Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒาการเปลี่ยนแปลง ของมนุษย์, ระยะแรก, วัยทารก เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ…
พัฒาการเปลี่ยนแปลง
ของมนุษย์
ระยะก่อนเกิด (Prenatal stage) คือตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงระยะคลอด
พัฒนาการในระหว่างการตั้งครรภ์แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะตัวอ่อน (the embryo) เริ่มตั้งแต่ zygote เคลื่อนตัวมาเกาะที่ผนังมดลูก ประมาณสัปดาห์ที่ 2 จนกระทั่งถึงสัปดาห์ที่ 8 ระยะนี้ถือเป็นระยะสำคัญที่สุดของทารกในครรภ์ ตัวอ่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและชัดเจน อวัยวะและระบบการทำงานในร่างกายจะพัฒนาขึ้น เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และอวัยวะต่างๆ
ระยะชีวิตใหม่หรือระยะที่เป็นตัวเด็ก (fetus period) เริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8 จนกระทั่งคลอด ระยะนี้เป็นระยะที่เปลี่ยนจากตัวอ่อน (embryo) มาเป็นทารก (fetus) มารดาจะรู้สึกว่ามีทารกอยู่ในครรภ์ โดยจะเริ่มรู้สึกว่าทารกมีการเคลื่อนไหวในสัปดาห์ที่ 16 เป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุด สัดส่วนโครงสร้างของร่างกาย อวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การเจริญเติบโตจะเป็นไปอย่างรวดเร็วประมาณ 20 เท่าของตอนเป็นตัวอ่อน เริ่มมีการสร้างขน ผม เล็บ และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก กระดูกจะแข็งแรงขึ้น
ระยะไซโกตหรือระยะที่ไข่ผสมแล้ว (period of the zygote or ovum) นับเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิจนถึงสัปดาห์ที่ 2 ปกติการฝังตัวจะเกิดขึ้นภายใน 10 วันนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ
วัยเด็ก เริ่มตั้งแต่อายุ 2 – 12 ปี
แบ่งออกเป็น 2 ช่วงอายุ ได้แก่
1. วัยเด็กตอนต้นหรือระยะวัยเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึง 6 ขวบ
พัฒนาการทางร่างกาย
ในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับระยะวัยทารกสัดส่วนของร่างกายจะค่อยๆ เปลี่ยนไป
พัฒนาการทางอารมณ์
เด็กในวัยนี้จะมีอารมณ์หงุดหงิดง่ายกว่าเด็กในวัยทารก ดื้อรั้นเอาแต่ใจ เจ้าอารมณ์ในระยะนี้เด็กโกรธง่ายเนื่องจากอยากเป็นตัวของตัวเอง ความสำเร็จในการเป็นตัวของตัวเองได้สมใจ
พัฒนาการทางสังคม
เด็กจะเริ่มรู้จักเข้าหาผู้อื่น เริ่มแสวงหาเพื่อนร่วมวัยเดียวกัน เด็กหญิงและเด็กชายเริ่มมองเห็นความแตกต่างระหว่างเพศ (Sex Difference) เริ่มตระหนักว่าตนเป็นเพศหญิงหรือชาย
พัฒนาการทางภาษา
ในระยะนี้เด็กใช้ภาษาพูดได้แล้วแต่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ดีเท่าผู้ใหญ่ เด็กจะพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาจนใช้งานได้ดีในช่วงระยะวัยเด็กตอนต้น เมื่อสิ้นสุดระยะนี้ไม่ว่าเด็กชาติไหนสามารถพูดภาษาแม่ของตนได้ดีเท่าผู้ใหญ่ วัย 6 ขวบเป็นระยะสุดท้ายของพัฒนาการ ภาษาพูด (Speech) นอกจากภาษาพูดแล้วเด็กบางคนเริ่มพัฒนาภาษาเขียนและเริ่มอ่านหนังสือ
2. วัยเด็กตอนต้นหรือระยะวัยเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 6 ขวบ จนถึง 12 ขวบ
พัฒนาการทางร่างกาย
เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในระหว่างนี้เป็นระยะที่เด็กหญิงโตเร็วกว่าเด็กชายวัยเดียวกันในด้านความสูงและน้ำหนัก ลักษณะเช่นนี้ยังคงดำรงต่อไปจนกระทั่งย่างเข้าสู่ระยะวัยรุ่นตอนปลาย เด็กชายจะโตทันเด็กหญิงและล้ำหน้าเด็กหญิง
พัฒนาการทางสังคม
