Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case study DX.Schizophrenia Unspecified, นางสาวสุภิญญา คำพันธ์…
Case study
DX.Schizophrenia Unspecified
ข้อมูลส่วนบุคคล
เพศ : ชาย อายุ 48 ปี
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี
อาชีพ : ค้าขาย
สถานภาพสมรส : โสด
วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล : 28 ตุลาคม 2563
ครั้งที่รับไว้ในโรงพยาบาล : ครั้งที่ 1
มีประวัติสูบบุหรี่ 5 มวล/วัน
ปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิเสธการใช้สารเสพติด
ข้อมูลผู้ป่วย
Chief Complaint :
ตะโกนด่าเสียงดังรบกวนข้างบ้าน 1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล
Present illness :
25 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล มีปัญหาทะเลาะกับคนในที่ทำงาน เนื่องจากคอยใส่ร้าย หาเรื่อง ย้ายที่ทำงาน 3 ครั้ง ทำงานแต่ละที่ได้ไม่นาน บิดาไม่ทราบปัญหาแน่ชัดว่าเรื่องใด ปฏิเสธหูแว่วและพฤติกรรมแปลกๆ
20 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล ไม่ได้ทำงาน บิดาให้มาอยู่บ้าน เนื่องจากทำงานกับใครไม่ได้ มีปัญหาทะเลาะกันเรื่องคอยใส่ร้ายกลั่นแกล้ง บิดาให้ประวัติว่านอนหลับได้ ปฏิเสธหูแว่วและพฤติกรรมแปลกๆ
8 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล กลางคืนไม่นอน ทำพฤติกรรมแปลกๆ เอาเก้าอี้มาวางเกะกะเต็มบ้าน ไม่ทราบเหตุผล อารมณ์หงุดหงิดง่าย
2 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการพูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว ใส่แหวน เต็ม 10 นิ้ว ปฏิเสธระแวงคนมาฆ่า มาทำร้าย
6 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาล ตะโกนด่าหยาบคายตอนกลางคืนรบกวนข้างบ้าน มีตะโกนด่าช่วงกลางวันบ้าง อารมณ์หงุดหงิดมากขึ้น กลางคืนไม่ค่อยนอน
1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล ตะโกนด่าหยาบคายช่วง 4 ทุ่ม และ 6 โมงเช้า ข้างบ้านไม่พอใจ ทุบประตูและกระแทกประตูบ้าน บิดากลัวข้างบ้านแจ้งความจึงพาผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ปฏิเสธการทำลายข้าวของ ปฏิเสธอารมณ์เบื่อ เศร้า ปฏิเสธอารมณ์ครื้นเครง ใช้จ่ายเยอะ
Past History :
ปฏิเสธโรคประจำตัว
การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ
Regular diet
Record Vital signs
Medication
Haloperidol (10) 1 * PC
ACA (2) 1 * prn for EPS q 6-8 hr.
