Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
case study PP
image
นศพต.กุลวรา คงเกียรติก้อง - Coggle Diagram
case study PP
นศพต.กุลวรา คงเกียรติก้อง
ประวัติผู้ป่วย
ผู้ป่วยหญิงไทย หลังคลอด อายุ 25 ปี G2P1001 คลอดแบบ normal labor GA 41 week by date ทารกเพศชาย Apgar score 9, 10, 10 น้ำหนักแรกคลอด 3150 กรัม ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
รับใหม่ PP วันที่ 1 ธันวาคม 2563
รับไว้ในความดูแล วันที่ 2 ธันวาคม 2563
Term Pregnancy
active phase 2 hr.
fully dilate เวลา 16:00 น.
คลอดเวลา 16.30 น.
blood loss ที่ LR ประมาณ 100 ml
อาชีพ : เคยประกอบอาชีพพนักงานห้าง ปัจจุบันไม่ได้ทำงาน
ที่อยู่ ห้องเช่า แถวอ่อนนุช อาศัยอยู่กับลูกคนโต
ผู้ป่วยกับสามีแยกทางกัน ลูกคนโต เพศหญิง อายุ 4 ปี 9 เดือน
ประวัติการเจ็บป่วย
- ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เป็นโรคซึมเศร้า, ภูมิแพ้อากาศ
- แพ้ยา ceftriaxone ฉีดแล้วจะมีรอยแดงบริเวณที่ฉีด มีผื่นแดงขึ้น
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
- ปู่เป็นโรคเบาหวาน
- ลูกคนโตเป็นภูมิแพ้อากาศ
CC : น้ำเดิน 10:00 น. PI : น้ำเดิน ไม่มีมูกเลือด 10:00 น. เด็กดิ้นดีมากกว่า 10 ครั้ง/วัน มีท้องแข็ง แต่ไม่ถี่ ไม่มีจุกแน่นลิ่นปี่ ปวดหัว ไม่มีตาพร่ามัว ใจสั่น ไม่มีปัสสาวะแสบขัด
admit LR 13:00 น.
Total ANC 10 ครั้ง ที่โรงพยาบาลตำรวจ
-
-
-
คำแนะนำก่อนกลับบ้าน
แผลฝีเย็บ
- ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังปัสสาวะ หรืออุจจาระ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่ย้อนกลับ และซับให้แห้ง
- ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2-3 ชั่วโมง ห้ามใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
การบริหารร่างกาย
หลังคลอดแนะนำให้มารดาทำ Kegel exercise หรือการขมิบช่องคลอดซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อช่องคลอดกลับมาสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น และสามารถออกกำลังกายที่ไม่ใช้แรงเยอะ เช่นการทำงานบ้าน การทำอาหาร เป็นต้น
การนอนหลับพักผ่อน
หลังคลอดมารดาจะอ่อนเพลียจากการสูญเสียพลังงานในระยะคลอด ดังนั้นควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอวันละ 8-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะช่าง 2 สัปดาห์แรก
ประจําเดือน
มารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่จะไม่มีประจำเดือน แต่ถ้ามีประจำเดือนระหว่างให้นมบุตรไม่ถือว่าผิดปกติ โดยการให้นมแม่ไม่ใช่เป็นการคุมกำเนิตหากเกิน 3 เดือนไปแล้วสามารถตกไข่เมื่อโดก็ได้ ถ้าไม่มีการคุมกำเนิดประเภทอื่นก็อาจตั้งครรภ์ได้
น้ำนม
ควรกระตุ้นให้ทารกดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง หรือเมื่อทารกร้องหิวนม และควรให้อมลึกถึงลานนมดูดให้เกลี้ยงเต้าและดูแลให้ทารกได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึง 6 เดือนเมื่อครบ 6 เดือนเริ่มให้ทารกได้รับอาหารเสริมเช่นฟักทองบดเป็นต้น
มดลูก
ควรคลึงมดลูกให้กลมแข็ง และมดลูกควรลดขนาดลงวันละ 0.5-1 นิ้วเมื่อครบ 2 สัปดาห์จะไม่สามารถคลำพบก้อนที่บริเวณหน้าท้องได้ถ้ายังคลำพบอยู่แสดงว่ามดลูกยังไม่เข้าอู่ควรรีบมาพบแพทย์
การรับประทานอาหาร
ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้มีสารอาหารเพียงพอที่จะสร้างน้ำนมให้ลูก นอกจากนี้การรับประทานผลไม้ยังสามารถช่วยป้องกันท้องผูกได้อีกด้วย ในมารดาที่ให้นมบุตรควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วน และดื่มน้ำให้มาก ๆ วันละ 7-8 แก้ว
! อาหารที่เสริมสร้างน้ำนมให้แก่ทารกเช่นหัวปลีใบกะเพราน่าขังใบแมงลักมะละกอ
! อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคืออาหารประเภทหมักดองอาหารรสจัดชาหาแฟยาดองเหล้าและอาหารที่มีแอลกอฮอล์เนื่องจากสารเหล่านี้ถูกขับออกทางน้ำนมไต้ซึ่งลำไส้ของทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์ส่งผลให้ทารกอาจเกิดภาวะลำไส้อักเสบได้
เต้านม
การดูแลเต้านมวันที่ 2-3 วันแรกหลังคลอดมารดาจะมีน้ำนมสีเหลือง ๆ (Cloustrum) หลั่งออกมาโดยในน้ำนมตัวนี้ประกอบด้วยวิตามินแร่ธาตุสารอาหารที่ครบถ้วนรวมถึงภูมิคุ้มกันที่เสริมสร้างร่างกายให้แก่บุตรมารดาควรให้บุตรได้รับนมวันที่ 3 หลังการคลอดคุณแม่จะรู้สึกคัดตึงเต้านมและอาจมีไข้ได้จากการติดตั้งเต้านม (Milk fever)
น้ำคาวปลา
- 1-3 วันแรกหลังคลอดน้ำคาวปลามีแดงคล้ำและข้น
- 4-9 วันหลังคลอดน้ำคาวปลาสีแดงชมพูหรือสีเหลืองยึดได้
- 10 วันหลังคลอดน้ำคาวปลาสีเหลืองครีม ๆ จนถึงสีขาวและปริมาณลดลงจนไม่มีน้ำคาวปลา
! น้ำคาวปลาที่ผิดปกติจะมีสีเขียวกลิ่นเหม็นมากหรือมีสีแดงสดมีกลิ่นและปริมาณมากควรรีบมาพบแพทย์
การมีเพศสัมพันธ์
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอดเนื่องจากในระยะหลังคลอดมีน้ำคาวปลา และปากมดลูกยังปิดไม่สนิท และอวัยวะอื่น ๆ ภายในยังไม่กลับสู่สภาวะปกติอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
กิจวัตรประจำวัน
ระยะหลังคลอด 6 สัปดาห์แรกควรทำกิจกรรมที่ต้องไม่ออกแรงมากเช่นทำอาหารกวาดบ้านไม่ควรยกของหนักหรือกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องการ
การทำความสะอาดร่างกาย
มารตาอาบน้ำได้ตามปกติ แต่ไม่ควรแช่น้ำในอ่างหรือว่ายน้ำเนื่องจากปากมดลูกยังปิดไม่สนิทอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ทางช่องคลอดเกิดการติดเชื้อได้