มีลักษณะพัฒนาการทางสังคมที่เด่นชัด คือ เด็กเริ่มออกจากบ้านไปสู่หน่วยสังคมอื่น จุดศูนย์กลางสังคมของเด็กคือโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้บทบาทใหม่คือการเป็นสมาชิกของกลุ่มเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน เด็กจะได้รับการเรียนรู้ระเบียบกฎเกณฑ์ ความประพฤติที่ต้องปฏิบัติในสังคม
พัฒนาการทางอารมณ์
เด็กรู้จักกลัวสิ่งที่สมเหตุสมผลมากกว่าวัยก่อน เพราะความสามารถในการใช้เหตุผลของเด็กพัฒนาขึ้น มีความรู้สึกสงสารและเห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกของบุคคลอื่นมากขึ้น
พัฒนาการทางสติปัญญา
เด็กวัยนี้สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น รู้จักให้เหตุผลในการแก้ปัญหา รับผิดชอบและตัดสินใจได้ด้วยตนเองรับฟังคนอื่นมากขึ้น กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
วัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป
พัฒนาการด้านร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงทางกายและประสาทสัมผัส ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคนวัยชราจะเป็นไปในลักษณะเสื่อมโทรม ลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความชราภาพที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ
พัฒนาการทางด้านสังคม
ทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพของอิริคสัน ผู้สูงอายุอยู่ในขั้นพัฒนาการขั้นที่ 8 คือความมั่นคงและความหมดหวัง ( integrity vs. despair ) เป็นวัยที่สุขุม รอบคอบ ฉลาด ยอมรับความจริง ภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ให้บุตรหลาน และคนรุ่นหลัง มีความมั่นคงในชีวิต ตรงข้ามกับผู้สูงอายุที่ล้มเหลวจะไม่พอใจในชีวิตที่ผ่านมา ไม่ยอมรับสภาพที่เปลี่ยนไป รู้สึกคับข้องใจท้อแท้ในชีวิต
พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สมองจะฝ่อและมีน้ำหนักลดลง เลือดมาเลี้ยงสมองได้น้อย มีภาวะความดันโลหิตสูง เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและจำนวนเซลล์ลดลงตามอายุ ทำให้สมองเสื่อมหรือถูกทำลายไป มักพบอาการความจำเสื่อมโดยเฉพาะความจำในเหตุการณ์ปัจจุบัน
พัฒนาการด้านอารมณ์
อารมณ์ของผู้สูงอายุยังคงมีอารมณ์รัก ในบุคคลอันเป็นที่รักโดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว ได้แก่ คู่สมรส บุตร หลาน และเมื่อเกิดการสูญเสีย ผู้สูงอายุจะมีความเศร้าโศกอย่างมาก จะมีผลกระทบต่อจิตใจ สุขภาพกาย
2.วัยทารก เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 2 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
วัยทารกจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างของร่างกายและการรู้จักใช้อวัยวะต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทางการเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส ทารกที่อยู่ในช่วงนี้จึง ไม่ค่อยจะอยู่นิ่งชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม
พัฒนาการทางสติปัญญา
สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสติปัญญาในวัยนี้ ได้แก่ โอกาสที่เด็กจะได้เล่นเพราะการเล่นเป็นการส่งเสริมความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาและใช้ภาษาที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจ พัฒนาการของกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส
พัฒนาการทางอารมณ์
อารมณ์ของเด็กในวัยนี้จะเปลี่ยนแปลงง่ายรวดเร็วขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า อารมณ์โกรธมีมากกว่าอารมณ์อื่นๆ เพราะเป็นระยะที่เด็กพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง พยายามฝึกฝนตนเองเพื่อให้สามารถช่วยตนเอง
