Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุประกอบไปด้วย 2 ทฤษฎีดังนี้ - Coggle Diagram
ทฤษฎีความสูงอายุประกอบไปด้วย 2 ทฤษฎีดังนี้
1.ทฤษฎีทางชีวภาพ (Biological Theories)เป็นทฤษฎีที่อธิบายความชราทางชีววิทยาซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบไปด้วยทฤษฎีดังต่อไปนี้
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radical Theory) อธิบายว่า
ความสูงอายุเกิดจากการสะสมสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับ การได้รับการกระตุ้นจากความร้อน แสง และรังสี ก่อให้เกิดสารที่เรียกว่า อนุมูลอิสระ
เป็นโมเลกุลที่ขาดออกซิเจนที่ขาดอิเล็กตรอนไปหนึ่ง
ตัว มีผลให้โมเลกุลออกซิเจนนั้นมีประจุเป็นลบ
มีความไวต่อการเกิดปฏิกิริยาอิเล็กตรอนสูง
แนวคิดใหม่ที่สอดคล้องกับทฤษฎีอนุมูลอิสระคือ ทฤษฎีจํากัดพลังงาน
(Caloric Restriction or Metabolic Theory)
การประยุกต์ใช้ทางพยาบาล
การแนะนำให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการสูบบุหรีปกป้องร่างกายจากรังสี แสงแดดใช้ครีมกันแดด รักษาภาพลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพจิตที่ดี
พยาบาลควรแนะนำให้ทานอาหารที่มีอนุมูลอิสระ เล่นอาหารที่มีวิตตามินเอ ซีและอี
ทฤษฎีสะสม (Accumulation Theory) อธิบายว่า
ทฤษฏีนี้เกิดจากสารไลโปฟิลัสซิน (Lipofuscin) เป็นสารสีเหลืองที่ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน
พบในเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ตับและเส้นประสาท
สารนี้เป็นผลผลิตของการเผาผลาญไขมันไม่อิ่มตัว
สารไลโปฟัสซินมีผลเสียต่อร่างกายจะมีผลต่อการกระจายและการขนส่งสารที่จําเป็นในร่างกาย
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross - Linking Theory) หรือทฤษฎี
คอลลาเจน (Collagen Theory ) อธิบายว่า
ทฤษฏีเชื่อว่าความสูงอายุว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นโปรตีนบางตัวจะเปลี่ยนแปลงลักษณะไขว้ขวางกันและอาจจะขัดขวางกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย
สารไขว้ขวาง เช่น
คอลลาเจน อิลาสติน และสารที่อยู่ภายในเซลล์รวมทั้งสารที่อยู่นอกเซลล์เป็นกลุ่มสารเส้นใยโปรตีนที่ประกอบเป็นโครงร่างของร่างกาย เป็นเนื้อเยื่อประคับประคองและให้ความแข็งแรงพบมากในผิวหนัง กระดูกและกล้ามเนื้อ
คอลลาเจนเกิดจากการเชื่อมตามขวางภายในเซลล์ พบเมื่ออายุมากขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อคอลลาเจนมีการเปลี่ยนแปลงทําให้มีลักษณะแข็ง แตกแห้ง สูญเสียความยืดหยุ่นมีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง เนื้อเยื่อสูญเสียความยืดหยุ่นเป็นผลให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะ เช่น
ผิวหนัง ผนังหลอดเลือด เลนซ์ในลูกตา ทําให้มีความทึบแสงมากขึ้น และกลายเป็นต่อกระจก (cataracts)
การประยุต์ใช้ทางพยาบาล
การกระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายแบบยืดเหยียด
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory) อธิบายว่า
ทฤษฎีนี้ได้เปรียบเทียบคนคล้ายกับเครื่องจักร
เมื่อมีการใช้งานมาก ๆ ใช้งานอวัยวะเป็นเวลานาน หรือใช้อย่างหักโหมสะสมมาเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น จึงเกิดการตายของเซลล์เนื้อเยื่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะทํางานเสื่อมลง
การประยุกต์ใช้ทางพยาบาล
แนะนำการชะลอความเสื่อมของร่างกายเช่น การป้องหันข้อเข่าเสื่อมด้วยการควบคุมน้ำหนักตัว การเดินลงบรรไดช้าๆ
ทฤษฎีพันธุกรรม (Genetic Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า
ความสูงอายุถูกควบคุมด้วยพันธุกรรม
อายุขัยของมนุษย์ถูกโปรแกรมก่อนเกิดกําหนดไว้โดยเริ่มจากยีนใน DNAถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ให้ลูกหลาน
ทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์สามารถคาดอายุขัยได้นั่นคือ ครอบครัวใดที่ พ่อ – แม่ – ปู่ – ย่า ตา – ยาย อายุยืน ลูกย่อมมีอายุยืนด้วย
การประยุกต์ใช้ทางพยาบาล
การป้องกันไม่ให้ร่างกายเสื่อมลงเร็วกว่ากำหนดด้วยกันกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
ทฤษฎีระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อและภูมิคุ้มกัน
(Neuroendocrine-Immunologic Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า
ความสูงอายุเป็นผลร่วมกันของการเปลี่ยนแปลงระบบประสาท/
ต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ่มกันที่ทําหน้าที่ลดลง หรือแตกต่างจากเดิม
ระบบภูมิคุ้มกันแบบ humoral immunity เกิดจากการทํางานของ B cell ร่างกายสร้าง antibody ต่อต้านantigen ที่จําเพาะ
การประยุกต์ใช้ทางพยาบาล
กระตุ้นการสร้างเสริมสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันการติดเชื้อด้วยการรักษา ฉีดวัคซีนป้องกันและการหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
2.ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (Phychosocial theory)
