Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ, นางสาวอารยา ชูระเชตุ เลขที่ 107…
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงร่างกายผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายนอก
การศึกษา
เศรษฐกิจ เช่น ผู้ที่มีรายได้เป็นของตนเองเงินเดือน ดอกเบี้ย บํานาญ ฯลฯย่อมสามารถเลือกอาหารที่ดีมีคุณภาพย่อมสามารถเลือกอาหารที่ดีมีคุณภาพมากกว่าผู้สูงอายุที่มีข้อจํากัดเรื่องค่าใช้จ่าย
สิ่งแวดล้อม ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เสียงดังก็จะทําให้ผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องการได้ยิน หรือ มลพิษทางอากาศ ทําให้ผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
การเกษียณงาน
ปัจจัยภายใน
กรรมพันธุ์
สุขภาพอนามัย (คนที่แข็งแรงจะสามารถ
ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี ย้อมมีสุขภาพดี)
การมองโลก ประสบการณ์ชีวิต (คนที่คิดบวก ก็จะทําให้มีกําลังใจที่จะดูแลสุขภาพ หรือคนที่เตรียมตัววางแผนก่อนเกษียณ)
ความเชื่อ คนที่มีความเชื่อว่าความสูงอายุคือความภาคภูมิใจ เป็นที่เคารพย่อมดูแลตนเองและแสวงหาความรู้เพื่อทําให้มีสุขภาพดี ชะลอความเสื่อมในร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาในผู้สูงอายุ
ระบบผิวหนัง (Integumentary System)
ผู้สูงอายุเกิดแผลกดทับได้ง่ายและทนต่อความเย็นได้น้อยลง
การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเลวลงทําให้เกิดลมแดด (heat stroke) ต่อมไขมันทํางาน ลดลงทําให้ผิวหนังแห้งคันและแตกง่าย
ทําให้ผมและขนทั่วไปสีจางลงกลายเป็นสีเทาหรือขาว เส้นผมร่วงแห้งง่าย เนื่องจากการไหลเวียนเลือดบริเวณหนังศีรษะลดลง เส้นผมได้รับอาหารไม่เพียงพอ
ปัญหาการได้ยินลดลง หูตึง (Presbycusis)
เซลล์สมองและเซลล์ประสาทมีจํานวนลดลง
เป็นเหตุให้ความไวและความรู้สึกตอบสนองต่อปฏิกิริยาต่าง ๆ ลดลง
ความจําเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องราวใหม่ ๆ (recent memory)
การมองเห็น
การมองเห็นในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ดี โดยเฉพาะในสถานที่มืดหรือในเวลากลางคืน โดยทั่วไปผู้สูงอายุสามารถแยกสีแดง สีส้มและสีเหลือง ได้ดีกว่าสีน้ําเงิน สีม่วง และเขียว
แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง
สาเหตุเกิดมาจากร่างกายขาดการ
ออกกําลังกาย นอนกลางวันมากเกินไป มีความวิตกกังวลสูงขึ้น
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal system)
แคลเซียมที่สลายออกจากกระดูกมักจะไปเกาะบริเวณกระดูกอ่อนในอวัยวะต่าง ๆ
ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยลง การหายใจลําบากขึ้น ต้องอาศัยการทํางานของกระบังลมมากขึ้น
กระดูกผู้สูงอายุจึงเปราะและหักง่ายแม้
ไม่ได้รับอุบัติเหต
หลังอายุ 40ปี อัตราการเสื่อมของกระดูกมากกว่าอัตราการสร้าง เซลล์กระดูกลดลงแคลเซียมมีการสลายออกจากกระดูกมากขึ้น
ความยาวของกระดูกลดลงเพราะหมอนรองกระดูกสูญเสียน้ําและบางลง
กระดูกหลังผุมากขึ้น ทําให้หลังค่อม (kphosis)หรือหลังเอียง (scoliosis)
มากขึ้น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System)
ภาวะความดันโลหิตต่ําเมื่อเปลี่ยนท่าทาง (postural hypotention
มีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมมากขึ้น ผนังหลอดเลือดฝอยหนาขึ้น ทําให้การแลกเปลี่ยนอาหารและของเสียลดลง ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง เพราะมีเส้นใยคอลลาเจนมากขึ้นและมีการเชื่อมกันตามขวางของเส้นใยคอลลาเจน
เกิดรอยฟกช้ําได้ง่าย
ระบบภูมิคุ้มกันทํางานลดลง ทําให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory System)
จํานวนถุงลมปอดลด ผนังถุงลมแตกง่าย เกิดถุงลมโป่งพองได้ง่าย
ปอดยืดขยายและหดตัวได้น้อยลง
การทํางานของฝาปิดกล่องเสียงเลวลง เป็นเหตุทําให้เกิดการสําลักและเกิดโรคปอดบวมได้ง่ายขั้น
ระบบทางเดินอาหาร (Digestive System)
การรับรสของลิ้นเสียไปทําให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร
ต่อมน้ําลายเสื่อมหน้าที่ทําให้การ่อยแป้งและน้ําตาลในปากลดลง
กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารหย่อนตัวลงและทํางานช้าลงอาหารให้กระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารทําให้รู้สึกแสบยอดอก
บางครั้งมีการสูดสําลักเข้าสู่หลอดลมทําให้เกิดโรคปอดบวมได
อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารยาวนานขึ้น ทําให้รู้สึกหิวลดลง