พัฒนาการทางสังคม
พฤติกรรมที่เด็กสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ตั้งแต่ บิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดู ขยายออกไปยังสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว บุคคลอื่นๆ ในชุมชน ในโรงเรียนและในสังคมที่ตนเองเป็นสมาชิก พฤติกรรมทางสังคมของแต่ละบุคคลจะแสดงออกมาอย่างไร ขึ้นอยู่กับอิทธิพลต่างๆ หลายประการ ที่บุคคลเรียนรู้และได้รับในวัยทารก เช่น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะที่เด็กได้รับอาหารการได้รับอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับเด็กในวัยนี้
วัยรุ่น ตั้งแต่อายุ 14 – 21 ปี
พัฒนาการทางร่างกาย
เจริญเติบโตถึงขีดสมบูรณ์(Maturation) เพื่อทำหน้าที่อย่างเต็มที่โครงสร้างกระดูกแข็งแรงขึ้น การผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในเด็กชาย การมีประจำเดือนของเด็กหญิงสุขภาพโดยทั่วไปของเด็กในวัยนี้ดีกว่าวัยที่ผ่านมา
พัฒนาการทางสังคม
เด็กให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมวัยมากกว่าในระยะเด็กตอนปลาย และผูกพันกับเพื่อนในกลุ่มมากขึ้น กลุ่มของเด็กไม่มีเฉพาะเพื่อนเพศเดียวกันเท่านั้นแต่เริ่มมีเพื่อนต่างเพศ เด็กชายและเด็กหญิงเริ่มสนใจซึ่งกันและกันและมีความพอใจในการพบปะสังสรรค์กัน
พัฒนาการทางอารมณ์
เด็กมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สับสน อ่อนไหว เด็กแต่ละคนเริ่มแสดงบุคลิกอารมณ์ประจำตัวออกมาให้ผู้อื่นทราบได้บ้างแล้ว เช่น อามรณ์ร้อน อารมณ์ขี้วิตกกังวล
พัฒนาการด้านสติปัญญา
วัยนี้สติปัญญาจะพัฒนาสูงขึ้น จนมีความคิดเป็นแบบรูปธรรม สามารถเรียนรู้ เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ได้ลึกซึ้งขึ้น มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ สิ่งต่างๆได้มากขึ้นตามลำดับจนเมื่อพ้นวัยรุ่นแล้ว จะมีความสามารถทางสติปัญญาได้เหมือนผู้ใหญ่ แต่ในช่วงระหว่างวัยรุ่นนี้ ยังอาจขาดความยั้งคิด มีความหุนหันพลันแล่น ขาดการไตร่ตรองให้รอบคอบ
วัยผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 21 – 40 ปี
พัฒนาการทางร่างกายวัยผู้ใหญ่
มีการพัฒนาทางร่างกายอย่างเต็มที่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ร่างกายสมบูรณ์ มีการพัฒนาความสูงมาจากวัยรุ่นและจะมีความสูงที่สุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นนี้ จะมีความสมบูรณ์เต็มที่ เช่น สายตา การได้ยิน ความสามารถในการดมกลิ่น การลิ้มรส จนกระทั่งเข้าสู่วัยกลางคนความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้จะลดลง
พัฒนาการด้านอารมณ์
วัยผู้ใหญ่จะมีการควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าวัยรุ่น คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น รู้สึกยอมรับผู้อื่นได้ดีขึ้น มีพัฒนาการด้านอารมณ์รัก
พัฒนาการด้านสังคม
สังคมของบุคคลวัยนี้คือ เพื่อนรัก คู่ครอง บุคคลจะพัฒนาความรัก ความผูกพัน แสวงหามิตรภาพที่สนิทสนม หากสามารถสร้างมิตรภาพได้มั่นคง จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไว้เนื้อเชื่อใจและนับถือซึ่งกันและกัน ตรงข้ามกับผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถสร้างความสนิทสนมจริงจังกับผู้หนึ่งผู้ใดได้จะมีความรู้สึกอ้างว้างเดียวดาย
พัฒนาการทางสติปัญญา
มีความสามารถทางสติปัญญาสมบูรณ์ที่สุดคือคุณภาพของความคิดจะเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กันและมีความคิดรูปแบบนามธรรม ผู้ใหญ่จะมีความคิดเปิดกว้าง ยืดหยุ่นมากขึ้น และรู้จักจดจำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี