Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ, นางสาว บุศกร ชุ่มจิตร 62111301044 - Coggle…
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ระบบผิวหนัง
ผิวหนังบางลง ความเหนียวของผิวหนังเพิ่มมากขึ้นเซลล์ผิวหนังมีจํานวนลดลง
เซลล์ที่เหลือเจริญช้าลงอัตราการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เดิม ลดลงทําให้การหายของแผลช้าลง
ความยืดหยุ่นของผิวหนังไม่ดี ผิวหนังเหี่ยว น้ำและไขมันใต้ผิวหนังลดลง
การไหลเวียนที่ผิวหนังลดลง จึงเกิดแผลกดทับได้ง่าย ทนต่อความเย็นได้น้อย
ต่อมเหงื่อมีจำนวนลดลง การระบายความร้อนจึงไม่ดี ผมและขนมีจำนวนลดลง
การได้ยินและการสื่อสาร
ปัญหาการได้ยินลดลงหูตึง (Presbycusis) สาเหตุมาจากมีการเสื่อมของ organ of Corti และ basilar membrane ร่วมกับเส้นประสาทคู่ที่ 8 (auditoty nerve) เยื่อแก้วหูและอวัยวะในหูชั้นกลางแข็งตัวมากขึ้น ทําให้มี ความบกพร่องการได้ยินระดับเสียงสูงมากกว่าระดับเสียงต่ำ
การสื่อสาร ไม่ควรตะโกน ควรพูดด้วยเสียงทุ้มสุภาพ พูดช้าๆ ชัดเจน ควรใช้คำที่มีหลายพยางค์ พูดต่อหน้าผู้สูงอายุห่างไม่เกิน 3ฟุต เพื่อให้ผู้สูงอายุอ่านปากได้
การมองเห็น
ลูกตามีขนาดเล็กลงและลึกเพราะไขมันของลูกตาลดลง หนังตามีความยืดหยุ่นลดลง ทําให้หนังตาตก รูม่านตาเล็กลง
ปฏิกิริยาตอบสนองของม่านตาต่อแสงลดลง ทําให้การปรับตัวสําหรับการมองเห็นในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ดี โดยเฉพาะในสถานทื่มืดดหรือในเวลากลางคืน
ผู้สูงอายุสามารถแยกสีแดง สีส้ม และสีเหลือง ได้ดีกว่าสีน้ําเงิน สีม่วง และเขียว
สมอง
เซลล์สมองและเซลล์ประสาทมีจํานวนลดลง ขนาดของสมองลดลง ประสิทธิภาพของการทํางานของสมองและประสาทอัตโนมัติลดลง เป็นเหตุให้ความไวและความรู้สึก ตอบสนองต่อปฏิกิริยาต่าง ๆ ลดลง
ความจําเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องราวใหม่ๆ (recent memory) เพราะ ความสามารถในการเก็บข้อมูลลดลง จําเรื่องราวเก่า ๆ ในอดีต (remote memory) ได้ดี
แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง สาเหตุเกิดมาจากร่างกายขาดการออกกําลังกาย นอนกลางวันมากเกินไป มีความวิตกกังวลสูงขึ้น
กล้ามเนื้อและกระดูก
หลังอายุ 40 ปี อัตราการเสื่อมของกระดูกมากกว่าอัตราการสร้าง เซลล์กระดูกลดลง แคลเซียมมีการสลายออกจากกระดูกมากขึ้น เนื่องจากแคลเซียมถูกดูดซึม จากลําไส้น้อยลง และมีการสูญเสียแคลเซียมมากขึ้นทั้งทางลําไส้และทาง ไตเพราะขาดวิตามินดี
การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้หญิง ฮอร์โมนนี้ออก ฤทธิ์กระตุ้นการทํางานของ osteoblasts ลดลงหลังหมดประจําเดือนทําให้ แคลเซียมสลายออกจากกระดูก กระดูกผู้สูงอายุจึงเปราะและหักง่ายแม้ไม่ได้รับอุบัติเหตุ
หัวใจและหลอดเลือด
หลอดเลือดของผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมมากขึ้น ผนังหลอด เลือดฝอยหนาขึ้น ทําให้การแลกเปลี่ยนอาหารและของเสียลดลง
ผนังหลอด เลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง เพราะมีเส้นใยคอลลาเจนมากข้ึนและมีการเชื่อม กันตามขวางของเส้นใยคอลลาเจนเหล่านั้นทําให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะความดัน โลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าทาง (postural hypotention) ได้ง่าย
