Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทบาทของสตรีไทยในประวัติศาสตร์ไทย - Coggle Diagram
บทบาทของสตรีไทยในประวัติศาสตร์ไทย
ช่วงเวลานับแต่มีการบันทึกหลักฐานมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
1.1บทบาททางการเมือง
มีการกล่าวถึงสตรีที่มีบทบาทเกี่ยวข้องด้านการเมืองการปกครองมีทั้งเรื่องการเมืองภายในราชวงศ์หรือราชสำนัก และการเมืองระหว่างรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อความมั่นคงและความสงบในประเทศ
1.2บทบาทด้านการปกครอง
การเข้ามามีอำนาจของสตรีกลุ่มนี้มักจะเป็นช่วงเวลาที่เกิดช่องว่างทางอำนาจ สตรีที่มีบทบาทโดดเด่นในด้านนี้ คือ
พระนางจามทีวี พระนางเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ทราวดีแห่งเมืองละโว้ พระนางและราชวงศ์ได้ให้ความอุปถัมภ์ทำนุบำรุงทางพระพุทธศาสนา ศาสนสถานต่างๆในเมืองลำพูน ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน
พระนางมหาเทวีสุโขทัย บทบาทการปกครองกรุงสุโขทัยในระหว่างที่มหาธรรมราชาที่ 1 ไปปกครองเมืองสรสองแคว พระนางยังในฐานะพระเทวีของขุนหลวงพะงั่วด้วย
พระมหาเทวีล้านนา ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และตำนานราชวงศ์ได้กล่าวถึงสตรีที่มีบทบาททางการปกครองไว้หลายองค์
แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ พระนางได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
1.3บทบาทในด้านการรบและการสงคราม
สตรีสูงศักดิ์แห่งล้านนา เจ้านายสตรีได้มีบทบาทในการเพื่อปกป้องบ้านเมืองและช่วยแผ่ขยายอำนาจ
สมเด็จพระสุริโยทัย พระองค์ได้โดยเสด็จพระสวามิในการป้องกันบ้านเมืองจากศึกพม่า
เจ้าศรีอโนชา เมื่อคราวเกิดกบฏพระยาสรรค์ยึเกรุงธนบุรีในตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เจ้าศรีอโนชารวบรวมบริวารปกป้องครอบครัวและช่วยเหลือ
1.4บทบาทในการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีทางเครือญาติ
การเสริมสัมพันธไมตรี การสร้างความดีความเป็นญาติทั้งในและนอกราชอาณาจักร
การแสวงหาพันธมิตร เช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ทรงพระราชทานพระเทพกษัตริและพระแก้วฟ้าให้ไปอภิเษกกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พระเจ้ากรุงล้านช้าง ถึงแม้การอภิเษกจะถูกขัดขวางพม่า แต่อาณาจักรทั้งสองก็ยังคงมีไมตรีต่อกัน
เมื่อตกอยู่ใต้อาณาจักรอื่น การสร้างสัมพันธไมตรีจะเป็นการถวายพระราชธิดา เพื่อแสดงถึงความจงรักภกดี
เมื่อมีการเปลี่ยนผุ้นำ การประสานสัมพันธไมตรีผ่านการแต่งงานระหว่างผู้นำใหม่และสตรีในราชวงศ์เก่าเพื่อให้เกิดการยอมรับในอำนาจเพื่อสร้างความชอบธรรมในการสืบราชบัลลังก์
1.5บทบาททางสังคม เจ้าสตรีและสตรีสูงศักดิ์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องวิชาหนังสือและรอบรู่ในวิชาการ แขนงต่างๆ
ด้านการการศึกษา 1.เจ้าฟ้าพินทวดี พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงรอบรู้เชี่ยวชาญในขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณี
2.พระองค์เจ้าบุตรี พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 ได้ยอมรับว่ามีความเชี่ยวชาญ แตกฉาน รอบรู้ในวิชาการต่างๆ