Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
ปัญหาสุขภาพครอบครัวที่พบบ่อยรวมถึงปัญหาการดูแลครอบครัวเสี่ยงและครอบครัววิกฤต
ปัญหาสุขภาพครอบครัวที่พบบ่อย
ปัญหาของผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายนอก
พื้นไม่เรียบ ขรุขระหรือลื่น
ที่จับยึดไม่เหมาะสม
แสงสว่างที่ไม่เพียงพอ
หรือจ้าเกินไป
มีสิ่งกีดขวางการเคลื่อนไหว
เครื่องช่วยในการเคลื่อนไหวไม่เหมาะสม
การทำภาระหน้าที่ประจำวัน
อยู่บ้านสองชั้น
ไม่มีผู้ช่วยเหลือ
ปัจจัยภายใน
ระบบการมองเห็น ในผู้สูงอายุการมองเห็นจะเสื่อมลงทำให้การปรับตัว
ต่อการมองเห็นลดลง
ระบบการได้ยิน การเสื่อมของหูชั้นในร่วมกับเส้นประสาทคู่ที่ 8จึงมักมีอาการเวียนศีรษะ
ระบบประสาทและประสาทสัมผัส เซลล์สมองและเซลล์ประสาทจะมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ทำให้การเคลื่อนไหวช้าลง จนบางครั้งทำให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอาจทำงานไม่สัมพันธ์กันโดยเฉพาะการทำงานของขาทั้งสองข้าง
ระบบหัวใจและหลอดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจจะฝ่อลีบ เกิดพังผืด ทำให้
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ลดลงโดยเฉพาะสมอง จึงทำให้ผู้สูงอายุเวียนศีรษะได้ง่าย
ระบบกระดูก การเสื่อมของกระดูกจะมีมากกว่า อัตราการสร้างเซลล์กระดูกลดลง แคลเซียมสลายออกจากกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้มีการเสื่อม
ของข้อ ข้อติดแข็ง เคลื่อนไหวไม่สะดวก กระดูกเปราะและหักง่าย
ระบบกล้ามเนื้อ ความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อจะเริ่มลดลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวช้าลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวช้าลง
ระบบทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะจะอ่อนกำลังลงกำลังในการหดตัวของกระเพาะปัสสาวะลดลง จึงส่งผลให้ผู้สูงอายุปัสสาวะบ่อยขึ้นทำให้เกิดความรีบเร่งเพื่อไม่ให้ปัสสาวะราดจึงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ปัจจัยส่งเสริม
อายุ
เพศ เพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย
ปัจจัยทางอายุรกรรมและศัลยกรรม
การใช้ยาที่มีผลต่อการทรงตัว
ความง่วงในตอนกลางวัน
การป้องกันปัญหาสุขภาพครอบครัว
การป้องกันก่อนเกิดปัญหา
ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวควรมีอุปกรณ์ช่วยในการป้องกันการหกล้ม เช่น walker ไม้เท้า
ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ดูแลจะต้องให้ผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมต่างๆ ทีที่ผู้สูงอายุทำไม่ได้หรือทำได้แต่ไม่ถนัด ในกรณีทีผู้สูงอายุอยู่บ้านคนเดียวหรือมีเฉพาะผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน จะต้องใช้พลังของชุมชน เช่น อสม. อผส. ในการช่วยเหลือเยี่ยมบ้านและตรวจดูความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุเป็นประจำและสม่ำเสมอ
ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในบ้าน 2 ชั้นให้อยู่ชั้นล่างและใกล้ห้องน้ำ
ปรับสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านและภายในตัวบ้าน ให้มีสิ่งกีดขวางทางเดินน้อยที่สุด
ผู้สูงอายุที่มีการใช้ยาที่ส่งผลทำให้การทรงตัวผิดปกติ ต้องขอคำแนะนำจากแพทย์ในการปฏิบัติตัวขณะใช้ยา
การออกกำลังกายโดยการฝึกร่วมกับจังหวะดนตรี จะทำให้ผู้สูงอายุมีกล้าม
เนื้อและกระดูกที่แข็งแรงจะส่งผลให้การทรงตัวดีขึ้น
ภาวะวิกฤตในครอบครัว
สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤต
การเสื่อมของระบบต่างๆในร่างกายซึ้งทำให้ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตและมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้
ปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อการพลัดตกหกล้มได้เช่น ลักษณะของบ้านที่เป็น2ชั้น มีสิ่งกีดขวางเป็นต้น
การช่วยเหลือครอบครัวที่ประสบปัญหาโดยใช้กระบวนการพยาบาล
การประเมินครอบครัว
ประเมินความต้องการในการช่วยเหลือสนับสนุนผู้สูงอายุและครอบครัวทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมรวมถึงภาวะการเงิน
การวินิจฉัยครอบครัว
ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มสูงเนื่องจากอายุที่มากขึ้น กำลังในการทำกิจกรรมลดลง รวมทั้งขาดการดูแลเอาใจใส่
การวางแผนการพยาบาลครอบครัว
ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
(Fall risk assessment tool: HendrichII)
ติดต่อประสานงานกับ อสม.ให้เข้ามาดูแล ติดตามอาการ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดูแลกิจวัตรประจำวันของตนเองได้มากที่สุดโดยมีผู้ช่วยเหลือ
การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว
หากมีปัญหาในการทรงตัว หรือมีตัวแข็ง ขาเกร็ง ให้มี
เจ้าหน้าที่ช่วยประคองเวลานั่ง ยืน หรือเดิน
ผู้มีปัญหาเรื่องสายตา ให้ญาตินำแว่นตามาให้ มีปัญหาการได้ยิน ให้ญาตินำครื่องช่วยฟังมาให้รวมถึงจัดหาอุปกรณ์ช่วยเดินถ้ามีปัญหาเรื่องการเดิน
ช่วยดูแลกิจวัตรประจำวัน งดการเข้าห้องน้ำตามลำพัง
แนะนำผู้ป่วยให้ค่อยๆ เปลี่ยนท่าเวลาจะลุก จะนั่ง หรือจะยืน เพราะอาจจะทำให้หน้ามืดได้
หากได้รับยาให้อธิบายผลข้างเคียงให้ผู้ป่วยทราบและให้ระมัดระวังอุบัติเหตุ
ให้คำแนะนำญาติดูแลระวังอุบัติเหตุระหว่างญาติดูแล
จัดสิ่งแวดล้อม เพื่อความปลอดภัย
ให้คำแนะนำผู้ป่วยในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันหกล้ม
การสร้างสัมพันธภาพ
แนะนำตัวและพูดคุยเพื่อสร้างสัมพันธภาพและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้เกิดความไว้ใจระหว่างครอบครัวกับบุคลากรทีมสุขภาพเพื่อได้รับข้อมูลความต้องการของครอบครัวอย่างแท้จริงและตอบสนองตามความต้องการที่เหมาะสมภายใต้ขอบเขตที่สามารถพึงกระทำได้
การประเมินผลการพยาบาล
มีญาติหรือ อสม.คอยช่วยเหลือผู้สูงอายุในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุฝึกปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอยู่เสมอผู้งสูงอายปฏิบัติได้มากขึ้น
ผู้สูงอายุปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุ
ประเภทของภาวะวิกฤต
ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการของชีวิตหรือตามวุฒิภาวะของบุคคล(Development/Maturational Crisis)
เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและมีความเสื่อมของระบบต่างๆในผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาครอบครัวพ.ศ.2560-2564
ยุทธศาสตร์ที่1พัฒนาศักยภาพของครอบครัว
ให้ครอบครัวมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีสัมพันธภาพที่ดี และทำบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่2
สร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัว
สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและความปลอดภัยสำหรับครอบครัวเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
ยุทธศาสตร์ที่5
พัฒนากระบวนการสื่อสารสังคมเพื่อพัฒนาครอบครัว
พัฒนากระบวนใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ร่วมกันของครอบครัว
บทบาทพยาบาลต่อการดูแลครอบครัวเสี่ยงและครอบครัววิกฤต
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Change Agent)
เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตัวให้ผู้สูงอายุเห็นถึงการปฏิบัติตัวที่ปลอดภัยเพื่อให้เขาสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีและไม่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
เป็นผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)
ให้คำแนะนำ ความรู้เรื่องวิธีปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
เป็นผู้ประสานงาน(coordinator)
ประสานงานกับทาง อสม. อผส. ให้เข้าช่วยเหลือเยี่ยมบ้านและตรวจดูความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุเป็นประจำและสม่ำเสมอ
การพยาบาลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการดูแลและจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุและบริบทของครอบครัว
ให้ความมั่นใจว่าผู้สูงอายุและครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของทีมสุขภาพ และเปิดโอกาสให้ครอบครัวได้ตัดสินใจอย่างอิสระและร่วมวางแผนในการดูแลรักษาสุขภาพ
ให้การดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งการเปลี่ยนแปลง
ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ
ให้อิสระแก่ผู้ดูแลและครอบครัวในการเลือก
วิธีการรักษาพยาบาลตามความต้องการของตนเองและมีสิทธิ์ในการกำหนดเป้าหมายของตนเอง
ส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวหรือญาติมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือตามความต้องการของผู้ป่วย
มีความยืดหยุ่นสำหรับความต้องการของครอบครัว
อ้างอิง
Ozen, Demir, Gokce.(2020). A Determinant for Falls and Risk Factors in the
Elderly: DaytimeSleepiness.Continental Europe; Europe; Nursing; Peer
Reviewed,1-7.
http://web.a.ebscohost.com/ehost/detail/detail?
vid=3&sid=5163721c-5096-4906-943f-ac27624c514e%40sdc-v-
sessmgr03&bdata=JnNpdGU9ZWhvc3QtbGl2ZQ%3d%3d#AN
=142987220&db=ccm
นางสาววนิดา บุญมี เลขที่58 ห้อง2A รหัสนักศึกษา62123301116