Diazepam (5) 1 * prn insomnia
General Appearance
ผู้ป่วยชายไทยวัยกลางคน หน้านิ่ง สูง ผอม ผิวขาว ผมสีดำ ไม่ยุ่ง ร่างกายดูสะอาด แต่งกายด้วยชุดโรงพยาบาล เสื้อผ้าสะอาดเรียบร้อยดี ลักษณะทั่วไปมีท่าทีเฉยเมย นิ่ง ท่าทางเป็นมิตร ให้ความร่วมมือดี ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว เคลื่อนไหวปกติ
การตรวจสภาพจิต (Mental status examination)
การพูดและกระแสคำพูด (Speech and stream of talk)
การรับรู้ (Perception)
ผู้ป่วยมีอาการประสาทหลอนด้านเสียง คือมีอาการหูแว่ว ผู้ป่วยปฏิเสธอาการประสาทหลอนด้าน รูป รส กลิ่น และสัมผัส
การหยั่งรู้ตนเองและแรงจูงใจ (Insight and motivation)
ผู้ป่วยมี Insight อยู่ในระดับ Denial of illness ผู้ป่วยไม่ยอมรับการเจ็บป่วยของตนเอง ไม่คิดว่าอาการหรือความไม่สบายเป็นปัญหา ไม่รู้ว่าตนป่วยเป็นโรคจิตเภท คิดว่าตนเจ็บป่วยทางสมองและคิดว่าสิ่งที่ตนเองทำไม่ผิด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
Impaired social interaction related to inability to engage in satisfying personal relationships
ชักชวนผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มและกระตุ้นให้ผู้ป่วยสื่อสารมากขึ้น เช่น กิจกรรมสร้างความคุ้นเคย กิจกรรมการแนะนำตนเองให้ผู้อื่นรู้จัก และแนะนำให้รู้จักกับผู้ป่วยอื่น เพื่อให้ผู้ป่วยกล้าที่จะสนทนากับผู้อื่นมากขึ้น
2.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เป็นตัวของตัวเอง โดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมกับสมาชิกอื่นที่ผู้ป่วยพอใจ และควรให้กำลังใจหรือแรงเสริมเมื่อผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมและมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
Ineffective health maintenance related to Alteration in cognitive function
ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปของผู้ป่วย การแต่งกาย ความสะอาดของร่างกาย และด้านสุขอนามัย
แนะนำเรื่องการดูแลความสะอาดร่างกาย และส่งเสริมการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วย เช่น
การอาบน้ำ ควรอาบวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อให้ร่างกายสะอาดกำจัดกลิ่นตัว ป้องกันผื่นคัน และการอาบน้ำจะช่วยให้หลับสบายขึ้น
การสระผม ใน 1 สัปดาห์ควรสระ 3-5 ครั้ง เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกบนหนังศีรษะ ลดอาการคัน และเพื่อป้องกันการขาดหลุดล่วงของเส้นผม
การแปรงฟัน ควรแปรงอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดเศษอาหาร ป้องกันฟันผุ และป้องกันโรคเหงือกอักเสบได้
ให้แรงเสริมและให้คำชมเชยเมื่อผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง หรือสามารถบอกวิธีการดูแลตนเองที่ถูกต้องได้
Sleep deprivation related to Anxiety.
รับฟังปัญหาของผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกและซักถามปัญหาหรือสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและแผนการรักษาที่ผู้ป่วยจะได้รับให้ผู้ป่วยเข้าใจ
แนะนำผู้ป่วยให้ปฏิบัติในสิ่งที่จะทำให้นอนหลับได้ เช่น สวดมนต์ นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจดจ่อกับสิ่งๆ หนึ่ง ไม่จดจ่อกับความวิตกกังวลมากเกินไป
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนของการกลับบ้านและระเบียบของโรงพยาบาล เกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วย
Disturbed Sensory Perception (Auditory) related to auditory distortions
ประเมินสภาพจิต (Mental status examination) โดยเฉพาะความผิดปกติด้านคิดและการรับรู้
บอกข้อมูลที่เป็นจริง (Present reality) กับผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยบอกว่าได้ยินเสียงคนมาด่า ซึ่งขณะนั้นไม่มีเสียงใครเลย นักศึกษาบอกให้ผู้ป่วยรู้ว่าไม่มีเสียงใครในขณะนั้น
ฝึกทักษะการจัดการกับอาการหูแว่ว เช่น การพูดคุยกับบุคคลอื่นในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องหูแว่ว การร้องเพลงกลบเสียงที่ได้ยิน การดูและฟังเสียงโทรทัศน์เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
ให้ผู้ป่วยแยกแยะว่าอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอย่างไร อาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด หรือมีเหตุการณ์อะไรนำมาก่อน
Defensive coping related to excessive use off projection and denial
อธิบายพฤติกรรมที่เป็นปัญหาให้ผู้ป่วยเข้าใจและแนะนำพฤติกรรมที่เหมาะสม
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก และให้อธิบายถึงคำพูดที่ว่า "แค่โวยวายเองทำไมต้องมาโรงพยาบาลด้วย" โดยไม่โต้แย้งหรือหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหาดังกล่าว ให้ความสำคัญ ตั้งใจฟังผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและรับฟังผู้ป่วยด้วยท่าทีที่เป็นมิตร
เมื่อผู้ป่วยลดความไม่สบายใจลงแล้ว ร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
สอนผู้ป่วยเกี่ยวกับทักษะทางสังคม และให้กำลังใจผู้ป่วยในการฝึกทักษะเหล่านี้ เช่น ทักษะการสื่อสาร การพูด การฟัง การทำงานร่วมกัน เป็นต้น
วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางจิต
ในทางทฤษฎี
ปัจจัยด้านพันธุกรรม (Genetic factors)
ปัจจัยด้านชีววิทยา (Biological factors)
มีการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยจิตเภท มีความสัมพันธ์กับ dopamine ในสมอง โดยมีข้อค้นพบดังนี้
ผู้ป่วยจิตเภท มีปริมาณสาร dopamine ในสมองมากเกินไป
มีจำนวน post synaptic recepter มากเกินปกติ
มีความไม่สมดุลระหว่าง excitatory action ของ acetylcholine กับ inhibitory action ของ dopamine และ Gamma -amino butyric acid
ปัจจัยด้านจิตใจ (Psychological factors)
จากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ พบว่าเป็นความผิดปกติจากพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลในวัยเด็ก โดยเฉพาะในขวบปีแรก มีผลให้เกิดพยาธิสภาพส่วนที่ทำหน้าที่ในการปรับตัว การควบคุมพฤติกรรม และการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น โดยเฉพาะพัฒนาการ ด้าน ภาษา สติปัญญา การคิด ความจำ การตัดสินใจ ความสนใจ และการรับรู้
ผู้ป่วยอาจมีการรับรู้ และไวต่อความเครียดมากกว่าปกติ และสามารถตอบสนองต่อความเครียดได้ไม่ดี
ผู้ป่วยมีความขัดแย้งในจิตใจ ที่เกิดจากสัญชาตญาณธรรมชาติมีมากและไม่สามารถควบคุมได้ ขาดสำนึกในการควบคุมตนเอง และความรู้สึกผิด ชอบ ชั่ว ดี ชอบเอาชนะ และขัดแย้งกับผู้อื่น เกิดความคับข้องใจ ไม่แน่ใจ (ambivalence)
ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factors) สภาพสังคมที่บีบคั้น ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีภายในครอบครัว และการแสดงออกทางอารมณ์ของครอบครัวก็ส่งผลต่อการป่วยได้ด้วยเช่นกัน
ตัวผู้ป่วยเอง
ปัจจัยด้านพันธุกรรม (Genetic factors) : ผู้ป่วยปฏิเสธปัจจัยทางด้านพันธุกรรม
ปัจจัยด้านชีววิทยา : อาจเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง dopamine สูงขึ้น ให้ประวัติว่าาสูบบุหรี่ 5 มวล/วัน
ปัจจัยด้านจิตใจ : ผู้ป่วยมีประวัติย้ายที่ทำงานบ่อยครั้งเนื่องจากทะเลาะกับเพื่อนร่วมงานเรื่องใส่ร้าย คอยกลั่นแกล้ง และผู้ป่วยให้ประวัติว่าชอบอยู่คนเดียว เวลามีเรื่องเครียดจะเก็บไว้ไม่ปรึกษาใคร ใช้กลไกทางจิตแบบ โทษผู้อื่น Projection
ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม : ผู้ป่วยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผูอื่น เปลี่ยนที่ทำงานบ่อยครั้ง
นางสาวสุภิญญา คำพันธ์ 61122230090