Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่5หญิงไทย อายุ 30 ปี - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่5หญิงไทย อายุ 30 ปี
(CC) : ปวดแน่นลิ้นปี่ 2 day PTA
(PI) : 5 yrs PTA ปวดแสบใต้บริเวณลิ้นปี่เวลาหิว เป็นๆ หายๆ กินยาลดกรด อาการปวดบรรเทาเป็นครั้งคราว ถ้าอาเจียนแล้วจะปวด ลดลง 2 day PTA ปวดแน่นลิ้นปี่คล้ายจะเป็นลม ประจำเดือนครั้ง สุดท้ายเมื่อสองอาทิตย์ก่อน
การตรวจร่างกาย (PE)
Vital sign T=37 °C, HR=120 ครั้ง/นาที, R=24 ครั้ง/นาที, BP 130/82 mmHg
GA : Thai adult female.
Abdomen : tenderness at epigastrium, mild guarding
Problem list
-tenderness at epigastrium
-tachypnea
Differential diagnosis
1.Gastritis (โรคกะเพาะอาหาร)
กรดไหลย้อน (Gerd)
โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer)
Impression
Gastritis (โรคกะเพาะอาหาร)
1.Gastritis (โรคกระเพาะอาหาร
ทฤษฎี
อาการของโรคจะมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังบริเวณใต้ลิ้นปี่ เวลาปวดมักจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ก่อนหรือหลังอาหาร จะมีอาการปวดแสบ จุกแน่น อาจมีอาการคลื่นไส้ เรอเปรี้ยว กรณีที่มีแผลบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นมักมีอาการปวดท้อง หลังอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง จะปวดมากขึ้นในช่วงบ่าย เย็น ตอนดึก อาการจะดีขึ้นทันทีหลังรับประทานอาหาร ดื่มนม รับประทานยาลดกรด
สาเหตุหลักของโรคกระเพาะอาหารเกิดจากการเสียสมดุลของกรดที่หลั่งออกมา ไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเยื่อบุกระเพาะอาหารมีความต้านทานกรดได้ไม่ดี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคที่พบมากในปัจจุบัน คือ การใช้ชีวิต ความเครียด ความกังวล ที่พบได้บ่อยในสังคมการทำงาน รวมถึงวิถีชีวิตในด้านการรับประทานอาหารที่ไม่ดีและการละเลยสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การอดอาหาร การรับประทานอาหารรสจัดเป็นประจำ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin ยาลดการอักเสบเป็นประจำ และอีกหนึ่งสาเหตุของโรคที่สำคัญ คือ การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือเรียกย่อๆ ว่า เอชไพโลไร (Helicobacter pylori มีการถ่ายทอดจากคนสู่คน จากการรับประทานอาหาร เชื้อจะเข้าสู่กระเพาะอาหารและเลื่อนเข้าสู่เซลล์เยื่อบุผิว ซึ่งเชื้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
การวินิจฉัย แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกาย และบางรายอาจส่งตรวจเพิ่มเติมด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และทำการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร
การรักษา การรับกระทานยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่ รับประทานยาต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด รับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย รับประทานอาหารในปริมาณที่ไม่มากเกินไป งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีน น้ำอัดลม หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดองทุกครั้งที่รับประทานอาหารควรเคี้ยวให้ละเอียด หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่เสตอรอยด์ ยาสเตอรอยด์ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งที่ใช้ยา หลีกเลี่ยงความเครียด ความกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
คำแนะนำ ล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือจับสิ่งสกปรก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่อาจปะปนเข้าไปในร่างกาย เลือกรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนของเชื้อโรค รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ในปริมาณที่พอดีในแต่ละมื้อ ช่วยให้การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเป็นไปตามปกติ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารบ่อย ๆ เช่น อาหารรสจัด อาหารประเภททอด อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงหรือมีไขมันมาก
กรณีศึกษา
อาการ ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดแน่นลิ้นปี่ คล้ายจะเป็นลม ปวดเมื่อหิว ตรวจร่างกายพบอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี และท้องแข็ง
คำแนะนำ แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งและรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและแอลกอฮอล์
กรดไหลย้อน (Gerd)
ทฤษฎี
อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก การนอนหงาย มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ผู้ป่วยมักมีอาการเรอและมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก จนทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหารขึ้น ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบมีเลือดออกจากหลอดอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมออกบ่อยๆ หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ
สาเหตุ ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร
การวินิจฉัย แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคจากอาการที่กล่าวมา หากปฏิบัติตามคำแนะนำหรือรับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น
การรักษา การรับประทานยา เช่น ยาเคลือบกระเพาะอาหารรักษาแผล ยาลดกรด การผ่าตัด อาจแนะนำในกรณีต่อไปนี้ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเป็นเวลานานแล้วไม่สามารถควบคุมอาการหรือหยุดยาได้ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาเป็นเวลานานและมีผลข้างเคียงจากยา
คำแนะนำ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง ปรับหรือหนุนหัวให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer)
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori เชื้อ H.pylori สร้าง Urease enzyme ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น urea เป็น Ammonia และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดย Ammonia จะไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากการรับประทานยาที่ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร เช่น ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAIDs ) ผู้ป่วยที่รับประทานยา NSAIDs เช่น Diclofenac, Mefenamic เป็นต้น ยาเหล่านี้จะไปลด prostaglandin ซึ่งเป็นสารป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหาร
อาการปวดท้องเป็นๆ หายๆ แสบบริเวณกลางยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ (Heart burn) เวลาปวดสัมพันธ์กับมื้ออาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้1. แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer) : อาการปวดไม่จำเพาะเจาะจง และอาจปวดทางด้านซ้ายของท้อง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ปวดหลังอาหารประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง มักปวดหลังจากรับประทานอาหารแล้ว 2. แผลที่เกิดบนเยื่อบุลำไส้เล็ก (Duodenal ulcer) : ปวดบริเวณกึ่งกลางลิ้นปี่ ปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ เป็นหลังอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือตอนกลางคืน อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังรับประทานอาหาร ดื่มนม ยาลดกรด หรืออาเจียน
การรักษา รับประทานอาหารให้ตรงเวลา งดการรับประทานชา กาแฟ แอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนละ เลิก การสูบบุหรี่ กลุ่มยาลดกรด , เคลือบแผล เช่นAntacids H2 Blocker Proton Pump Inhibitor (PPIs) Misoprostol ยับยั้งการหลั่งกรดและเพิ่มการสร้างเยื่อบุกระเพาะอาหาร ห้ามใช้หญิงตั้งครรภ์ อาการข้างเคียงที่สำคัญ คือ คลื่นไส้อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องเสีย Sucrafate ช่วยเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหาร จึงป้องกันการทำลายจากกรดในกระเพาะอาหาร โดยยานี้จะดูดซึมดีในสภาวะเป็นกรด ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกับยากลุ่ม H2 Blocker หรือ Antacid
แผน Investigate
การซักประวัติ –การรับประทายา –ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ผลทางห้องปฏิบัติการ -X-ray ระบบทางเดินอาหาร
Treatment
การให้ยารักษา โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลา ที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะ ลดยาหรือหยุดยาวได้
Health education
กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง หรือหิว ถ้าหิวก่อนเวลาให้ดื่มนม หรือ น้ำเต้าหู้ น้ำข้าว น้ำผลไม่ได้
2.หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด จากน้ำสมสายชู
งดดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ ยาดอง
งดการสูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข้ที่มีแอสไพริน หรือยาชุดต่างๆ รวมทั้งยาแก้ปวด กระดูก และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอน ยาหม้อต่างๆ
ควรพักผ่อนให้มากเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานผ่อนคลายเครียดวิตกกังวล และ ไม่หงุดอารมณ์เสียง่าย
กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ากินยาแล้วอาการดีขึ้น ต้องกินยาติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ ไม่ควรหยุดยาก่อน เพราะอาการปวดท้องจะกำเริบได้อีก
ควรออกกำลังกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
9.อย่าซื้อยากินเอง มีโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์
บรรณานุกรม
กนกพร สุขโต.(2557). ดีสเปปเซีย อาการธรรมดา ที่ไม่ธรรมดาในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563,จาก How to approach “Dyspepsia” in Primary care (mahidol.ac.th).
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.โรคกระเพาะอาหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563,จาก โรคกระเพาะอาหาร –คณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี med.mahidol.ac.th.