Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Necrotizing fasciitisโรคแบคทีเรียกินเนื้อ - Coggle Diagram
Necrotizing fasciitisโรคแบคทีเรียกินเนื้อ
อาการของโรค
กรณีศึกษา มีอาการขาซ้ายบวมแดงมากขึ้น มีตุ่มน้ำ มีไข้สูง หายใจหอบมาก
5.อาการของโรควันที่ 4-5 จะมีความดันโลหิตต่ำ และมีภาวะโลหิตเป็นพิษ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้สึกตั
ว
4.อาการของโรควันที่ 2-4 พบว่าบริเวณที่บวมจะกว้างกว่าบริเวณผิวหนังที่แดง มีผื่นผุพองซึ่งบ่งบอกว่าผิวหนังขาดเลือด และมีเลือดออก ผิวมีสีออกคล้ำเนื่องจากผิวหนังเริ่มตาย เมื่อกดผิวจะพบว่าแข็งไม่สามารถคลำขอบของกล้ามเนื้อได้ อาจจะคลำได้กรอบแกรบใต้ผิวหนัง เนื่องจากเกิดแก๊สใต้ผิวหนัง
3.อาการของโรควันที่ 1-2 มีอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค บวม และแดง ลักษณะจะคล้ายกับผิวหนังอักเสบหรือไฟลามทุ่ง แต่โรคเนื้อเน่าเกิดในชั้นลึกกว่านั้นซึ่งมองไม่เห็น อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นซึ่งไม่สอดคล้องกับอาการทางผิวหนังที่ตรวจพบ ไม่ตอบสนองต่อยาปฎิชีวนะ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัวหัวใจเต้นเร็ว มีลักษณะอาการขาดน้ำ
อาการของโรคแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรค
1.ไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน เหงือออก เป็นลม ช๊อกหมดหมดสติ
สาเหตุ
พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เกษตรกรดำนาไม่สวมใส่รองเท้า มีบาดแผลตามร่างกายและได้รับสิ่งสกปรกเข้าไป
กลุ่มผู้ที่ใช้ยา Steroid
กลุ่มผู้ป่วยโรคผิวหนัง อาจเกิดหลังจากป่วยเป็นโรคไข้สุกใส
กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น ติดสุรา ติดยาเสพติด โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรค เป็นต้น
กลุ่มผู้ที่มีบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ แล้วไม่มีการทำความสะอาดดูแลแผลให้ดี หรือไม่ถูกต้องจนการติดเชื้อลุกลาม
กรณีศึกษา ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ทำให้ต้องคลานไปตามพื้นทำให้เกิดแผลตามขา และผู้ป่วยดูแลทำความสะอาดแผลไม่ถูกต้องและบาดแผลสัมผัสกับพื้นตลอดเวลาทำให้แผลติดเชื้อ
การวินิจฉัยโรคแบคทีเรียกินเนื้อ
ตรวจตัวอย่างของเหลวหรือเนื้อเยื่อ เพื่อตรวจหาแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคนี้
ตรวจเลือดหรือตรวจภาพถ่าย แพทย์อาจตรวจเลือดและตรวจด้วยเครื่อง CT Scan หรือ
MRI Scan เพื่อหาสาเหตุของอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น รวมทั้งตรวจดูความเสียหายของกล้ามเนื้อ
ตรวจร่างกาย เพื่อดูอาการผิดปกติทางผิวหนัง เช่น คลำได้ฟองอากาศใต้ผิวหนัง เป็นต้น
กรณีศึกษา ตรวจผิวหนังพบ มีตุ่มน้ำพี่ผิวหนัง มีการบวมแดง ร้อน
การรักษา
การใช้ยา ผู้ป่วยอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ซึ่งแพทย์มักให้ยาหลายชนิดร่วมกันทางหลอดเลือดดำ
และยาควบคุมความดันโลหิต รวมทั้งสารภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะติดเชื้อ
การผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดกำจัดเนื้อเยื่อที่เสียหายหรือตาย
เพื่อหยุดการกระจายของเชื้อ รวมทั้งอาจต้องตัดแขนหรือขาในบางกรณีหากการติดเชื้อลุกลามหรือรุนแรง
วิธีอื่น ๆ เช่น
ติดตามผลการประเมินสัญญาณชีพของผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ
รักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง โดยให้ผู้ป่วยสูดออกซิเจนบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อช่วยรักษาเนื้อเยื่อที่ปกติ
ถ่ายเลือดให้ผู้ป่วย
กรณีศึกษา ผู้ป่วยได้ทำการผ่าตัด Wide Excision Debridement With Fasciotomy
และได้รับยา ปฏิชีวนะ คือ meropenem