Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) - Coggle Diagram
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Classical Conditioning)
หลักการเรียนรู้
การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้นที่เป็นผลของการเรียนรู้
การทดลองของพาฟลอฟฟ
ทดลองกับสุนัข
วิธีการทดลอง
ทดลองโดยการสั่นกระดิ่งแล้วเอาผงเนื้อใส่ปากสุนัข ทำซ้ำๆ กันหลายๆ ครั้ง ครั้ง ตามปกติสุนัขจะหลั่งน้ำลายเมื่อมีผงเนื้อในปาก แต่เมื่อนำผงเนื้อมาคู่กับกระดิ่งเพียงไม่กี่ครั้ง เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวก็ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้แสดงว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แล้ว
สรุปผลการทดลอง
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ควรเริ่มจากการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขก่อน แล้วจึงเสนอสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข
กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
3. การลบพฤติกรรม
เป็นการงดสิ่งเสริมแรงจนในที่สุดพฤติกรรมที่เคยปรากฏจะไม่ปรากฏอีก
2. การจำแนก
คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
1. การแผ่ขยาย
คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกันได้
สรุปหลักการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ
การจำแนกความแตกต่าง
การฟื้นคืนสภาพการตอบสนองจากการวางเงื่อนไข
การลบพฤติกรรมชั่วคราว
การสรุปความเหมือน
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning Theory)
การทดลองของสกินเนอร์
ทำการทดลองกับหนู
จับหนูที่กำลังหิวใส่ลงไปในกล่องทดลองปรากฏว่าหนูวิ่งไปวิ่งมา จนกระทั่งไปเหยียบถูกคานเข้าโดยบังเอิญทำให้ไฟสว่างขึ้น และหลังจากนั้นก็มีอาหารหล่นลงมาสู่จาน หนูจึงได้กินอาหารซึ่งเป็นการเสริมแรงต่อการกดคานจากนั้นหนูก็วิ่งไปวิ่งมาอีก จนกระทั่งไปกดคานอย่างรวดเร็ว และได้อาหารทุกๆ ครั้ง
สรุป
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์เป็นหลักการที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้วยการให้สิ่งเร้าที่เป็นตัวเสริมแรง หลังจากที่ได้มีการกระทำตามเงื่อนไขแล้ว การเสริมแรงทุกครั้งจะมีส่วนช่วยทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ของอินทรีย์มีอัตราการตอบสนองที่เข้มข้นขึ้น
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
การทดลองของธอร์นไดค์
ทดลองกับแมว
สร้างกรงปัญหา (Puzzle Box) ซึ่งทำด้วยไม้ และมีประตูกลเขาจับแมวที่อดอาหารจนหิวใส่กรงปัญหา และปิดประตูกลให้เรียบร้อย โดยการวางจานอาหารไว้นอกกรงให้แมวเห็น แต่ในระยะที่แมวเขี่ยไม่ถึง สถานการณ์เหล่านี้เป็นการสร้างปัญหา เพื่อให้แมวหาทางออก มากินอาหารให้ได้ ธอร์นไดค์ใช้เวลา 5 วันในการทดลองโดยแบ่งเป็นช่วงเช้าและบ่าย วันละ 20 ครั้ง รวมทั้ง 100 ครั้ง และเมื่อทดลองครบ 10 ครั้ง แมวจะได้กินอาหารและหยุดพัก
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้ความสัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นการเน้นสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหา เมื่อผู้เรียนพบปัญหาเขาจะมีปฏิกิริยาแบบเดาสุ่มซึ่งเป็นการลองผิดลองถูก ผู้เรียนจะลองทำหลายวิธี จนกระทั่งประสบความสำเร็จในที่สุด
จึงสรุปว่า การเรียนรู้ของแมวมีลักษณะ “ลองผิด ลองถูก” (Trial and Error) มิใช่เนื่องมาจากสติปัญญา