Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุ, นางสาว บุศกร ชุ่มจิตร 62111301044 - Coggle Diagram
ทฤษฎีความสูงอายุ
ทฤษฎีทางชีวภาพ Biological Theories
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ Free radical Theory
ความสูงอายุเกิด จากการสะสมสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับ การได้รับการกระตุ้นจากความร้อน แสง และรังสี ก่อให้เกิดสารที่ เรียกว่า อนุมูลอิสระ
เมื่อมีอนุมูลอิสระจะเข้าทําลายโปรตีน เอ็นไซด์ และ DNA ส่งผลให้อวัยวะมีความเสื่อมลง ร่างกายทําหน้าที่ลดลง
ทฤษฎีจํากัดพลังงาน (Caloric Restriction or Metabolic Theory)
เชื่อว่าการจํากัด พลังงานในอาหารที่รับประทานจะช่วยชะลอกระบวนการเผาผลาญใน ร่างกายให้ช้าลงโดยเฉพาะไขมัน
ทฤษฎีสะสม(Accumulation Theory)
ทฤษฏีนี้เกิดจาก สารไลโปฟัสซิน (Lipofuscin) เป็นสารสีเหลืองที่ประกอบด้วยไขมันและ โปรตีน พบในเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ตับและเส้นประสาท สารนี้เป็น ผลผลิตของการเผาผลาญไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเชื่อว่าสารไลโปฟัสซินมีผลเสีย ต่อร่างกายจะมีผลต่อการกระจายและการขนส่งสารที่จําเป็นในร่างกาย
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross - Linking Theory) หรือทฤษฎีคอลลาเจน (Collagen Theory )
ทฤษฏีเชื่อว่าความสูงอายุว่า เมื่อมีอายุมากขึ้นโปรตีนบางตัวจะเปลี่ยนแปลงลักษณะไขว้ขวางกันและ อาจจะขัดขวางกระบวนการเผาผลาญในร่างกายโดยอุดกั้นทางเดินระหว่าง ภายนอกกับภายในเซลล์ของสารอาหารและของเสียที่เกิดขึ้น หน้าที่การ ทํางานจึงลดลง
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
ทฤษฎีนี้ได้เปรียบเทียบคนคล้ายกับเครื่องจักร คือเมื่อมีการใช้งานมาก ๆ ใช้งานอวัยวะเป็นเวลานาน หรือใช้อย่างหักโหมสะสม มาเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น จึงเกิดการตายของเซลล์เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะทํางานเสื่อมลง
ทฤษฎีพันธุกรรม (Genetic Theory)
ความสูงอายุถูกควบคุมด้วยพันธุกรรม อายุขัยของมนุษย์ถูก โปรแกรมก่อนเกิดกําหนดไว้โดยเริ่มจากยีนในDNAถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ให้ลูกหลาน
ทฤษฎีระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อและภูมิคุ้มกัน (Neuroendocrine-Immunologic Theory)
ความสูงอายุเป็นผลร่วมกันของการเปลี่ยนแปลงระบบประสาท/ ต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกันที่ทําหน้าที่ลดลง หรือแตกต่างจากเดิม ระบบภูมิคุ้มกันแบบ humoral immunity เกิดจากการทํางานของ B cell ร่างกายสร้างantibody ต่อต้าน antigen ที่จําเพาะ
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (Phychosocial theory)
ทฤษฎีการถดถอย (Disengagement Theory)
เชื่อว่าความสูงอายุเป็น กระบวนการถดถอยออกจาก. การดําเนินชีวิตในสังคมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ลดลง การเปิดโอกาสให้บุคคลรุ่นใหม่เข้ามาทําหน้าที่แทน โดยเป็นความพึงพอใจ ทั้งตัวผู้สูงอายุแลคนรุ่นใหม่
ทฤษฎีการมีกิจกรรม(Activity theory)
ทฤษฎีนี้ส่งเสริม การทํากิจกรรมต่อไป ไม่ยอมรับการเป็นผู้สูงอายุเร็วเกินไป เมื่อผู้สูงอายุ เกิดการสูญเสียบทบาทที่เคยทําอยู่ บทบาทใหม่หรือบทบาทที่แตกต่าง ออกไป รวมทั้งความสนใจใหม่ๆ ควรเข้ามาแทนที่
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
เชื่อว่าบุคลิกภาพและ รูปแบบพฤติกรรมไม่เปลี่ยนแปลงไปเมื่ออายุมากขึ้น คนเราพยายามรักษา ทุกอย่างให้เหมือนเดิมมากที่สุด คงไว้ซึ่งบุคลิกภาพเดิม ๆ เพื่อรักษาความ มั่นคงให้กับชีวิต
แนวคิดพัฒนกิจชีวิตของอิริคสัน (Erikson,s Developmental Tasks)
แนวคิดที่สำคัญ การเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดี อยู่บนพื้นฐานของ การประสบความสําเร็จในการเผชิญพันธะกิจในแต่ละขั้นตอนของชีวิต สิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติคือ การหาความหมายของชีวิตเพื่อเสริม ความรู้สึกมีศักดิ์ศรี ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีของเพค (Peck, Concept)
ขยายแนวคิดของ Erikson ให้เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการสร้างความรู้สึกมีศักดิ์ศรีใน ตนเองว่าผู้สูงอายุควรสร้างความรู้สึกพึงพอใจในตนเองในฐานเป็น คนคนหนึ่ง ไม่ใช่จากการมีบทบาทในสังคม ผู้สูงอายุควรหาความสุข ทางใจมากกว่า หมกมุ่นกับความจํากัดของร่างกายที่เกิดขึ้นจากความสูงอายุ
นางสาว บุศกร ชุ่มจิตร 62111301044