Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่4 เด็กหญิงไทยอายุ 5 ปี 1 เดือน - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่4 เด็กหญิงไทยอายุ 5 ปี 1 เดือน
(PI) : 3 day PTA ไข้ ไอ เสมหะเหนียวสีขาว ไอมากตอนกลางคืน 2 day PTA น้ำมูกสีเหลือง 1 day PTA ไข้ต่ำๆ ไอ เสมหะ น้ำมูกเปลี่ยนเป็นสีเขียว อาเจียน 1 ครั้ง
(CC) : ไข้ ไอ อาเจียน 1 day PTA
(PE)
GA : Thai febrile girl.
Nose : Inferior turbinate congested, septum not deviated.
Mouth and Throat : pharynx slightly injected, tonsils enlarged 1+ not injected.
Lymph nodes :Submanibular lymphnode positive 1 cm both side.
Lung : Adventitious lung sound ชนิด occasional rhonchi at left lower lobe,R=30 ครั้ง/นาที
Problem list
-High fever
-Cough
Differential diagnosis
1.Lymphadenitis (ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ)
โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract infection)
3.โรคหวัด (Acute Rhinopharyngitis: Common Cold)
1.Lymphadenitis (ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ)
ทฤษฎี
อาการหลัก ๆ ที่พบได้คือ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต มีอาการกดเจ็บที่ต่อมน้ำเหลือง นอกจากนั้น ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ มีอาการบวม หรือกดเจ็บที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ ผิวหนังบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองอักเสบแดง หรือมีริ้วสีแดงขึ้นมีหนองในต่อมน้ำเหลืองมีของเหลวไหลออกมาจากต่อมน้ำเหลืองและคั่งอยู่ที่ผิวหนังผิวหนังบริเวณรอบ ๆ ต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบมีอาการบวม ระบบทางเดินหายใจส่วนบนผิดปกติ เช่น มีไข้ คัดจมูก เจ็บคอ แขนหรือขาบวมมีเหงื่อออกขณะนอนหลับ
สาเหตุ โดยส่วนใหญ่แล้วต่อมน้ำเหลืองอักเสบมักเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการอักเสบ หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อรา อีกทั้งหากมีเนื้องอกผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณต่อมน้ำเหลืองก็อาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบได้เช่นกัน นอกจากนั้น ต่อมน้ำเหลืองอักเสบยังอาจเกิดขึ้นหลังจากผิวหนังติดเชื้อ หรือการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเชื้อสเตรปโตคอคคัส(Streptococcus) หรือเชื้อสตาฟิโลคอคคัส (Staphylococcus)
การวินิจฉัย ในเบื้องต้น แพทย์จะเริ่มตรวจด้วยการซักประวัติ และตรวจร่างกาย และจะคลำบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบเพื่อตรวจดูว่ามีอาการบวมหรือรู้สึกเจ็บเมื่อคลำหรือไม่ จากนั้นแพทย์จะซักถามเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น ก่อนที่แพทย์จะสั่งตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยวิธีที่แพทย์มักใช้ ได้แก่ ตรวจเลือด เอกซเรย์ เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ
การรักษาด้วยตนเองเบี้องต้น ในกรณีที่อาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาลดปวด ลดไข้ ควบคู่กับการประคบด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้อาการบวมจากการอักเสบค่อย ๆ ลดลง การใช้ยา ในรายที่มีสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองอักเสบจากการติดเชื้อ แพทย์จะสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดอาการติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้อาการอื่น ๆ เช่น ลดอาการปวดบวมลง ทว่าการใช้ยาปฏิชีวนะจะต้องใช้ตามที่แพทย์เป็นผู้กำหนดเท่านั้น เพื่อป้องกันภาวะเชื้อดื้อยาในภายหลัง
คำแนะนำ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบนั้น สามารถป้องกันอาการรุนแรงหรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกชนิดหากไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน เมื่อมีอาการเจ็บปวด หรือมีอาการบวมบริเวณที่เป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ควรใช้ของเย็นประคบ จะช่วยบรรเทาอาการได้
โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract infection)
ทฤษฎี
อาการ มีไข้ อาจไข้สูงหรือต่ำขื้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ไอ อาจไอมีเสมหะหรือไม่มีเสมหะก็ได้ มีน้ำมูก คัดจมูก จาม เจ็บคอ อาจมีเสียงแหบ อาการทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส รองลงมาคือติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้น้อยคือเชื้อราซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
การวินิจฉัย เพาะเชื้อก่อโรคได้จากหนองที่ได้จากการเจาะดูดจากโพรงไซนัส มีไข้(อุณหภูมิ> 38.0 องศาเซลเซียส) ปวดหรือเคาะเจ็บบริเวณโพรงไซนัส* ปวดศีรษะ มีหนองจากโพรงจมูก หรือคัดจมูก ร่วมกับการตรวจพบหลักฐานการอักเสบ จากภาพถ่ายรังสี โดยไม่มีสาเหตุอื่น
การรักษา ถ้าต่อมน้ำเหลืองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี (Penicillin V), ไดคล็อกซาซิลลิน (Dicloxacillin), ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และรับประทานยาต่าง ๆ ตามที่แพทย์สั่งให้ถูกต้อง ครบถ้วน