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะhypothyroidism
ตับอ่อนหลั่งอินสุลินลดลงและช้า
ต่อมเพศทํางานลดลง จึงเป็นผลทําให้ไม่มีประจําเดือน ขนบริเวณรักแร้
และหัวเหน่าลดลง
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ (Genitourinary System)
ความเสื่อมหน้าที่ของไตโดยเฉพาะ
ความสามารถในการควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะ ผู้สูงอายุจึงมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ํา
ไต ขับของเสียออกจากร่างกายได้ลดลง
เซลล์กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลงความสามารถในการหดตัวส่งผลให้มีปัสสาวะ
ค้างหลังการถ่ายปัสสาวะทําให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
โรคในระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ไตวาย
โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ปัญหา สาเหตุและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุ
อุบัติเหตุ แผลบริเวณผิวหนัง
หลีกเลี่ยงการประคบร้อนหรือเย็นจัดเกินไป
จัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบ แสงสว่างเพียงพอ
ภายในบ้านควรมีราวยึดเกาะโดยเฉพาะห้องน้ํา
ภาวะเบื่ออาหาร ขาดสารอาหาร โลหิตจาง
เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสูงครบทั้ง 5 หมู่
รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ครั้ง
รับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นรับประทานอาหารที่มี
ธาตุเหล็กสูง
ตรวจฟันทุก 6 เดือน
กระดูกเปราะและหักง่าย ปวดข้อ
ออกกลังกายในสถานที่ที่มีแสงแดดอ่อน ๆ
อย่างสม่ําเสมอ บริหารข้อมากขึ้น
งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
หลีกเลี่ยง
ท่านั่งยอง ๆ พับเพียบ ขัดสมาธิ
กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง สมองขาดเลือด
หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ
งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา
ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ
งดอาหารที่มีไขมันสูง
พักผ่อนเพียงพอ
หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ตื่นเต้น ตกใจวัดความดันโลหิตเสมอ
.การติดเชื้อในทางเดินหายใจและการสําลัก ถุงลมโป่งพอง หายใจ
ลําบากเหนื่อยง่าย
รับประทานอาหารช้า ๆ หลีกเลี่ยงการพูดขณะรับประทานอาหาร
บริหารการหายใจมากขึ้น
มีการไอที่ถูกวิธี
ดื่มน้ํามาก ๆ
แนะนําการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ
เบาหวาน
รับประทานอาหารแป้งและน้ําตาลลดลง
สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ถ่ายปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ํามาก
ท้องผูก
ห้ามกลั้นอุจจาระ หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ
ดื่มน้ํามากขึ้น
รับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น
หลีกเลี่ยงการใช้ยาถ่ายหรือยาระบายเมื่อจําเป็น
ปัญหา สาเหตุและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถ่ายปัสสาวะลําบาก และถ่ายบ่อย
บริหารกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดโดยการขมิบก้นบ่อย ๆ
สังเกตอาการถ่ายปัสสาวะลําบากถ้ามีอาการมากขึ้น รีบปรึกษาแพทย์
ตรวจต่อมลูกหมากทุกปี
ต้อกระจก
ตรวจตาปีละ 1 ครั้ง
สังเกตอาการตามัว ถ้ามีอาการมากขึ้น ปรึกษาแพทย์เพื่อลอกต้อออก
.การนอนไม่หลับ
จัดสถานที่ให้เงียบสงบ
งดดื่มชา กาแฟ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ําก่อนนอน
หูตึง
ตรวจหูปีละ 1 ครั้ง
สังเกตอาการหูตึง ถ้าพบความผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์
แนะนําการใช้เครื่องช่วยฟัง
ผิวแห้งแตกง่ายเหี่ยวย่น
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด
หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ ถ้าจําเป็นให้ใช้สบู่อ่อน ๆ
ทาผิวหนังด้วยโลชั่น
ความไม่สมดุลของน้ําในร่างกาย
แนะนําให้ดื่มน้ําอย่างเพียงพอ
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อนเพื่อป้องกัน
การสูญเสียน้ําออกจากร่างกาย
การติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์ เจ็บขณะร่วมเพศ
แนะนําการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์
ใช้สารหล่อลื่นขณะร่วมเพศ
หนาวเย็น
ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ในวันที่มีอากาศหนาวเย็น
นางสาวอารยา ชูระเชตุ เลขที่ 107 รหัสนักศึกษา 62111301110