Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้อนต้นเกี่ยวกับการวิจัย ( Introduction ), นางสาวบุษบา …
ความรู้เบื้อนต้นเกี่ยวกับการวิจัย
( Introduction )
ความหมายของการวิจัย
การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่และเพื่อนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
จุดมุ่งหมายการวิจัยมีอยู่ 2 ประการ
เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่เพื่อตรวจสอบและพิสูจน์ทฤษฎีมีอยู่ว่ายังใช้ได้อยู่หรือไม่เพื่อสร้างทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ใหม่ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและเป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาการให้มากยิ่งขึ้น
เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน
2.1 ใช้สำหรับบรรยายสภาพของปัญหา
2.2 ใช้สำหรับพยากรณ์หรือทำนายเหตุการณ์
2.3 ใช้สำหรับปรับปรุงและพัฒนาสภาพการสถานการณ์
2.4 ใช้สำหรับควบคุมปัญหาสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยในการวางแผนเตรียมการควบคุมได้อย่างรัดกุม
2.5 ใช้สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็วและช่วยขจัดปัญหาให้หมดไปได้
ประโยชน์ของการวิจัย
ประโยชน์ต่อสังคมการวิจัยช่วยให้สังคมได้รับความรู้ใหม่ ๆ
ประโยชน์ต่อนักวิจัยนอกจากการวิจัยจะช่วยให้นักวิจัยได้รับความรู้ใหม่ที่กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้นอันเป็นการเพิ่มพูนสติปัญญาของนักวิจัยทำให้นักวิจัยเป็นผู้รอบรู้ทันสมัยทางวิชาการอยู่เสมอแล้วยังช่วยให้นักวิจัยมีคุณลักษณะประจำตัวที่ดี
พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้
ปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะคือ
การแสวงหาความรู้อย่างไม่มีระบบแบบ การแสวงหาความรู้และการได้รับความรู้ของมนุมษย์ในระยะนี้ มีหลายวิธี เช่น
1.1 การได้รับความรู้โดยบังเอิญ ( By Chance ) เป็นการใด้รับความรู้มาโดยไม่คาดคิดไว้ก่อน ได้รับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่วนใหญ่จะได้มาจากการประสบกับปรากฎการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
1.2 การได้รับความรู้โดยการลองผิดลองถูก (Trial and Error) เป็นการแสวงหาความรู้โดยการเดาหรือลองทำดูหลาย ๆ ครั้งหรือใช้หลาย ๆ วิธีเองทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้คำตอบที่ตนพอใจหรือคำตอบที่ดีที่สุด
1.3 การได้รับความรู้จากผู้รู้ (Authority) ผู้รู้ในที่นี้หมายถึงผู้มีความรู้มีสติปัญญาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและ
หมายถึงแหล่งความรู้แหล่งวิชาการครูเป็นผู้รู้ด้านต่างๆด้วย
1.4 การได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหรือนักปราชญ์ (Fixpert or Wisenman ผู้เชี่ยวชาญหรือนักปราชญ์หมายถึงผู้ที่มีความรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดปราชญ์
1.5 การได้รับความรู้จากประเพณีและวัฒนธรรม (Tradition and Culture) ประเพณีและวัฒนธรรมในที่นี้หมายถึงสิ่งที่สังคมหนึ่ง
ยอมรับเชื่อถือและปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมาการยอมรับเชื่อถือและทำตามสิ่งที่บรรพบุรุษต้นตระกูลหรือคนในเผ่าทำตามกันมานั้นถือเป็นการได้ความรู้เกี่ยวกับ
การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องตามประเพณีนิยมอันจะเป็นการป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนและพวกพ้องและทำให้มีความร่มเย็นเป็นสุข
1.6 การได้รับความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง (Personal Experience) บุคคลย่อมมีโอกาสประสบพบเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายในชีวิตมีโอกาส
ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของตนเองในการหาความรู้และประสบการณ์และเมื่อได้ประมวลประสบการณ์หลายอย่างเข้าด้วยกันก็จะมีการสรุปเป็นความรู้เฉพาะตัว
2.1 วิธีอนุมานหรือนิรนัย (Deductive Method หรือ Syllogistic Reasoning) เป็นการใช้เหตุผลซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์หรือข้อความและการหาความสัมพันธ์ภายในของเหตุผลนั้น
ผู้ริเริ่มคิดและใช้วิธีการนี้คือ อริสโตเติล (Aistotle) นักปราชญ์ชาวกรีกได้ชื่อว่าเป็นบิดาของตรรกศาสตร์
ดังนั้นองค์ประกอบของการคิดแบบอนุมานจึง ได้แก่
