Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุ - Coggle Diagram
ทฤษฎีความสูงอายุ
ทฤษฎีทางชีวภาพ (Biological Theories)
เป็นทฤษฎีที่อธิบายความ ชราทางชีววิทยาซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดขึ้น ในร่างกายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radical Theory)
เกิด จากการสะสมสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับ การได้รับการกระตุ้นจากความร้อน แสง และรังสี ก่อให้เกิดสารที่ เรียกว่า อนุมูลอิสระ
แนวคิดใหม่ที่สอดคล้องกับทฤษฎีอนุมูลอิสระคือ ทฤษฎีจํากัดพลังงาน (Caloric Restriction or Metabolic Theory)
ซึ่งเชื่อว่าการจํากัด พลังงานในอาหารที่รับประทานจะช่วยชะลอกระบวนการเผาผลาญใน ร่างกายให้ช้าลงโดยเฉพาะไขมัน
ทฤษฎีสะสม(Accumulation Theory)
สารนี้เป็น ผลผลิตของการเผาผลาญไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเชื่อว่าสารไลโปฟัสซินมีผลเสีย ต่อร่างกายจะมีผลต่อการกระจายและการขนส่งสารที่จําเป็นในร่างกาย
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross - Linking Theory) หรือทฤษฎี คอลลาเจน (Collagen Theory )
ทฤษฏีเชื่อว่าความสูงอายุว่า เมื่อมีอายุมากขึ้นโปรตีนบางตัวจะเปลี่ยนแปลงลักษณะไขว้ขวางกันและ อาจจะขัดขวางกระบวนการเผาผลาญในร่างกายโดยอุดกั้นทางเดินระหว่าง ภายนอกกับภายในเซลล์ของสารอาหารและของเสียที่เกิดขึ้น
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
ทฤษฎีนี้ได้เปรียบเทียบคนคล้ายกับเครื่องจักร คือเมื่อมีการใช้ งานมาก ๆ ใช้งานอวัยวะเป็นเวลานาน หรือใช้อย่างหักโหมสะสม มาเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น จึงเกิดการตายของเซลล์ จึงควรมีการส่งเสริมสุขภาพและการชะลอ ความเสื่อมของร่างกายเพื่อชะลอความเสื่อม
ทฤษฎีพันธุกรรม (Genetic Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความสูงอายุถูกควบคุมด้วยพันธุกรรม อายุขัยของมนุษย์ถูกโปรแกรมก่อนเกิดกําหนดไว้โดยเริ่มจากยีนในDNAถ่ายทอดลักษณะ ต่าง ๆ ให้ลูกหลาน
ทฤษฎีระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อและภูมิคุ้มกัน (Neuroendocrine-Immunologic Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความสูงอายุเป็นผลร่วมกันของการเปลี่ยนแปลงระบบประสาท/ ต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกันที่ทําหน้าที่ลดลง
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (Phychosocial theory)
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและสังคมของผู้สูงอายุมักจะมี ผลกระทบพร้อม ๆ กัน ซึ่งขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพสถานภาพ วัฒนธรรม เจตคติ
ทฤษฎีการถดถอย (Disengagement Theory)
เมื่อถึงวัย ผู้สูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทและหน้าที่ของตนเองลดลง ทําให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีลักษณะแยกตัวออกจากสังคมทีละน้อย หรือต้องการปล่อยวางเป็นอิสระ ดังนั้นบุคคลรอบข้างควรให้ความสุขและทำให้พวกเขารู้สึกว่ายังมีคุณค่ากับสังคม
ทฤษฎีการมีกิจกรรม(Activity theory)
ทฤษฎีนี้ส่งเสริม การทํากิจกรรมต่อไป ไม่ยอมรับการเป็นผู้สูงอายุเร็วเกินไป เมื่อผู้สูงอายุ เกิดการสูญเสียบทบาทที่เคยทําอยู่บทบาทใหม่หรือบทบาทที่แตกต่าง ออกไป รวมทั้งความสนใจใหม่ๆ ควรเข้ามาแทนที่ ดังนั้นจึงควรตระหนักให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมต่อไปเมื่อมีอายุมากขึ้น
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
ทฤษฎีนี้ อธิบายว่าผู้สูงอายุจะมีความสุขในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ได้ขึ้นอยู่กับ บุคลิกภาพและแบบแผนการดําเนินชีวิตที่มีมาในอดีตที่แต่ละคนเคย ปฏิบัติมาก่อน และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากความพึงพอใจใน ชีวิตต่อการมีบทบาทในกิจกรรมนั้น ๆ
แนวคิดพัฒนกิจชีวิตของอิริคสัน (Erikson,s Developmental Tasks)
ได้แก่ การปรับตัวต่อความ เจ็บป่วย การสูญเสียและการเปลี่ยนแปลง การชื่นชมกับชีวิตในอดีต และการเตรียมตัวเองเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต ผู้สูงอายุต้องปรับตัวต่อ ความสิ้นหวังให้คงไว้ซึ่งความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง ใช้ชีวิตที่เป็นอิสระ มากข้ึน หาจุดหมายใหม่ของชีวิต และทําบทบาทใหม่เพื่อดําเนินชีวิต ต่อไปอย่างมีความหมาย
ทฤษฎีของเพค (Peck, Concept)
ขยายแนวคิดของ Erikson ให้เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการสร้างความรู้สึกมีศักดิ์ศรีใน ตนเองว่าผู้สูงอายุควรสร้างความรู้สึกพึงพอใจในตนเองในฐานเป็น คนคนหนึ่ง ไม่ใช่จากการมีบทบาทในสังคม ผู้สูงอายุควรหาความสุข ทางใจมากกว่า หมกมุ่นกับความจํากัดของร่างกายที่เกิดขึ้นจาก ความสูงอายุ และควรมองหรือสะท้อนคิดถึงอดีตที่ ประสบความสําเร็จอย่างชื่นชมแทนการมอง ระยะเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิต