Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
ทฤษฎีผู้สูงอายุ
ทฤษฎีทางชีวภาพ (Biological Theories)
เป็นทฤษฎีที่อธิบายความชราทางชีววิทยา ซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดขึ้น ในร่างกายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด อธิบายในเรื่องของผลกระทบ ของความชราที่ทําให้ระบบการทํางานของอวัยวะในร่างกายทํางานลดลง จนกระทั่งไม่สามารถทํางานได้ปกติ
ประกอบด้วย
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radical Theory)
อธิบายว่า ความสูงอายุเกิด จากการสะสมสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับ การได้รับการกระตุ้นจากความร้อน แสง และรังสี ก่อให้เกิดสารที่ เรียกว่า อนุมูลอิสระ เมื่อมีอนุมูลอิสระจะเข้าทําลายโปรตีน เอ็นไซด์ และ DNA ส่งผลให้อวัยวะมีความเสื่อมลง ร่างกายทําหน้าที่ลดลง
แนวคิดใหม่ที่สอดคล้องกับทฤษฎีอนุมูลอิสระคือ ทฤษฎีจํากัดพลังงาน (Caloric Restriction or Metabolic Theory) เชื่อว่าการจํากัด พลังงานในอาหารที่รับประทานจะชวยชะลอกระบวนการเผาผลาญใน ร่างกายให้ช้าลงโดยเฉพาะไขมัน
ทฤษฎีสะสม (Accumulation Theory)
อธิบายว่า ทฤษฏีนี้เกิดจาก สารไลโปฟัสซิน (Lipofuscin) เป็นสารสีเหลืองที่ประกอบด้วยไขมันและ โปรตีน เชื่อว่าสารไลโปฟัสซินมีผลเสีย ต่อร่างกายจะมีผลต่อการกระจายและการขนส่งสารที่จําเป็นในร่างกาย
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross - Linking Theory) หรือทฤษฎี คอลลาเจน (Collagen Theory )
อธิบายว่า ทฤษฏีเชื่อว่าความสูงอายุ เมื่อมีอายุมากขึ้นโปรตีนบางตัวจะเปลี่ยนแปลงลักษณะไขว้ขวางกันและ อาจจะขัดขวางกระบวนการเผาผลาญในร่างกายโดยอุดกั้นทางเดินระหว่าง ภายนอกกับภายในเซลล์ของสารอาหารและของเสียที่เกิดขึ้น หน้าที่การทํางานจึงลดลง
สารไขว้ขวาง เช่น คอลลาเจน อิลาสติน และสารที่อยู่ ภายในเซลล์ เมื่อเนื้อเยื่อคอลลาเจนมีการ เปลี่ยนแปลงทําให้มีลักษณะแข็ง แตกแห้ง สูญเสียความยืดหยุ่น เป็น ผลให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะ เช่น ผิวหนัง ผนังหลอดเลือด เลนซ์ในลูกตา ทําให้มีความทึบแสงมากขึ้น และกลายเป็นต้อกระจก (cataracts)
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
ทฤษฎีนี้ได้เปรียบเทียบคนคล้ายกับเครื่องจักร คือเมื่อมีการใช้งานมาก ๆ ใช้งานอวัยวะเป็นเวลานาน เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเยื่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะทํางานเสื่อมลง เช่น หลอดเลือด ข้อเข่า เป็นต้น
ทฤษฎีพันธุกรรม (Genetic Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่าความสูงอายุถูกควบคุมด้วยพันธุกรรม เชื่อว่ามนุษย์สามารถคาดอายุขัยได้ นั่นคือ ครอบครัวใดที่พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อายุยืน ลูกย่อมมีอายุยืนด้วย
ทฤษฎีระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อและภูมิคุ้มกัน (Neuroendocrine-Immunologic Theory)
ระบบภูมิคุ้มกันแบบ humoral immunity เกิดจากการทํางานของ B cell ร่างกายสร้าง antibody ต่อต้าน
antigen ที่จําเพาะ เช่น แบคทีเรียไวรัส และภูมิคุ้มกันนี้ ลดลง เมื่ออายุ มากขึ้น มีผลทําให้ มโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (Phychosocial theory)
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและสังคมของผู้สูงอายุ ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพสถานภาพ วัฒนธรรม เจตคติ โครงสร้างครอบครัวและการมีกิจกรรมในสังคม
ประกอบด้วย
ทฤษฎีการถดถอย (Disengagement Theory)
เมื่อถึงวัย ผู้สูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทและหน้าที่ของตนเองลดลง ทําให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีลักษณะแยกตัวออกจากสังคมทีละน้อย
ถ้าสังคมและบุคคลรอบข้าง ของผู้สูงอายุยอมรับเปิดโอกาสและเคารพในตัวผู้สูงอายุ จะทําให้ ผู้สูงอายุมีความสุขมากขึ้น และทําให้พวกเขารู้สึกว่ายังมีคุณค่ากับ สังคมและบุคคลรอบข้างต่อไป
ทฤษฎีการมีกิจกรรม (Activity theory)
ทฤษฎีนี้สjงเสริม การทํากิจกรรมตjอไป เมื่อผูhสูงอายุ เกิดการสูญเสียบทบาทที่เคยทําอยู่ บทบาทใหม่หรือบทบาทที่แตกต่าง ออกไป รวมทั้งความสนใจใหม่ ๆ ควรเข้ามาแทนที่
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
ทฤษฎีนี้ อธิบายว่าผู้สูงอายุจะมีความสุขในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ได้ขึ้นอยู่กับ บุคลิกภาพและแบบแผนการดําเนินชีวิตที่มีมาในอดีตที่แต่ละคนเคยปฏิบัติมาก่อน
แนวคิดพัฒนกิจชีวิตของอิริคสัน (Erikson,s Developmental Tasks)
การปรับตัวต่อความเจ็บป่วย
การสูญเสียและการเปลี่ยนแปลง
การชื่นชมกับชีวิตในอดีต
การเตรียมตัวเองเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต
ผู้สูงอายุต้องปรับตัวต่อ ความสิ้นหวังให้คงไว้ซึ่งความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง หาจุดหมายใหม่ของชีวิต และทําบทบาทใหม่เพื่อดําเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความหมาย
ทฤษฎีของเพค (Peck, Concept)
การสร้างความรู้สึกมีศักดิ์ศรีใน ตนเองว่าผู้สูงอายุควรสร้างความรู้สึกพึงพอใจในตนเองในฐานเป็นคนคนหนึ่งผู้สูงอายุควรหาความสุข ทางใจมากกว่า หมกมุ่นกับความจํากัดของร่างกายที่เกิดขึ้นจากความสูงอายุ และควรมองหรือสะท้อนคิดถึงอดีตที่ ประสบความสําเร็จอย่างชื่นชมแทนการมอง ระยะเวลาที่เหลืออยู่ในชีวต