Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน upper gastrointestinal bleeding หรือ UGIB…
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน upper gastrointestinal bleeding หรือ UGIB
พยาธิสภาพ
ผู้ป่วย Duodenal ulcer ร้อยละ 30-50 มีการหลั่งกรดมากกว่าหรือนานกว่าคนปกติพบว่าบางรายที่มี Gastric emptying เร็วกว่าปกติซึ่งจะทำให้ Duodenum neutralize กรดจากกระเพาะอาหารไม่ทันทำให้มีแผลเกิดขึ้นเมื่อมีกรดสูงเกินความต้านทานของ Mucosa และเซลล์ข้างเคียงไม่สามารถซ่อมแซมความเสียหายได้ทัน Duodenal ulcer มักเป็นแผลเรื้อรังคือลึกเลยชั้น Submucosa และมี Fibrosis ร่วมกับผนังเส้นเลือดแดงอักเสบรอบ ๆ แผลประมาณร้อยละ 95 ของ Duodenal ulcer เป็นบริเวณ Bulb ส่วนที่เหลือเป็น Postbulbar ulcer แผลที่อยู่ด้านหลังอาจเกิดเลือดออกได้รุนแรงเพราะมีเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่ที่กันแผลถ้าเป็นเรื้อรังมากแผลอาจลามทะลุผนังของ Duodenum ไปถึง Retroperitoneum ซึ่งแผลที่ทะลุเข้าช่องท้องมักจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านบนของ Duodenum และแผลที่มีลักษณะของ scar มากอาจทำให้เกิดการตีบตัน 3
สาเหตุ
โรคทางเดินอาหารส่วนบนเช่นโรคกระเพาะและโรคลำไส้อักเสบ
จากแผลเปนติก (peptic ulcer) สาเหตุหลักของ peptic ulcer คือ
Helicobacter pylori infection และการรับประทานยาแก้ปวดใน
กลุ่ม nonsteroid anti-inflammatory drug (NSAIDs) รวมทั้ง
aspirin แผลที่เกิดจากความเครียดแผลจากการดื่มสุราหลอดเลือด
โป่งพองที่หลอดอาหาร
โรคที่อวัยวะข้างเคียงเช่นโรคทางเดินน้ำดีทำให้เกิดเลือดออกในทางเดินน้ำดี (hemobilia)
โรคทางร่างกายทั่วไปเช่นการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
พยาธิสรีรวิทยา
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนเกิดจากทางเดินอาหารอักเสบหรือเป็นแผลตามปกติทางเดินอาหารจะมี mucosal barrier เพื่อป้องกันการย่อยตัวเอง (acid autodigestion) เมื่อมีการหลั่งกรดโดยมี prostaglandin เป็นตัวช่วยป้องกัน แต่ถ้ากลไกการป้องกันล้มเหลวหรือขาดความสมดุลจะทำให้ทางเดินอาหารอักเสบมีการทำลายของ mucosa ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นเลือดเล็ก ๆ (sumall vessels) ทำให้เกิดเลือดออก 1 เลือดที่ออกมาจะทำปฏิกิริยากับน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจึงทำให้เลือดเป็นสีดำผู้ป่วยมักมาด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดสดหรือเลือดเก่าและถ่ายดำ
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ปวดท้อง
ในระยะแรกมีความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ
อาจมีอาเจียนเป็นเลือดสดหรือเลือดเก่าและถ่าย
อุจจาระดำและมีอาการปวดศีรษะกระหายน้ำเหงื่อออก
ใจสั่นกระวนกระวายความดันโลหิตต่ำชีพจรเบาเร็ว
อาการอื่น ๆ เช่นมีไข้อาจเกิดภายใน 24 ชั่วโมงในผู้สูงอายุอาจเกิด myocardial infarction
การตรวจวินิจฉัย
การใส่สายสวนล้างกระเพาะเพื่อดูลักษณะของ gastric content สามารถบอกความรุนแรงของภาวะเลือดออกได้และเพื่อทำกระเพาะ
อาหารให้ว่างเตรียมพร้อมสำหรับการส่องกล้องทางเดินอาหาร
การตรวจร่างกายควรให้ความสำคัญกับอาการแสดงของภาวะ hypovolemia ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำชีพจรเร็วและ orthostatic hypotension การตรวจหาอาการแสดงของ chronic liver disease เช่น spider nevi, angiomata, palmmar erythema การตรวจหน้าท้องควรตรวจหา surgical scar, point of tenderness และการตรวจหาก้อนในท้อง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญคือ hematocrit (HCT), hemoglobin (Hb), blood urea nitrogen (BUN) และ creatinine (Cr) ในเลือดช่วยประเมินการสูญเสียเลือดการตรวจ prothrombin time (PT), partial thromboplastin (PTT), International normalized ratio INR) เพื่อดูความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด liver function test (LFT) เพื่อดูความผิดปกติของตับช่วยบอกภาวะตับแข็ง stool occult blood จะพบเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ
การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาตำแหน่งของจุดเลือดออก ได้แก่ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (esophagogastroduodenoscopy) และการทำ barium enema
ซักประวัติถึงโรคหรืออาการต่างๆประวัติการใช้ยาแก้ปวด nonsteroid anti-inflammatory drug (NSAIDs) รวมทั้ง aspirin
การรักษา
การให้ยา ได้แก่ ยาลดการหลั่งกรดเช่นกลุ่ม H2 receptor antagonist (H2 RA) กลุ่ม Proton Pump Inhibitors (PPI) ยา Splanchnic vasoconstrictors ใช้เพื่อลด portal venous flow ยาระงับประสาทยาประเภท Anticholinergic
การผ่าตัดในกรณีฉุกเฉินเลือดออกไม่หยุด
การรักษาหรือแก้ไขภาวะช็อกโดยให้เลือดหรือส่วนประกอบของ
เลือดและสารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่ลดลง
แก้ไขภาวะขาดสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย :
อาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดกาแฟน้ำอัดลมยาแก้ปวด nonsteroid anti-inflammatory drug (NSAIDs) และยาประเภทสเตียรอยด์
การพักผ่อนควรพักผ่อนทั้งด้านร่างกายและจิตใจจะทำให้ผู้ป่วย
หายป่วยเร็วขึ้น