Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ปัจจัย
ภายใน
สุขภาพอนามัย
การมองโลก ประสบการณ์ชีวิต
กรรมพันธ์ุ
ความเชื่อ
ภายนอก
เศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม
การศึกษา
การเกษียณงาน
ทางกายภาพ/สรีรวิทยา
ระบบผิวหนัง
ผิวบางลง ความเหนียวของผิวหนังเพิ่มขึ้นเซลล์ลดลงทำให้การหายของแผลช้าลง คอลลาเจนใหญ่และแข็งตัวขึ้นทำให้ยืดหยุ่นได้ไม่ดีน้ำและไขมันใต้ผิวหนังลดลงทำให้เกิดรอยย่นมากขึ้น มองเห็นปุ่มกระดูกมากขึ้นการไหลเวียนที่ผิวหนังลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดแผลกดทับได้ง่ายและทนความเย็นได้น้อยลง
ต่อมเหงื่อมีจำนวนและขนาดลดลงทำให้การระบายความร้อนไม่ดีทำให้อุณหภูมิร่างกายเลวลง เกิดลมแดดได้ง่าย ผมและขนลดลง เมลานินที่สร้างสีลดลงทำให้เกิดผมและขนทั่วไปจางลงเป็นเทา ขาว
ปัญหาการได้ยินลดลง หูตึง
เกิดจากความเสื่อมของorgan of Corti และ basilar membrane ร่วมกับเส้นประสาทคู่ที่8 เยื่อแก้วหูและอวัยวะในหูชั้นในแข็งตัวมากขึ้น ทำให้บกพร่องในการได้ยิน ทำให้เกิดระดับเสียงสูงมากกว่าเสียงต่ำ
การสื่อสารกับผู้สูงอายุไม่ควรตะโกน แต่ควรพูดด้วยเสียงทุ้ม ถ้อยคำง่ายๆ ช้าๆชัดเจน
การมองเห็น
ลูกตามีขนาดเล็กลงและลึกเพราะไขมันของลูกตาลดลง หนังตายืดหยุ่นน้อยลงทำให้หนังตาตก รูม่านตาเล็กลงทำให้การปรับตัวในการมองเห็นไม่ดีโดยเฉพาะสถานที่มืดเวลากลางคืนโดยทั่วไปผู้สูงอายุสามารถแยกสีแดง สีส้มและสีเหลือง ได้ดีกว่าสีน้ําเงิน สีม่วง และเขียว
ควรเลือกใช้สีตกแต่งบ้านที่ชัดเจนเพื่อลดอุบัติเหตุ เช่น ตกบรรได หกล้ม
ระบบประสาทและสมอง
เซลล์สมองและเซลล์ประสาทมีจํานวนลดลง ขนาดของสมองลดลง เป็นเหตุให้ความไวและความรู้สึกตอบสนองต่อปฏิกิริยาต่างๆลดลง
ความจําเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องราวใหม่ๆ (recent memory) เพราะความสามารถในการเก็บข้อมูลลดลง จําเรื่องราวเก่า ๆ ในอดีตได้ดี
การนอนหลับเปลี่ยนเกิดจากการขาดการออกกำลังกาย ทำให้นอนกลางวันมากเกินไปและมีความวิตกกังวลสูง
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
หลังอายุ40ปีอัตราการเสื่อมของกระดูกมากกว่าการสร้าง เซลล์กระดูกลดลง แคลเซียมสลายมากขึ้นเนื่องจากแคลเซียมถูกดูดซึมจากลำไส้ได้น้อยลง เพราะขาดวิตามินดี
ในเพศหญิงสาเหตุที่สําคัญคือ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนนี้กระตุ้นการทำงานของosteoblasts ลดลงหลังหมดประจําเดือนทําให้แคลเซียมสลายออกจากกระดูก กระดูกผู้สูงอายุจึงเปราะและหักง่ายแม้ไม่เกิดอุบัติเหตุ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
เกิดการเสื่อมมากขึ้น ผนังหลอดเลือดฝอยหนาทำให้การแลกเปลี่ยนอาหารและของเสียลดลง ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าทาง และเกิดรอยฟกช้ำได้ง่าย ดังนั้นการเปลี่ยนท่าทางควรทำช้าๆ
ระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายจํานวนของ T-lymphocytes ไม่เปลี่ยนแปลงแต่อัตราส่วนของhelper T cells ต่อ suppressor T cells เพิ่มขึ้น ทำให้กลไกลตอบสนองของ T-lymphocytes ต่อเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ลดลง
ระบบทางเดินหายใจ
ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง ความแข็งแรงและกำลังการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจลดลง จํานวนถุงลมปอดลด ผนังถุงลมแตกง่าย เกิดถุงลมโป่งพองได้ง่าย
การทำงานของเซลล์ขนตลอดทางเดินหายใจลดลง ประสิทธิภาพการไอลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย การทำงานของฝาปิดกล่องเสียงลดลงทำให้เกิดการสำลักและโรคปอดบวมได้ง่าย
ระบบทางเดินอาหาร
ฟันสึกกร่อน เปราะ บาง บิ่นและหักได้ง่าย ต่อมน้ำลายเสื่อมหน้าที่ทำให้การย่อยแป้งและน้ำตาลในช่องปากลดลง การรับรสของลิ้นเสื่อมไปทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร
การดูดซึมธาตุเหล้กและแคลเซียมลดลงเนื่องจากการผลิตน้ำย่อยและกรดเกลือลดน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดปัญหาโรคกระดูกผุและโลหิตจางได้ง่าย
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
ไต ขับของเสียออกจากร่างกายได้ลดลง เนื่องจากขนาดและจํานวนของหน่วยไตลดลง เสื่อมหน้าที่ในการควบคุมความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะผู้สูงอายุจึงเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ
มีการปัสสาวะบ่อยเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีความจุลดน้อยลงเซลล์กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลง พร่องความสามาถในการหดตัวทำให้มีปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เสี่ยงต่อการเกิดโรค ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ไตวาย ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมไทรอยด์มีพังผืดเพิ่มขึ้นการทำงานจึงลดลงก่อให้เกิดภาวะhypothyroidism ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารและน้ำหนักลดลงได้ง่าย
ตับอ่อนหลั่งอินซูลินลดลงและช้า ระดับน้ําตาลขณะอดอาหารคงที่ร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินน้อยกว่าปกติ
ต่อมเพศทำงานลดลง เป็นผลทำให้หมดประจำเดือน ขนบริเวณรักแร้และหัวเหน่าลดลง
การปฎิบัติตนเพื่อป้องกันการชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุ
ภาวะเบื่ออาหาร ขาดสารอาหาร โลหิตจาง
เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสูงครบ5หมู่ รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆครั้ง เน้นการทานผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น และทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง รักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน ควรตรวจฟันทุกๆ6เดือน
กระดูกเปราะและหักง่าย ปวดข้อ
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกลังกายในสถานที่ที่มีแสงแดดอ่อน ๆบริหารข้อมากขึ้น งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา หลีกเลี่ยงท่านั่งยองๆ พับเพียบ ระมัดระวังการเคลื่อนไหวป้องกันการหกล้ม
อุบัติเหตุ แผลบริเวณผิวหนัง
หลีกเลี่ยงการประคบร้อนหรือเย็นจัดเกินไป จัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบ แสงสว่างเพียงพอ ภายในบ้านควรมีราวจับยึดเกาะโดยเฉพาะในห้องน้ำ และเปลี่ยนท่าเดิมช้าๆไม่รีบร้อน
กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง สมองขาดเลือด
หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา ลดความอ้วน งดอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ตื่นเต้น ตกใจวัดความดันโลหิตเสมอ พักผ่อนเพียงพอ
การติดเชื้อในทางเดินหายใจและการสําลัก
รับประทานอาหารช้า ๆ หลีกเลี่ยงการพูดขณะรับประทานอาหาร
บริหารการหายใจมากขึ้น ดื่มน้ำมากๆมีการไอที่ถูกวิธี
เบาหวาน
ควบคุมอาหาร
รับประทานแป้งและน้ำตาลลดลง เน้นทานผักผลไม้
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ท้องผูก
ดื่มน้ำมากขึ้นรับประทานผักผลไม้มากขึ้น
ห้ามกลั้นอุจจาระ หลีกเลี่ยงความเครียดต่างๆ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถ่ายปัสสาวะลําบาก และถ่ายบ่อย
บริหารกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดโดยการขมิบก้นบ่อย ๆ
ดื่มน้ำอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในตอนกลางวัน
ปรึกษาแพทย์ตรวจต่อมลูกหมากทุกปี
ต้อกระจก
ตรวจตาปีละ 1 ครั้ง ถนอมสายตา ไม่ใช้สายตามากเกินไป
การนอนไม่หลับ
จัดสถานที่ให้เงียบสงบไม่มีสิ่งรบกวนขณะนอนหลับ
ดื่มนมอุ่นๆก่อนนอน นวดหลังเบาๆ นอนกลางวันน้อยลง หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน
หูตึง
ตรวจหูปีละ1ครั้ง
หากหูตึงติดต่อแพทย์เพื่อใส่เครื่องช่วยฟัง
การติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์ เจ็บขณะร่วมเพศ
ใช้สารหล่อลื่นขณะร่วมเพศ
แนะนําการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์
ผิวแห้งแตกง่ายเหี่ยวย่น
หลีกเลี่ยงการอาบน้ำบ่อยๆ การใช้สบู่ หากจำเป็นให้ใช้สบู่อ่อนๆ
ทาผิวหนังด้วยโลชั่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด