Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มงคลสูตรคําฉันท์ - Coggle Diagram
มงคลสูตรคําฉันท์
-
ผู้เเต่ง
-
-
ความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิดคือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
คุณค่า
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
เนื้อความในมงคลสูตรคำฉันท์แม้จะมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีและคำศัพท์ในทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอันมาก แต่ก็เป็นคำที่เข้าใจความหมายได้ไม่ยากเช่น โสตถิ ภควันต์ อภิบูชนีย์ชนนอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัวยังทรงสามารถถ่ายทอดและเรียบเรียงเนื้อความเป็นภาษาไทยได้อย่างเรียบง่ายและทรงเลือกสรรถ้อยคำได้สอดคล้องกับลีลาจังหวะของบทประพันธ์
คุณค่าด้านสังคม
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีที่มาจาก มงคลสูตร ซึ่งเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคนโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน มงคลสูตร ๓๘ ประการทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
คุณค่าด้านเนื้อหา
มงคลสูตรคำฉันท์เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา ว่าด้วยเรื่องของ มงคล๓๘ ประการ ซึ่งเป็นคำสอนที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้โดยเน้นที่การปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นลำดับจากง่ายไปยากและถ้าหากปฏิบัติได้แล้วจะทำให้ชีวิตมีความก้าวหน้าและผาสุกและสอนให้เรารู้จักการคบคน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้ นอกจากตัวเราเอง
-
เรื่องย่อ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการ ไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม คือ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล ๓๘ ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้ง หนึ่ง
บทอาขยาน
หนึ่งคือบคบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
ความอยู่ประเทศซึ่ง เหมาะและควรจะสุขี
อีกบุญการที่ ณ อดีตมาดล
อีกหมั่นประพฤติควร ณ สภาวะแห่งตน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
ความได้สดับมาก และกำหนดสุวาที
อีกศิลปศาสตร์มี จะประกอบมนุญการ
อีกหนึ่งวินัยอัน นรเรียนและเชี่ยวชาญ
อีกคำเพราะบรรสาน ฤดิแห่งประชาชน
ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
บำรุงบิดามา ตุรด้วยหทัยปรีย์
หากลูกและเมียมี ก็ถนอมประหนึ่งตน
การงานกระทำไป บมิยุ่งและสับสน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
-