Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผลกดทับ(Pressure sores) - Coggle Diagram
แผลกดทับ(Pressure sores)
อาการ
ระยะที่ 2 แผลกดทับระยะนี้เป็นแผลเปิดหรือมีแผลตุ่มน้ำพอง เนื่องจากหนังกำพร้าบางส่วนและหนังแท้ถูกทำลาย ส่งผลให้ผิวหนังหลุดลอก ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บที่แผลมากขึ้น
ระยะที่ 3 แผลจะมีลักษณะเป็นโพรงลึก ซึ่งอาจเห็นไขมันที่แผล เนื่องจากผิวหนังทั้งหมดหลุดออกไป รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนังถูกทำลาย
ระยะที่ 1 แผลกดทับระยะนี้จะไม่เปิดออก มีลักษณะอุ่น นุ่มหรือแข็ง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและระคายเคือง ผิวหนังบริเวณแผลจะไม่มีสี ผู้ที่มีผิวขาวอาจเกิดรอยแดง ส่วนผู้ที่มีผิวเข้มอาจเกิดสีเขียวอมม่วง เมื่อกดลงไปบนแผล แผลจะไม่กลายเป็นสีขาว
ระยะที่ 4 แผลกดทับระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุด โดยผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายอย่างรุนแรง รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตายหรือที่เรียกว่าเนื้อเยื่อตายเฉพาะส่วน (Tissue Necrosis) กล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ลึกลงไปอาจถูกทำลายด้วย
สาเหตุ
-
แรงเฉือน ชั้นผิวหนังถูกรั้งกันไว้ มักเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยนอนไถลตัวลงมาในขณะที่เตียงปรับระดับสูง ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณก้นกบเกิดการดึงรั้ง
แรงกด หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกกดทับเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงไม่เพียงพอ เมื่อไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่ลำเลียงมากับเลือดไปหล่อเลี้ยง เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ จึงถูกทำลายและอาจตายได้
-
-
-
อายุมากขึ้น ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่น เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังน้อยลง รวมทั้งไขมันใต้ผิวหนังลดลง
ปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายและปัสสาวะ ผู้ป่วยที่ประสบภาวะกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้จะมีผิวหนังบางส่วนที่อับชื้น ซึ่งทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และทำให้เกิดแผลกดทับตามมาด้วย
-
การวินิจฉัย
พิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย ได้แก่ สุขภาพโดยรวม สมรรถภาพการเคลื่อนไหวร่างกาย ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการจัดท่าทาง อาการบ่งชี้การติดเชื้อ ภาวะสุขภาพจิต ประวัติการเกิดแผลกดทับ ปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาววะและอุจจาระ โภชนาการ และระบบไหลเวียนโลหิต
ตรวจเลือดเพื่อประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และดูว่าได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่
-
การวินิจฉัยแผลกดทับสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยสังเกตอวัยวะต่าง ๆ ว่าผิวหนังมีสีผิวซีดลง แข็ง และนุ่มกว่าปกติหรือไม่ หากพบว่าเกิดอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไปทันที
การรักษา
การดูแลแผล แผลปิด ให้ล้างแผลด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอ่อน ๆ และเช็ดให้แห้ง แผลเปิดออกให้ล้างด้วยน้ำเกลือสำหรับล้างแผลทุกครั้ง พันแผลเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากช่วยให้แผลชุ่มชื้นอยู่เสมอ อีกทั้งยังลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
-
-
-