Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การเปลี่ยนแปลงของด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์…
บทที่ 4
การเปลี่ยนแปลงของด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณผู้สูงอายุ
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
มวลกระดูกและแคลเซียมลดลง
ทำให้กระดูกบางและหักง่าย เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกสันหลังมีความโค้งมาก
น้ำในหมอนรองกระดูกลดลง
ทำให้ความสูงลดลง หมอนรองกระดูกสันหลังมีน้ำเป็นองค์ประกอบลดลง และ บางลง
จำนวนเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อลดลง
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อลีบ การลดลงของจำนวนและขนาดของกล้ามเนื้อ
ความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อลดลง
การเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นเอ็นยึดข้อเอ็นและกล้ามเนื้อลดลง ทำให้มีเสียงกรอบแกรบเมื่อขยับข้อเกิดจากกระดูกอ่อนหุ้มปลายข้อ
มวลกล้ามเนื้อลดลง
ทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา ทำให้กำลังในการเดิน การทรงตัว ความแข็งแรง ลดลง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการลดลงของแรงบีบตัวกล้ามเนื้อหัวใจ
มีการลดลงของเลือดที่หัวใจบีบตัวข่นส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
เกิดภาวะหัวใจโต/หัวใจห้องล่างซ้ายยืดขยาย
การยืดขยายเป็นเวลานานทำให้เกิดการเสื่อม แรงบีบไม่มีประสิทธิภาพ
ปริมาณเลือดในการบีบตัวของหัวใจแต่ละครั้งลดลง
เพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว การไหลเวียนที่ส่วนปลายลดลง
มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดลดลง
เลือดไหลกลับเข้าหัวใจลดลง เกิดภาวะความดันโลหิต ขณะเปลี่ยนท่าได้มากขึ้น เกิดภาวะหลอดเลือดขอดและริดสีดวงได้ง่าย
เซลล์กำเนิดไฟฟ้าของหัวใจลดลง
อัตราของหัวใจอยู่ในช่วง40-100/นาที เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้บ่อย เกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติได้บ่อยขึ้น
ความไวในการรับรู้สัญญาณประสาทหัวใจต่างๆช้าลง
เกิดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตมากขึ้น
มีการเพิ่มขึ้นของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบแข็ง
ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรส่วนปลายเบาลง
ระบบผิวหนัง
เลือดไปเลี้ยงบริเวณผิวหนังลดลง
การทำงานชั้นใต้ผิวหนังและต่อมเหงื่อทำงานลดลง
ผิวหนังแห้ง เหงื่อออกน้อย ความสามารถในการปรับตัวต่ออุณหภูมิลดลง เนื่องจากการลดลงของจำนวนและขนาดของต่อมเหงื่อ
ไขมันชั้นใต้ผิวหนังลดลง
มีริ้วรอยเพิ่มขึ้น ผิวหนังแห้งคัน เนื่องจากต่อมไขมันที่ผิวหนังเสื่อมลดลง
ความหนาของชั้นผิวหนังด้านนอกลดลง
มีความไวต่อการบาดเจ็บ การหายของบาดแผลลดลงใช้เวลานานในการหายของบาดแผล
หลอดเลือดฝอยเปราะบางง่ายเพิ่มขึ้น
มีรอยช้ำออกสีม่วงเพิ่มขึ้นเกิดรอยฟกช้ำได้ง่าย
ระบบหายใจ
ปริมาณน้ำในร่างกายลดลง
ผนังเยื่อบุ มีความชุ่มชื่นและยืดหยุ่นลดลง
cilia(เซลล์ผิวเปลือกที่ยื่นออกมานอกซลล์ทำหน้าที่พัดโบก)มีจำนวนลดลง
ความสามารถในการดักจับ เชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมลดลง
จำนวนเม็ดเลือดขาวที่ดักจับเชื้อโรคลดลง(macrophages)
เสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน/ยืดหยุ่น ที่ถุงลมและชายปอดส่วนล่างลดจำนวนลง
การแลกเปลี่ยนอากาศลดลง เพิ่มการเกาะติดของเสมหะและสารคัดหลั่ง
มีการลดลงของกำลังกล้ามเนื้อและความทนทาน
ความสามารถในการหายใจลดลง และแรงไอในการขับเสมหะลดลง
ปริมาณหลอดเลือดฝอยลดลง
การแลกเปลี่ยนก๊าซและอากาศลดลง
มีการเกาะของหินปูนเพิ่มมากขึ้นตามกระดูกอ่อน
ความจุปอดลดลง มีการเพิ่มขึ้นของการแข็งเกร็งของกระดูกซี่โครง
ระบบทางเดินปัสสาวะ
การทำงานของ nephrons มีจำนวนลดลง
การกรองที่ไตลดลงร้อยละ 40-45 มีการกำจัดของเสียลดลง
มีการลดลงของ blood supply
มีการกำจัดของเสียในร่างกายลดลง มีการเพิ่มขึ้นของปัสสาวะเพิ่มขึ้น
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะลดลง(มีการบีบตัวลดลง)
มีการคั่งของปัสสาวะ ทำให้ผู้สูงอายุต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ขนาดของกระเพาะปัสสาวะลดลง
ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลงจาก 500 ml เหลือ 200-300 ml
มีการรับรู้ความต้องการถ่ายปัสสาวะล่าช้า หรือลดลง
มีปัสสาวะรดหรือราด ไม่สามารถควบคุมได้
มีการเพิ่มขนาดของต่อมลูกหมาก(ในเพศชาย)
ต่อมลูกหมากโตไปกดเบียดท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะลำบากปัสสาวะบ่อย
ระบบทางเดินอาหาร
มีฟันผุและฟันหลุดเพิ่มขึ้น
ความสามารถในการเคี้ยวลดลง สถานะทางโภชนาการลดลง
มีการลดลงของการรับรู้การกระหาย
เสี่ยงต่อการเกิดอาการขาดน้ำและท้องผูก
ปฏิกิริยาขย้อนลดลง
เกิดการสำลักเพิ่มขึ้น
ความตึงของกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
เกิดภาวะกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้น
การหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารและการหลั่งน้ำลายลดลง
การย่อยและการดูดซึมสารอาหารลดลง
การเคลื่อนไหวแบบ peristalsis ของกระเพาะอาหารลดลง
ท้องอืด ท้องผูก ลำไส้อุดตันเพิ่มขึ้น
การผลิตเอนไซม์และขนาดของตับลดลง
กำจัดยาลดลงนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเป็นพิษของตับ
ระบบประสาท
มีการลดจำนวนของเซลล์สมอง
รีเฟล็กลดลง การประสานงานลดลง ได้รับการกระตุ้นภานในเนื้อเยื่อของร่างกายลดลง
มีการลดปริมาณของตัวรับระบบประสาท
ตัวรับรู้การกระตุ้นลดลง
มีการลดลงของการทำหน้าที่ของระบบประสาทส่วนปลาย
การตอบสนองการเคลื่อนไหวลดลง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการชาที่เกิดจากการขาดเลือดของส่วนรยางค์