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและสังคมของผู้สูงอายุมักจะมีผลกระทบพร้อม ๆ กัน ซึ่งขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพสถานภาพวัฒนธรรม เจตคติ โครงสร้างครอบครัวและการมีกิจกรรมในสังคมทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
ทฤษฎีการถดถอย (Disengagement Theory)
เมื่อถึผู้สูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทและหน้าที่ของตนเองลดลงงวัยทําให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีลักษณะแยกตัวออกจากสังคมทีละน้อยหรือต้องการปล่อยวางเป็นอิสระ
เชื่อว่าความสูงอายุเป็นกระบวนการถดถอยออกจากการดําเนินชีวิตในสังคมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ลดลงการเปิดโอกาสให้บุคคลรุ่นใหม่เข้ามาทําหน้าที่แทน โดยเป็นความพึงพอใจ
ทั้งตัวผู้สูงอายุแลคนรุ่นใหม
การประยุกต์ทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีการตอบสนองต่อการเกษียณอายุการทำงานแตกต่างกัน พยาบาลควรให้การดูแลที่แตกต่างกันและมีการจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุการทำงาน
ทฤษฎีการมีกิจกรรม (Activity theory)
โดยทฤษฎีนี้ส่งเสริมการทํากิจกรรมต่อไป ไม่ยอมรับการเป็นผู้สูงอายุเร็วเกินไป
เมื่อผู้สูงอายุเกิดการสูญเสียบทบาทที่เคยทําอยู่บทบาทใหม่หรือบทบาทที่แตกต่างออกไป รวมทั้งความสนใจใหม่ๆ ควรเข้ามาแทนที่
การประยุกต์ทางการพยาบาล
สนับสนุนให้ผู้สูงอายุใช้ความสามารถที่มีอยู่ปฏิบัติกิจกรรมประจำวันด้วยตนเองให้นานที่สุด
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดนเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมต่อข้อจำกัดของร่างกาย
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)ทฤษฎีนี้อธิบายว่า
ผู้สูงอายุจะมีความสุขในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ได้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและแบบแผนการดําเนินชีวิตที่มีมาในอดีตที่แต่ละคนเคยปฏิบัติมาก่อน และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากความพึงพอใจในชีวิตต่อการมีบทบาทในกิจกรรมนั้น ๆ
เชื่อว่าบุคลิกภาพและ
รูปแบบพฤติกรรมไม่เปลี่ยนแปลงไปเมื่ออายุมากขึ้น
คนเราพยายามรักษาทุกอย่างให้เหมือนเดิมมากที่สุด คงไว้ซึ่งบุคลิกภาพเดิม ๆ เพื่อรักษาความมั่นคงให้กับชีวิต
การประยุกต์ทางการพยาบาล
การดำเนินงานในชมรมผู้สูงอายุ ควรประเมินบุคลิกภาพในอดีตของสมาชิกในชมรม
แนวคิดพัฒนกิจชีวิตของอิริคสัน (Erikson,s DevelopmentalTasks)
พัฒนกิจที่สําคัญในวัยผู้สูงอายุ ได้แก่
การปรับตัวต่อความเจ็บป่วย
การสูญเสียและการเปลี่ยนแปลง
การชื่นชมกับชีวิตในอดีต
การเตรียมตัวเองเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต
ผู้สูงอายุต้องปรับตัวต่อความสิ้นหวังให้คงไว้ซึ่งความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง ใช้ชีวิตที่เป็นอิสระมากขึ้น หาจุดหมายใหม่ของชีวิตและทําบทบาทใหม่เพื่อดําเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความหมาย
แนวคิดที่สําคัญคือการเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดี อยู่บนพื้นฐานของการประสบความสําเร็จในการเผชิญพันธะกิจในแต่ละขั้นตอนของชีวิตสิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติคือ
การหาความหมายของชีวิตเพื่อเสริมความรู้สึกมีศักดิ์ศรี ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุยอมรับการเปลี่ยนแปลง
การประยุกต์ทางการพยาบาล
พยาบาลควรทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงและปัญหาที่ผู้สูงอายุเผชิญในแต่ะขั้นตอนของชีวิตเพื่อให้การดูแลแบบองค์รวมสมบูรณ์ยิ่งชึ้น
ทฤษฎีของเพค (Peck, Concept)
ขยายแนวคิดของ
Eriksonให้เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการสร้างความรู้สึกมีศักดิ์ศรีใตนเองว่าผู้สูงอายุควรสร้างความรู้สึกพึงพอใจในตนเองในฐานเป็น
คนคนหนึ่ง ไม่ใช้จากการมีบทบาทในสังคม
ผู้สูงอายุควรหาความสุขทางใจมากกว่า หมกมุ่นกับความจํากัดของร่างกายที่เกิดขึ้นจากความสูงอายุ
ควรมองหรือสะท้อนคิดถึงอดีตที่ประสบความสําเร็จอย่างชื่นชมแทนการมองระยะเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิต
การประยุกต์ทางการพยาบาล
การชี้แนะให้ผู้สูงอายุมองอดีตของตนเองอย่างชื่นชมแทนการมองอนาคตที่เหลืออยู่อย่างเป็นสุข
ทฤษฎีจิตสังคม
ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยชรา
อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น
อีริคสันถือว่าชีวิตของคนเรา แต่ละวัยจะมีปัญหา บางคนก็สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง และดำเนินชีวิตไปตามขั้น แต่บางคนก็แก้ปัญหาเองไม่ได้ อาจจะต้องไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาช่วยเพื่อแก้ปัญหา
การประยุกต์ทางการพยาบาล
พยาบาลควรดูแลผู้สูงอายุที่มีอายุอยู่ในช่วงวันเดียวกันแตกต่างกัน
พยาบาลต้องไวต่อความรู้สึกของตนเองต่อผู้สูงอายุ