ทางเดินหายใจ
ผู้สูงอายุจะมีความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง ความแข็งแรงและกําลังการหด ตัวของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจเข้าหายใจออกลดลง ปอดยืดขยายและ หดตัวได้น้อยลง
จํานวนถุงลมปอดลด ผนังถุงลมแตกง่าย เกิดถุงลมโป่งพองได้ง่าย
การทํางานของเซลล์ขน (cilia) ตลอดทางเดินหายใจลดลง รีเฟล็กซ์และประสิทธิภาพการไอลดลง จึงเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย การทํางาน ของฝาปิดกล่องเสียงเลวลง เป็นเหตุทําให้เกิดการสําลักและเกิดโรคปอดบวม ได้ง่ายขึ้น
ทางเดินอาหาร
ฟันสึกกร่อน เคลือบฟันบางลง ฟันเปราะ บิ่นง่าย ฟันผุ หลุดล่วงง่าย ต่อมน้ําลายเสื่อมหน้าที่ทําให้การย่อยแป้งและน้ําตาลในปากลดลง ปากและลิ้น แห้งมีการติดเชื้อในปากมากขึ้น การรับรสของลิ้นเสียไปทําให้เกิดภาวะเบื่อ อาหาร
เซลล์บริเวณหลอดอาหารมีการเปลี่ยนแปลงมีการยื่นโป่งพองของ หลอดอาหารทําให้การเคลื่อนไหวของหลอดอาหารลดลง หลอดอาหารมี ขนาดกว้างขึ้นกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารหย้อนตัวลงและ ทํางานช้าลงอาหารให้กระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร ทําให้รู้สึกแสบยอดอก
การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารช้าลงเนื่องจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการทํางานของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารลดลงอาหารอยู่ในกระเพาะ อาหารยาวนานขึ้น ทําให้รู้สึกหิวลดลง
ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
ไตขับของเสียออกจากร่างกายได้ลดลง เนื่องจากขนาดและจํานวนของหน่วย ไตลดลง ปริมาณเลือดที่เข้าสู่ไตลดลง และความเสื่อมหน้าที่ของไตโดยเฉพาะ ความสามารถในการควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะผู้สูงอายุจึงมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ํา
ปัสสาวะบ่อยเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลงและเซลล์กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลงความสามารถในการหดตัว ส่งผลให้มีปัสสาวะค้างหลังการถ่ายปัสสาวะ เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ผู้ชายอาจมีปัสสาวะขัด ลําปัสสาวะไม่พุ่ง เนื่องจากต่อมลูกหมากโต ผู้หญิง ก็มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นครั้งคราวเพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมธัยรอยด์มีเนื้อเยื่อพังผืดมา สะสมมากขึ้น การทํางานจึงลดลงทําให้ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะ hypothyroidism ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทําให้มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารและน้ําหนักลดลงได้
ตับอ่อนหลั่งอินสุลินลดลงและช้า ระดับน้ําตาลขณะอดอาหารคงที่ ภายใน ร่างกายตอบสนองต่ออินสุลนิ น้อยกว่าปกติ เป็นผลทําให้ระดับความทนต่อ น้ําตาล (glucose tolerance) ลดลง
ต่อมเพศทํางานลดลง จึงเป็นผลทําให้ไม่มีประจําเดือน ขนบริเวณรักแร้ และหัวเหน่าลดลง
นางสาว บุศกร ชุ่มจิตร 62111301044