Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ - Coggle Diagram
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
การตรวจทางคลินิก (Clinical assessment)
ซักประวัติ
-ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
-ประวัติครอบครัว
-ประวัติส่วนตัว อายุ
-ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต
-ประวัติการใช้ยาและแพ้ยา
ชั่งน้ำหนักมารดา
วัดความสูงของมดลูก
3/4+>สะดือ = 38 - 40 week (ท้องหลัง)
3/4->สะดือ = 38 - 40 week (ท้องแรกเนื่อจากท้องลด)
3/4>สะดือ = 36 week
2/4+>สะดือ = 32 week
2/4- >สะดือ = 28 week
-1/4 >สะดือ = 24 week
ระดับสะดือ = 20 week
2/3 > หัวหน่าว = 16 week
1/3 > หัวหน่าว = 12 week
ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารก
(Fetal heart rate : FHR)
110 - 160 bpm เสียงคล้ายม้าควบ
การตรวจนับจำนวนทารกในครรภ์ดิ้น (fetal movement count : FMC)
-วิธีการนับครบสิบ (count to ten) นับอย่างต่อเนื่องจนครบ 10 ครั้งใน 4 ชั่วโมง เริ่มนับเมื่อ 28 week
-วิธีการของ Sadovsky นับวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น รวม 3 เวลาจะมากกว่าหรือเท่ากับ 10 ครั้ง แปลว่าสุขภาพทารกปกติ
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทีเป็นมิตร
ประเมินอายุครรภ์ ซักประวัติความรู้สึกทารกดิ้นในครรภ์
อธิบายลักษณะการดิ้นของทารก
แนะนำวิธีการบันทึกการดิ้น
เปิดโอกาสให้ซักถาม
ถ้าทารกดิ้น <10ครั้งต่อวัน ให้มาพบแพทย์ก่อนนัด
การตรวจทางชีวเคมี (Biochemical assessment)
คัดกรองจากเลือดมารดาหาระดับแอลฟาฟีโตโปรตีน
ตรวจเมื่อ 15 week
ค่าปกติ AFP = 2.5 MoM (Multiple of median)
ถ้า AFP > 2.5 MoM ทารกเสี่ยงต่อท่อประสาทเปิด
ถ้า AFP < 2.5 MoM ทารกเสี่ยงเป็นกลุ้่มดาวน์ซินโดรม
การดูดเนื้อเยื่อ (Chorionic Villus Sampling = CVS) เพื่อศึกษาโครโมโซม
-transcervical chorionic villus sampling ทำเมื่อ 10 - 14 week
-transabdominal chorionic villus sampling
เก็บตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์ (fetal blood sampling)
ตรวจหาโรคทางพันธุกรรม : ธาลัสซีเมีย ฮีโมฟิเลีย
ภาวะทารกบวมน้ำ
การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น
ไม่นิยมทำ
การตรวจหาระดับ Estriol (E3) ในเลือดและปัสสาวะจากมารดา
เริ่มทำ 28 - 32 week
การตรวจ Human placenta lactogen
ตรวจในรายที่มีการแท้งบ่อย
การเจาะน้ำคร่ำ
-เพื่อประเมิน Down syndrome ประเมินเมื่อ 15 - 18 week
-ทดสอบความสมบูรณ์ของปอดทารกในครรภ์ ประเมินเมื่อ 36 - 37 week เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะ respiratory distress
การพยาบาลก่อนทำ
สร้างสัมพันธภาพ
อธิบายเหตุผล ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ
ประเมินอายุครรภ์
อธิบายการดูแลตนเองขณะทำและหลังทำ
เปิดโอกาสให้ซักถาม
เตรียมเครื่องมือเจาะน้ำคร่ำ
ให้ปัสสาวะก่อนทำ
ให้กำลังใจอยู่ข้างเตียงก่อนทำ
การพยาบาลหลังทำ
ให้นอนพักประมาณ 15 - 30 นาที หลังเจาะน้ำคร่ำ
สังเกตอาการผิดปกติ
ถ้าผลเป็นเสี่ยงต่อ Down syndrome จะนัดฟังผล 4 week
การตรวจทางชีวฟิสิกส์
(Biophysical assessment)
ระยะตั้งครรภ์ (Antepartum)
Non stress test : NST
เป็นการตรวจดูอัตราการเต้นของหัวใจทารกเมื่อทารกมีการเคลื่อนไหว
ข่อบ่งชี้การทำ
ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง
ตั้งครรภ์เกินกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
