Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เเนวคิดเเละหลักการให้บริการอนามัยโรงเรียน, อ้างอิง สมศักดิ์ โทจำปา.…
เเนวคิดเเละหลักการให้บริการอนามัยโรงเรียน
สุขภาพกับการศึกษา
สุขภาพ คือความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายจิตใจสังคมและจิตวิญญาณซึ่งความสมบูรณ์ของร่างกายคือการที่ร่างกายมีความแข็งแรงคล่องแคล่วไม่เป็นโรคและไม่พิการ ความสมบูรณ์ทางจิตคือการที่เรามีจิตใจที่เป็นสุข ร่าเริง มีสติความสมบูรณ์ ทางสังคมคือการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดีมีครอบครัวที่อบอุ่นชุมชนเข้มแข็งและความสมบูรณ์ ทางจิตวิญญาณเกิดขึ้นเมื่อเราทำความดีเช่นรู้จักการเสียสละ มีความเมตตากรุณาเป็นต้นสุขภาพที่ดีจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน
ความสำคัญของงานอนามัยโรงเรียน
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 กระทรวงศึกษาธิการ 2542 ระบุว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนมีหน้าที่หลักในการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณรวมถึงมีคุณธรรมจริยธรรมอันดีสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขดังนั้นการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนจึงมีความสำคัญเนื่องจาก
1 นักเรียนที่เข้ามาศึกษาในสถานศึกษานั้นมาจากหลายแหล่งและ มีความหลากหลายทางด้านสังคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมดังนั้น สถานศึกษาจึงถือว่าเป็นสังคมใหม่เป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคยทำให้นักเรียนมีโอกาสสัมผัสโรคหรือแพร่เชื้อได้ง่ายและเกิดโอกาสการได้รับเชื้อสูง
2 กลุ่มวัยเรียนเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้านทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ ร่างกายและการปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆและสิ่งแวดล้อมใหม่
3 นักเรียนมีสิทธิ์ในการได้รับการบริการด้านสุขภาพที่เท่าเทียมกัน
4 ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ด้านสุขภาพสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
5 ส่งเสริมป้องกันและเมื่อเจ็บป่วยก็ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
6 เป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างฝ่ายโรงเรียนบ้านชุมชน
ขอบเขตของงานอนามัยโรงเรียน
1 การบริหารด้านสุขภาพ health service ประกอบด้วย การตรวจสุขภาพนักเรียนการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพการจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้นการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอนามัยอื่นๆเพื่อวางแผนร่วมกันและการส่งต่อ
2การบริการด้านการศึกษาหรือสุขภาพ health education คือการที่โรงเรียนจัดกิจกรรมสุขศึกษาทั้งในหลักสูตรและผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3 ด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่ถูกสุขลักษณะ school health environment คือการจัดการควบคุมดูแลปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
4 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนบ้านและชุมชน school and home relationship คือการมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดำเนินการร่วมกับระหว่างโรงเรียนผู้ปกครองและสมาชิกของชุมชนต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน
ลักษณะของงานอนามัย
การตรวจสุขภาพของนักเรียน
1.1 การตรวจสุขภาพโดยแพทย์ควรทำปีละ 1 ครั้งโดย
1.2 การตรวจสุขภาพโดยทันตแพทย์นักเรียนควรได้รับการตรวจสุขภาพของช่องปากและฟันปีละ 1 ครั้ง
1.3 การตรวจสุขภาพโดยพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยการตรวจสุขภาพ 10 ท่า
**
2 การสอนสุขศึกษา health education
การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นสิ่งสำคัญทั้งในเรื่องของความเครียด การออกกำลังกาย การกิน การใช้แอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติด เพศสัมพันธ์ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ครอบครัว การใช้ความรุนแรงความปลอดภัยในการใช้รถ การรับรู้โทษของการสูบบุหรี่ และอนามัยสิ่งแวดล้อม การสอนสุขศึกษาอย่างต่อเนื่องสอดแทรกไปในการเรียนการสอนซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่:
1 การสอนทางตรงได้แก่การเรียนตามหลักสูตร
2 การสอนทางอ้อมได้แก่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้นอกหลักสูตร
3 อนามัยสิ่งแวดล้อมหรือสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
งานอนามัยโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
การดำเนินงานอนามัยโรงเรียน school health program สำนักงานส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข 2553 ในอดีตเด่น 4 เรื่องหลัก คือสุขศึกษาในโรงเรียน school health education อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน school health environment บริการอนามัยโรงเรียน school health service และความสัมพันธ์ระหว่างบ้านโรงเรียน home / school relationship ต่อมามีการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนจากข้อเสนอแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยเริ่มดำเนินการกลยุทธ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโดยกำหนดเป้าหมายถ่ายทอดและแนวคิดพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต้นแบบจังหวัดละ 1 โรงเรียนมีโรงเรียนต้นแบบของจังหวัดศูนย์อนามัยและส่วนกลางรวมกับ 89 โรงเรียนแล้วจะทำคู่มือแนวทางการดำเนินงาน
พ.ศ 2543 มีการจัดทำเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้านกระบวนการ 5 องค์ประกอบคือ
1 นโยบายด้านสุขภาพ
2 คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
3 การค้นหาและกำหนดปัญหาสุขภาพ
4 แผนงานโครงการด้านส่งเสริมสุขภาพ
5 การดำเนินงานตามแผนและการติดตามผล
อ้างอิง
สมศักดิ์ โทจำปา. (2562). อนามัยโรงเรียน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.