์ใช้
พยาบาลจะต้องให้การดูแลผู้สูงอายุที่แตกต่างกัน เพราะผู้สูงอายุมีการตอบสนองต่อการเกษียณอายุ
การทํางานที่แตกต่างกัน ควรจัดให้มีความรู้การเตรียมตัวก่อนการเกษียณ สนับสนุนความรู้สึกมีคุณค่า
เป็นสมาชิกในสังคม คงไว้ซึ่งความรู้สึกมีอํานาจในการควบคุม สิ่งแวดล้อมที่อยูรอาศัยของตน
ทฤษฎีการมีกิจกรรม(Activity theory)
ส่งเสริมการทํากิจกรรมต่อไป ไม่ยอมรับการเป็นผู้สูงอายุเร็วเกินไป เมื่อผู้สูงอายุ เกิดการสูญเสีย
บทบาทที่เคยทําอยู่ บทบาทใหม่หรือบทบาทที่แตกต่างออกไป รวมทั้งความสนใจใหม่ๆ
ควรตระหนักให้ผู้สูงอายุ มีกิจกรรมต่อไปเมื่อมีอายุมากขึ้น การกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้มี
กิจกรรมต่อไป เพื่อความมั่นคงและอยู่ในสังคมได้ อย่างมีคุณค่าและผาสุกต่อไป
การประยุกต์ใช้
สนับสนุนให้ผู้สูงอายุใช้ความสามารถที่มีอยู่ปฏิบัติกิจกรรมประจำวันด้วยตนเองให้นานที่สุด
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเลือกกิจกรรมใหม่ที่เหมาะสมกับข้อจำกัดของร่างกาย
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
ผู้สูงอายุจะมีความสุขในการทํากิจกรรมต่างๆได้ ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและแบบแผนการดําเนินชีวิตที่มีมาในอดีต
ที่แต่ละคนเคยปฏิบัติมาก่อน และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากความพึงพอใจในชีวิตต่อการมีบทบาทในกิจกรรมนั้น ๆ
ควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการตัดสินใจที่จะเลือก เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจและไม่ขัดแย้งต่อความรู้สึกภายในผู้สูงอาย
การประยุกต์ใช้
การดำเนินงานในชมรมผู้สูงอายุ ควรประเมินบุคลิกภาพในอดีตของสมาชิกชมรม
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุที่มีนิสัยรักสนุกมีความกระตือรือร้นในสังคม เข้าร่วมกิจกรรมในสังคม
และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีนิสัยแยกตัว ได้ทำกิจกรรมตามลำพัง
แนวคิดพัฒนกิจชีวิตของอิริคสัน
(Erikson,s Developmental Tasks)
พัฒนกิจที่สําคัญในวัยผู้สูงอายุ ได้แก่ การปรับตัวต่อความเจ็บป่วย การสูญเสียและ
การเปลี่ยนแปลง การชื่นชมกับชีวิตในอดีต และการเตรียมตัวเองเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต
ผู้สูงอายุต้องปรับตัวต่อความสิ้นหวังให้คงไว้ซึ่งความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง ใช้ชีวิตที่เป็นอิสระมากข้ึน
หาจุดหมายใหม่ของชีวิต และทําบทบาทใหม่เพื่อดําเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความหมาย
แนวคิดที่สําคัญ คือ การเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดี อยู่บนพื้นฐานของการประสบความสําเร็จ
ในการเผชิญพันธะกิจในแต่ละขั้นตอนของชีวิต สิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติคือ การหาความหมาย
ของชีวิตเพื่อเสริม ความรู้สึกมีศักดิ์ศรี ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุยอมรับการเปลี่ยนแปลง
การประยุกต์ใช้
พยาบาลควรทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงและปัญหาที่ผู้สูงอายุเผชิญ
ในแต่ละขั้นตอนของชีวิต เพื่อให้การดูแลแบบองค์รวมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ทฤษฎีของเพค (Peck, Concept)
ขยายแนวคิดของ Erikson ให้เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการสร้างความรู้สึกมีศักดิ์ศรีในตนเองว่าผู้สูงอายุ
ควรสร้างความรู้สึกพึงพอใจในตนเองในฐานเป็นคนคนหนึ่ง ไม่ใช่จากการมีบทบาทในสังคม
ผู้สูงอายุควรหาความสุขทางใจมากกว่า หมกมุ่นกับความจํากัดของร่างกายที่เกิดขึ้นจากความสูงอายุ
และควรมองหรือสะท้อนคิดถึงอดีตที่ประสบความสําเร็จอย่างชื่นชมแทนการมองระยะเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิต
การประยุกต์ใช้
การชี้แนะให้ผู้สูงอายุมองอดีตของตนเองอย่างชื่นชมแทนการมองอนาคตที่เหลืออยู่อย่างเป็นสุข
นางสาวภัชราภรณ์ หนูรอด ชั้นปี 2 รุ่น 37
เลขที่ 65 รหัสนักศึกษา 62111301067