คำแนะนำ ไม่ขาดยา และไม่หยุดยาเอง ร่วมไปกับการไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตามนัดเสมอ รักษาความสะอาดของต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่เป็น ไม่เกา ไม่คลำบ่อย ๆ เพราะจะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อมากขึ้น รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี โดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และหมั่นออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
ไข้หวัด (Common Cold)
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง โดยเชื้อที่ก่อให้เกิดไข้หวัดมักเป็นเชื้อไวรัสชนิดไม่รุนแรง และสามารถหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ การรักษาไข้หวัดทำได้ด้วยการใช้ยา ควบคู่กับการนอนพักผ่อน และดื่มน้ำมาก ๆ
สาเหตุของไข้หวัด มาจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัดมีหลากหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อไรโนไวรัส (Rhinoviruses) ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้จะกระตุ้นให้อาการของผู้ป่วยหอบหืดกำเริบได้ และเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่หูได้
อาการของไข้หวัด เจ็บคอ น้ำมูกไหล คัดจมูก หายใจได้ไม่สะดวกเนื่องจากจมูกบวม และมีน้ำมูกอุดตันภายในจมูก
ไอ และจาม เสียงแหบ อ่อนเพลีย และรู้สึกไม่สบายตัว ไข้สูง 37-39 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ หรือปวดหู
การวินิจฉัยไข้หวัด
ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยสามารถวินิจฉัยโรคไข้หวัดได้เองจากอาการที่เกิด แต่หากผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าเป็นอาการไข้หวัดหรือไม่ก็ควรไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่เป็น และตรวจร่างกาย หากเป็นอาการของไข้หวัดธรรมดา ก็จะไม่มีการตรวจเพิ่มเติม แต่หากแพทย์สงสัยว่าน่าจะเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจมากกว่าไข้หวัด แพทย์อาจสั่งตรวจด้วยวิธีการเอกซเรย์ และตรวจด้วยวิธีการของห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจน้ำมูก หรือการตรวจเลือด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยยืนยันผลต่อไป
การรักษาไข้หวัด
พักผ่อนมาก ๆ การนอนหลับจะช่วยให้อาการของไข้หวัดดีขึ้นได้ อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก ๆ เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยยิ่งอ่อนเพลียมากกว่าเดิม
ดื่มน้ำให้เพียงพอ ผู้ป่วยไข้หวัดนั้นมักจะสูญเสียน้ำจากเหงื่อที่เกิดขึ้นจากไข้ และน้ำมูกที่มากพร้อมกับอาการคัดจมูก การดื่มน้ำให้มากขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นได้
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูจากอาการเจ็บป่วยได้เร็วยิ่งขึ้น
ยาแก้ปวดลดไข้ ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยและลดไข้ โดยยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาพาราเซตามอล และยาไอบูโพรเฟน
ยาแก้คัดจมูก (Decongestants) ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น
ยาลดน้ำมูก เป็นยาที่ใช้ร่วมกับยาแก้ปวดและยาแก้คัดจมูก ช่วยให้ไข้หวัดหายได้เร็วยิ่งขึ้น
ยาแก้ไอ คือยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการไอมีเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้เสมหะนิ่มลงและขับออกได้ง่ายขึ้น
แผน Investigate
การซักประวัติ-ผู้ป่วยเคยมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่-ประวัติครอบครัว-รับประทานยาอะไรประจำหรือไม่
การตรวจร่างกาย-ตรวจดูฟัน -ตรวจดูว่ามีผื่นตามลำตัวหรือไม่
Treatment
การรักษาด้วยตนเองเบี้องต้น ในกรณีที่อาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาลดปวด ลดไข้ ควบคู่กับการประคบด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้อาการบวมจากการอักเสบค่อย ๆ ลดลง การใช้ยา ในรายที่มีสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองอักเสบจากการติดเชื้อ แพทย์จะสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดอาการติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้อาการอื่น ๆ เช่น ลดอาการปวดบวมลง ทว่าการใช้ยาปฏิชีวนะจะต้องใช้ตามที่แพทย์เป็นผู้กำหนดเท่านั้น เพื่อป้องกันภาวะเชื้อดื้อยาในภายหลัง
Health education
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบนั้น สามารถป้องกันอาการรุนแรงหรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกชนิดหากไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน เมื่อมีอาการเจ็บปวด หรือมีอาการบวมบริเวณที่เป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ควรใช้ของเย็นประคบ จะช่วยบรรเทาอาการได้
บรรณานุกรม
สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2557).แนวทางเวช ปฏิบัติการวินิจฉัยภาวะต่อมน้ำเหลืองที่คอโต.สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563,จาก A1 (moph.go.th)