Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทบาทของสตรีไทยในประวัติศาสตร์ไทย, ช่วงเวลานับแต่มีการบันทึกหลักฐานมาถึงสม…
บทบาทของสตรีไทยในประวัติศาสตร์ไทย
ช่วงเวลานับแต่มีการบันทึกหลักฐานมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
บทบาททางการเมือง
ด้านการปกครอง
พระนางจามเทวี : ได้รับการเชื้อเชิญให้มาปกครองเมืองหริภุญชัยที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยของพระนาง บ้านเมืองมีการเจริญรุ่งเรือง มีการขยายอำนาจออกไปตั้งเมืองคู่แฝด(เขลางค์นคร) พระนางและพระราชวงศ์ได้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงกิจการทางพุทธศาสนา
พระนางมหาเทวีสุโขทัย : มีบทบาทการปกครองกรุงสุโขทัยระหว่างพระยาลิไทยไปปกครองเมืองสรวลสองแคว นอกจากยี้พระนางยังอยู่ในฐานะพระเทวีของขุนหลวงพระงั่ว
พระมหาเทวีล้านนา
พระมหาเทวีชนนี : มีบทบาททางการเมืองร่วมกับพระโอรส คุมกองทัพรบเมืองแพร่ เป็นการช่วยพระราชโอรสขยายอำนาจของล้านนา
พระมหาเทวีจิรประภา : ได้รับอัญเชิญจากท้าวพญาให้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ พระนางสามารถนำพาบ้านเมืองให้รอดพ้นจากภัยต่างๆ โดยเฉพาะครั้งสมเด็จพระไชยราชาธิราชนำกองทัพกรุงศรีอยุธยาขึ้นมารุกราน
พระมหาเทวีวิสุทธิเทวี : พระเจ้าบุเรงนองได้สถาปนาพระนางขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ในช่วงที่เชียงใหม่ตกอยู่ในฐานะประเทศราชของพม่า
แม่อยู่หัวศรีสุดาจันท์ : ได้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระยอดฟ้าพระราชโอรสที่ยังเป็นยุวกษัตริย์ หลังจากรพะยอดสวรรคต พระนางได้ขึ้นปกครองกรุงศรีอยุธยาคู่กับขุนวรวงศาธิราช ต่อมาถึงยึดอำนาจเนื่องจากขาดอำนาจสนับสนุน ไม่เป็นที่ยอมรับของข้าราชสำนัก
กรมหลวงโยธาเทพ : ได้รับการเฉลิมพระเกียรติจากพระราชบิดาให้เป็นเจ้านายทรงกรม สามารถเก็บส่วยสาอากรขนอนตลาด มีเลกสมสังกัด ยังมีกองทหารสังกัดในพระองค์จำนวนมาก บันทึกของทูตบาทหลวงฝรั่งเศสที่เข้ามาในไทยได้กล่าวว่า พระองค์ทรงมีอิทธิพบอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองดูแลราชสำนักฝ่ายใน และมีอิทธิพลมาถึงฝ่ายหน้าโดยผ่านทางภริยาของขุนนางผู้ใหญ่
ด้านการรบและการทำสงคราม
สตรีสูงศักดิ์แห่งล้านนา : มีบทบาทในการรบเพื่อปกป้องบ้านเมืองและช่วยแผ่ขยายอำนาจ
สมเด็จพระสุริโยทัย : พระองค์ได้โดยเสด็จพระสวามีในการป้องกันเมืองจากพม่า คือ กองทัพไทยปะทะพม่า พระสุริโยทัยเกรงว่าพระสวามีจะเป็นอันตรายจึงไสช้างเข้าขวางไว้ จึงถูกพระเจ้าแปรฟันด้วยพระแสงของ้าว สิ้นพระชนม์
เจ้าศรีอโนชา : เมื่อคราวเกิดกบฏพระยาสรรค์ยึดกรุงธนบุรีในตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระยาตากสิน เจ้าศรีอโนชารวบรวมบริวารปกป้องครอบครัว ช่วยเหลือพระยาสุริยอภัย ป้องกันเหตุวุ่นวายในกรุงธนบุรี ร่วมมือกับพระยาเจ่ง พระยาราม นายกองมอญ แต่งทัพเรือเข้าช่วยปราบกบฏ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า : ปรากฏวีรกรรมคุณหญิงจันและคุณมุก คือ นำประชาชนต่อต้านพม่าที่มาตีเมืองถลางในคราวสงครามเก้าทัพจนได้รับชัยชนะ สมเด้จพระพุทธยอดฟ้าโปรดเกล้าแต่งตั้งคุณหยิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรี คุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
บทบาทในการเสริมสร้างพันธไมตรีทางเครือญาติ
การเสริมสร้างพันธไมตรี : นโยบาย คือ การสร้างความเป็นเครือญาติทั้งในและนอกราชอาณาจักร แต่บางกรณีก็เป็นการปูนบำเหน็จแก่บุคคลที่สร้างความดีความชอบต่อบ้านเมือง
การแสวงหาพันธมิตร : เช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้มีการเจริญสัมพันธะไทตรีกับกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ทรงพระราชทานพระเทพกษัตริย์และพระแก้วฟ้าให้ไปอภิเษกกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ถึงแม้การอภิเษกจะถูกขัดขวางจากพม่า แต่อาณาจักรทั้งสองยังคงมีไมตรีต่อกัน
เมื่อตกอยู่ใต้อำนาจอาณาจักรอื่น : การสร้างสัมพันธไมตรีจะเป็นการถวายพระราชธิดาแสดงความจกรักภักดี
เมื่อมีการเปลี่ยนผู้นำ : การประสานงานสัมพันธไมตรีผ่านการแต่งงานระหว่างผู้นำใหม่และสตรีในราชวงศ์เก่าเพื่อให้เกิดการยอมรับในอำนาจเพื่อสร้างความชอบธรรมในการสืบราชบัลลังก์
บทบาททางสังคม
ด้านการศึกษา
เจ้าฟ้าพินทวดี : ทรงรอบรู้เชี่ยวชาญในชนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณี ทรงเป็นกำบังสำคัญในการจัดทำตำราโบราณราชประเพณีที่ชำระเรียบเรียงขึ้นใหม่ในร.1
พระองค์เจ้าบุตรี : ได้รับการยอมรับว่ามีความเชี่ยวชาญ แตกฉาน รอบรู้ในวิชาการต่างๆ พระองค์ทรวงเป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้เบื้องต้นให้บรรดาพระราชโอรส พระราชธิดาในร.4
ด้านวรรณกรรม
เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ : ทรงนิพนธ์บทละครเรื่องดาหลังและนิเหนา โดยนำโครงเรื่องของชวามาดัดแปลงให้เป็นกลอนบทละครไทย
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรเทวี : ทรงนิพนธ์จดหมายเหตุ ความทรงจำบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ใน พ.ศ.๒๓๑๐ ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
คุณพุ่ม และ คุรสุวรรณ : ได้รับการยกย่องเป็นกวีหญิง งานของคุณพุ่ม ได้แก่ เพลงยาวบวงสรวงสระน้ำที่บางโขมด งานของคุณสุวรรณ ได้แก่ อุณรุทร้อยเรื่อง พระมะเหลเถไถ
พระองค์เจ้ามณฑาและพระองค์เจ้าอุบล : นิพนธ์กุมารคำฉันท์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รับสั่งถึงหนังสือเล่มนี้ว่า เป็นตัวอย่างที่แสดงว่า สตรีไทยมีการศึกษาที่รุ่งเรืองมาแต่โบราณ
ด้านการศาสนา
สตรีสูงศักดิ์ของไทยนับแต่สมัยสุโขทัย มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จะสละพระราชทรัพย์เพื่อก่อสร้างและปฏิสังขรณ์พระอาราม พระพุทธรูป และทำนุบำรุงพระภิกษุเป็นประจำ นอกจากนี้ยังมีการกัลปนาข้าคนให้เป็นเลกวัด เพื่อช่วยปฏิบัติกิจต่างๆ ให้แก่พระภิกษุและพระอารามทั้งปวง
สมัยรัชกาลที่ 5 ถึง สงครามโลกครั้งที่ 2
กลุ่มพระมเหสีเทวีของรัชกาลที่ 5
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
ด้านการปกครอง : ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้านการศึกษา : ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนสตรี เช่น
โรงเรียนราชินี โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์
ด้านสาธารณะสุขและการแพทย์ : ทรงสนับสนุนให้สตรีไทยใช้วิธีการคลอดแบบตะวันตก ทรงตั้งโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช ทรงริเริ่มก่อตั้งสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
ทรงพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนในหัวเมือง สอนหนังสือและอาชีพแก่ชาวบ้าน โดยเฉพาะการ ทอผ้า
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
ทรงเชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ รัชกาลที่ ๕ ให้ดำรงตำแหน่งราช เลขานุการฝ่ายใน และทรงพระราชนิพนธ์ สุขุมาลนิพนธ์ ทรงจัดให้วังบางขุนพรหมเป็นแหล่งศึกษาทันสมัยสำหรัลสตรีสูงศักดิ์ในสมัยนั้น
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
ทรงเชี่ยวชาญด้าน
โภชนาการ ทรงปลูกฝังเรื่อง ศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านดนตรีไทย ทรงโปรดให้จัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณค่าพระราชทานในวาระต่างๆ
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ทรงนำวัฒนธรรมสยามทั้งเก่าและใหม่ไปประยุกต์ใช้ในล้านนา ทรงสนับสนุนการก่อตั้งและดำเนินงานของโรงเรียนในเชียงใหม่ ทรงริเริ่มนำฟ้อนพื้นเมืองมาแสดงในงานเฉลิมฉลองและให้ความอุปถัมภ์ศิลปะและหัตถกรรมพื้นบ้าน
เจ้าจอมมารดาแพ
ทรงปรับปรุงแก้ไขขนบธรรมเนียมต่างๆ ให้ทันสมัยและทรงส่งเสริมการสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไป
กลุ่มสตรีที่ได้รับการศึกษาแผนใหม่
ด้านประกอบอาชีพและกิจกรรมสังคม
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล : ท่านมีความรอบรู้เรื่องกิจการ บ้านเมืองต่างประเทศ ศิลปวัฒนธรรม ท่านร่วมก่อตั้งองค์การ พุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งโลก
หม่อมศรีพรหมมา กฤดากร : ท่านนำเทคโนโลยีและวิถีชีวิตแบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้ในการทำฟาร์มและครอบครัว
ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ : ท่านร่วมก่อตั้งสภาอุณาโลมแดง ท่านจัดพิมพ์ตำราแม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารคาวหวานทั้งไทยและเทศเล่มแรกของไทย
ท่านผู้หญิงตลับ สุขุม : ท่านเป็นตัวแทนสตรีที่สามารถปรับตัวเข้าสู่การสมาคมในระดับสูงในวงการทูตอังกฤษ ท่านพัฒนาการศึกษาของสตรีในภาคใต้โดย การก่อตั้งโรงเรียนสตรีที่สงขลาและตรัง สมัยรัชกาลที่ ๖ ท่านทำ หน้าที่นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระพันปีหลวงและร่วมก่อตั้ง โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
กลุ่มประกอบอาชีพด้านกฏหมาย : เช่น คุณหญิงแร่ม พรหโมบล คุณหญิงสุภัทรา สิงหลกะ ท่านมีบทบาทใน
การเรียกร้องสิทธิสตรีและยกระดับสถานภาพให้ทัดเทียมบุรุษ
สตรีจากราชสกุบกุญชร : เช่น หม่อมหลวงบุปผา การเขียนนวนิยายที่สะท้อนสภาพสังคมไทยในยุคนั้น อีกท่าน คือ หม่อมหลวงบุญเหลือ บทบาทสำคัญด้าน การศึกษา โดยเฉพาะภาษาศาสตร์และงานวิจัยเกี่ยวกับตระกูล ภาษาไท วรรณคดีไทยและวิธีการสอน
หม่อมหลวงพวงร้อย : มีความโดดเด่นด้านดนตรีและได้ประพันธ์บทเพลงไพเราะและทรงคุณค่าไว้มากกว่า 120 เพลง
ด้านการแพทย์และสังคมสงเคราะห์
หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ : ได้รับหน้าที่บริหารโรงเรียน ท่านจัดระเบียบแบบแผนการ รักษาพยาบาลและปรับมาตรฐานการศึกษาให้ทันสมัย
แพทย์หญิง ดร.คุณเพียร เวชอุบล : บทบาทของท่านคือการบำบัดรักษาและป้องกันกามโรคแก่บุรุษและหญิงขายบริการ และก่อตั้ง อุทิศกำลังกายกำลังทรัพย์ช่วยเหลือสตรีที่ประสบปัญหาชีวิตในครอบครัว สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้านอกสมรส ในชื่อว่า มาตาภาวาสถาน
ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ด้านสังคมสงเคราะห์ : ท่านตั้งสโมสรวัฒนธรรมฝ่ายหญิง จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสตรีและเยาวชน จัดอบรมบุคลากร ริเริ่มตั้งโรงพยาบาลสงเคาาะห์หญิงมีครรภ์และบุตร
ด้านการเมือง : ยกสถานภาพของสตรี จัดตั้งสหพัทธ์กรรมหญิง ก่อตั้งสภาสตรีแห่งชาติ และอื่นๆ
นางสาว ณัฏฐณิชา บำเพ็ญ ม.4/13 เลขที่ 36