มีภาวะแทรกซ้อนร่วมกับการตั้งครรภ์ : เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง โรคหัวใจ
มีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ตั้งครรภ์แฝด
มีภาวะ Rh isoimmunization
อายุ > 35 ปี
มีประวัติทารกตายในครรภ์
การแปลผล
Reactive
Preg. >= 32 week FHR เพิ่มขึ้น > 15 ครั้ง/นาที นาน 15 วินาที ทารกเคลื่อนไหวอย่างน้อย 2 ครั้งใน 20 นาที baseline 110 - 160 bpm
Preg. < 32 week FHR เพิ่มขึ้น >10 ครั้ง/นาที นาน 10 วินาที ทารกเคลื่อนไหวอย่างน้อย 2 ครั้ง ใน 20 นาที baseline 110 - 160 bpm
Non reactive
ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของ FHS เมื่อทารกมีการเคลื่อนไหว ภายในระยะเวลา 40 นาที
สาเหตุ :
-ทารกอาจหลับ จะกระตุ้นด้วย fetal acoustic
-ทารกอายุครรภ์น้อย ระบบประสาทส่วนกลางยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์
Suspicious
FHS เพิ่ม < 2 ครั้ง จะทดสอบซ้ำภายใน 24 - 48 ชั่วโมง
Uninterpretable
อ่านผลไม่ได้ จะทดสอบซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง หรือตรวจด้วยวิธีอื่น
Contraction stress test : CST
ข้อห้าม
มีประวัติผ่าคลอด
เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ครรภ์แฝด
มดลูกรูปร่างผิดปกติ รกเกาะต่ำ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับมารดา
อธิบายเหตุผลของการตรวจ
จัดท่า semi-fowler position เพื่อป้องกัน supine hypotensive syndrome
เตรียมให้ oxytocin 5 Unit ใน NSS 500 ml. ในอัตรา 5 - 10 หยด/นาที จนกระทั่งมดลูกหดรัดตัว 3 ครั้งใน 10 นาที นานครั้งละ 40 - 60 วินาที
ประเมิน FHS เมื่อมดลูกหดรัดตัวและรายงานผลการตรวจให้แพทย์ทราบ
ติดตามการหดตัวของมดลูกทุก 10 นาที
fetal biophysical profile : BPP
ตรวจดูจาก ultrasound :
การหายใจของทารก (fetal breathing movement : FBM)
การเคลื่อนไหวของทารกทั้งร่างกาย (gross body movement : FM)
กำลังกล้ามเนื้อของทารก (fetal tone : FT)
การที่หัวใจทารกตอบสนองเมื่อทารกเคลื่อนไหว (reactive fetal heart sound : FHS)
ปริมาณน้ำคร่ำ (amniotic fluid volume)
ระยะคลอด
External fetal monitoring (EFM)
Early Deceleration
: FHS ค่อยๆลดลง สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก
สาเหตุ
ศีรษะทารกถูกกด เกิดช่วงปากมดลูกเปิด 4 - 7 cm.
การพยาบาล
อธิบายว่าเป็นภาวะปกติ
แนะนำให้นอนตะแคงซ้ายหรือนอนศีรษะสูง
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก ระดับ FHR
ดูแลเตรียมคลอดตามปกติ
Late Deceleration
: FHR ค่อยๆลดลงไม่สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก พบใน Utero-placental insufficiency
Prolong deceleration มีการลดลงของ FHS ต่ำกว่า baseline อย่างน้อย 15 bpm เป็นเวลาอย่างน้อย 2 นาที
การพยาบาล
ให้มารดานอนตะแคงซ้าย ลดการกดทับ inferior vena cava
หยุดให้ oxytocin ที่ใช้เร่งคลอด
ประเมิน BP และภาวะขาดน้ำ
รายงานแพทย์ ถ้า late deceleration ยังคงอยู่เพื่อเตรียมคลอด
เตรียมให้สารน้ำ
Variable decelerationn
การลดลงของ FHS ต่ำกว่าbaseline > 15 bpm นานกว่า 15 วินาที แต่ไม่ถึง 2 นาที เกิดจากภาวะที่สายสะดือของทารกถูกกด (cord compression)
การพยาบาล
ให้มารดานอนตะแคงซ้าย ลดการกดทับ inferior vena cava
หยุดให้ oxytocin ที่ใช้ในการเร่งคลอด
ให้ O2 mask 5 LPM
ประเมิน BP ภาวะขาดน้ำ สังเกตการเปลี่ยนแปล FHR baseline
รายงานแพทย์เตรียมคลอด
เตรียมให้สารน้ำ
Internal fetal monitoring
ปกติจะไม่ทำ จะเสี่ยง infection