Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยติดสารเสพติด - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยติดสารเสพติด
ขั้นการฟื้นฟู
ให้ข้อมูลและเฝ้าระวังเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (harm reduction) เช่นการติดเชื้อ HIV / AIDS จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นต้น
ประเมินความเสียง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่มีผลต่อการเสพสารเสพติด
ให้การบำบัดทางจิตสังคมและจิตวิญญาณประเมินผู้ป่วยและพิจารณาเลือกตามความเหมาะสม
-จิตสังคมบำบัด (Matrix program)
-จิตบำบัด (Psychotherapy) ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
-ชุมชนบำบัด (Therapeutic community)
-กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (self-help group)
-ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior modification Camp)
-กลุ่มบำบัดผู้ติดสุรา (Alcoholics Anonymous : AA)
-การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST model)
-การให้การปรึกษาทั้งรายบุคคลครอบครัวและรายกลุ่ม (individual / family / group / counseling
-การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy: CBT
-การบำบัดทางจิตวิญญาณ (spirituality intervention)
-การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ Motivation interviewing : MI
-การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivation Enhancement Therapy: MET)
-กลุ่มบำบัดแบบประคับประคอง (supportive group psychotherapy)
9.สอบถามเพื่อค้นหาปัจจัยทางบวกที่สนับสนุนการเลิกเสพสารเสพติด
สอบถามการวางแผนชีวิตหรือเป้าหมายชีวิตเมื่อออกจากโรงพยาบาล
ประเมินทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตเมื่อกลับบ้าน เช่นทักษะการสื่อสารทางบวก ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการปฏิเสธ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยให้เข้าร่วมการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัด
สอบถามและประเมินทักษะในการจัดการความเครียด (ปัญหา) และการเผชิญความเครียด (ปัญหา) เพื่อตรวจสอบว่าเลือกใช้วิธีการเผชิญปัญหาหรือใช้กลไกทางจิตที่เหมาะสมหรือไม่
ประเมินอาการปัญหาสุขภาพและใช้เครื่องมือหรือแบบประเมินต่างๆ ความเหมาะสม
ประเมินแรงจูงใจในการเลิกเสพสารเสพติด
ดูแลให้ทำกิจวัตรประจำวันและทำกิจกรรมตามตารางที่กำหนด
สอบถามความรู้สึกที่มีต่อตนเอง
เปิดโอกาสให้ได้ระบายความรู้สึกและสอบถามข้อที่กังวลใจ
สอบถามความตั้งใจในการเลิกเสพสารเสพติด
แนะนำตัวพยาบาลและแจ้งวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทุกครั้งเพื่อลดความวิตกกังวล
สอบถามใครเป็นคนสำคัญในชีวิตและตัวผู้ติดสารเสพติดเองมีความสำคัญต่อบุคคลอื่นอย่างไรเพื่อหาเป้าหมายในการเลิกเสพสารติด
สร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
ขั้นการเตรียมการ
ให้การปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ
การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ (Motivation interviewirg. MI)
ประเมินและคัดกรองใช้เครื่องมือหรือแบบประเมินต่างๆตามความเหมาะสม
การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivation Enhancement Therapy MET)
สัมภาษณ์ซักประวัติและตรวจร่างกาย
สร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ
ขั้นการติดตาม
การให้การปรึกษาทั้งรายบุคคลครอบครัวและรายกลุ่ม (Individual / family group / counseling) ตามความเหมาะสม
ให้ข้อมูลความรู้และเฝ้าระวังเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (Harm Reduction) เช่น การติดเชื้อ HIV / AIDS
เปิดโอกาสให้ได้ระบายความรู้สึกและสอบถามข้อที่กังวลใจ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ติดสารเสพติดผลกระทบและโทษภัยของสารเสพติดแหล่งข้อมูลและหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
สร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจกับผู้ติดยาและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ส่งต่อในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการต้องการความช่วยเหลือพิเศษอื่นที่ต้องประสานหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง เช่น อาชีพการจ้างงาน "การให้โอกาสทางการศึกษา
ติดตามเยี่ยมบ้านชุมชนสร้างความเข้าใจปัญหาร่วมกัน
นัดหมายมาพบที่สถานบำบัด / รพ. คลินิกหรือติดตามทางโทรศัพท์สอบถามจากผู้นำชุมชนหรือวิธีการอื่น ๆ เพื่อประเมินความก้าวหน้าและผลของการบำบัดรักษากปัญหาอุปสรรคความสำเร็จ
ขั้นการถอนพิษยา
จัดสิ่งแวดให้เหมาะสม สงบ ลดการกระตุ้น ให้มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของเวลาในวันหนึ่ง ๆ
ดูแลให้ได้พักผ่อนและนอนหลับในเวลากลางคืน
ประเมินความรุนแรงของการขาดสารเสพติด ด้วยการสังเกตอาการสอบถามอาการ ประเมินโดยใช้เครื่องมือ เช่น CIVA-Ar Scale คือ แบบประเมินอาการถอนพิษสุราด้วยยากลุ่ม Benzodiazepine เป็นต้น
ดูแลให้ได้รับอาหาร น้ำ สารน้ำ และยาตามแผนการรักษา
สังเกตอาการและเฝ้าระวังใกล้ชิด 24 ชม
บันทึกการเข้าออกของสารน้ำ (Record intake output)
วัดสัญญาณชีพ (Research vital signs) และบันทึกสัญญาณชีพตามเวลา และบันทึกการเปลี่ยนแปลง หากพบความผิดปกติรายงานแพทย์
ดูแลการรับประทานยาตามแผนการรักษา
เฝ้าระวังอุบัติเหตุและป้องกันอุบัติเหตุจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยปราศจากสิ่งที่ใช้เป็นอาวุธของมีคม
ให้การผูกมัด (physical restraint) กรณีที่สับสนมาก ควบคุมตนเองไม่ได้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้อื่น
ในเวลากลางคืนควรเปิดไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อลดอาการประสาทหลอน
ให้ข้อมูลความจริงกับผู้ป่วย (present reality) เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการประสาทหลอน (hallucination)
ในรายที่ไม่รู้วัน เวลา สถานที่ และบุคคล ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่ บุคคล แนะนำตัวเอง และเรียกชื่อผู้ป่วยบอกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อลดอาการสับสน
ใช้คำพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ กับผู้ป่วยในกรณีสับสน
ดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลและความสะอาดสิ่งแวดล้อม