Major Premise คือข้อเท็จจริงใหญ่หรือข้อเท็จจริงหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่แล้วในตัวของมันเอง
Minor Premise คือข้อเท็จจริงย่อยหรือเหตุการณ์เฉพาะกรณีคือข้อสรุปซึ่งเกิดุจากการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง
Conclusion Major และ Minor Premise ถ้าข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จย่อยเป็นจริงข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย
คำว่า Premise หมายถึงข้อความข้ออ้างหรือประโยคอ้าง (Statement) ที่ใช้เป็นฐานในการให้เหตุผลเป็นข้อความที่มีเหตุผลและนำเชื่อถือได้ภายในตัวเอง
ขั้นตอนของการคิดแบบอนุมานมี 3 ขั้นตอนคือ
กำาหนด Major Prerunise
นำ Minor Premise มาพิจารณาน้ามาวิเคราะห์ว่ามีความสัมพันธ์กับ Major Premise อย่างไร
สงสรุปเป็นความรู้ใหม่
2.การแสวงหาความรู้ด้วยระบบเหตุผล (Syllogism) หรือการใช้หลักตรรกวิทยาเป็นกระบวนการคิดและวิเคราะห์โดยอาศัยความจริงที่มีอยู่แล้วช่วยในการหาบทสรุป เพื่อให้ได้ความจริงใหม่ขึ้นมา เป็นการคิดอย่างมีระบบและมีขั้นตอนมาก
กล่าวโดยสรุป การใช้ระบบเหตุผลแบบอนุมาน เป็นวิธีการหาความรู้ใหม่โดยการพิจารณาจากข้อเท็จจริงใหญ่ไปหาข้อเท็จจริงย่อยเป็นการมองจากหลักทั่วไปไปสู่เรื่องที่เฉพาะเจาะจงเป็นวิธีการพิจารณาส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อยวิธีนี้ยังนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
3.การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method )
วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนที่สำคัญ
3.1 ขั้นระบุปัญหาหรือกำหนดปัญหา (Identifying the Problem) เป็นการคระหนักว่ามีปัญหาและมีความต้องการที่จะแก้ปัญหาเป็นการบอกให้ทราบอย่างชัดเจนว่าปัญหาหรือสิ่งที่ตนสงสัยอยากทราบอยากหาคำตอบหรือสิ่งที่ต้องการศึกษานั้นคืออะไร
3.2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Formulating Hypotheses) เป็นการคาดคะเนความน่าจะเป็นหรือความเป็นไปได้ของคำตอบของปัญหาที่ศึกษาเป็นการเตาหรือคาดหมายคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้าส่วนมากการตั้งสมมติฐานจะได้มาจากการใช้เหตุผลประสบการณ์แนวคิดหลักการทฤษฎีหรือผลงานวิจัยที่ได้มีผู้ทำไว้มาเป็นข้อสนับสนุน
3.3ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) เป็นการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาด้วยวิธีการต่างๆเช่นการสอบถามการสัมภาษณ์การสังเกตการทดลองการทดสอบการศึกษาหรือตรวจสอบเอกสารเป็นต้น
3.4 ขั้นวิเคราะห์และตีความข้อมูล (Analyzing Data) เป็นการแยกแยะและแปลผลข้อมูลนำข้อมูลมาพิจารณาตรวจสอบหรือทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่จะยอมรับหรือปฏิเสธสมมุติฐานนั้น
3.5 ขั้นสรุปผล (Drawing Conclusion) เป็นการลงสรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์และการตีความข้อมูลซึ่งจะทำให้ได้คำตอบของปัญหาที่ศึกษาอันถือเป็นความรู้หรือความจริงที่เชื่อถือได้และเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป
คุณสมบัติของนักวิจัย
งานวิจัยเป็นงานที่ละเอียดลึกซึ้งมีระบบระเบียบมีแบบแผนและมีขั้นตอนที่แน่นอนชัดเจนดังนั้นการจะทำการวิจัยให้ประสบความสำเร็จด้วยดีนั้นผู้วิจัยต้องมีคุณสมบัติหลายประการทั้งทางด้านความรู้ความสามารถตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยด้วย
คุณสมบัติที่นักวิจัยจึงมีแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน คือ
ด้านความรู้หรือพุทธิพิสัย
1.1 มีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยหรือในสาขาวิชาที่ทำการวิจัยเป็นอย่างดี
1.2 มีความรู้ในเรื่องหรือในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการวิจัยพอสมควร
1.3 มีความรู้ในระเบียบวิธีหรือเทคนิคการทำวิจัยเป็นอย่างดีในทุกขั้นตอน เช่น ขั้นตอนของการเลือกปัญหาการตั้งจุดมุ่งหมายการตั้งสมมุติฐานการสร้างเครื่องมือการเลือกกลุ่มตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลการแปลผลการสรุปผลการวิจัยและการเสนอผลการวิจัยเป็นต้น
2 . ด้านความสามารถหรือทักษะพิสัย
ผู้วิจัยจะต้องมีความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย ต้องมีความสามารถหรือทักษะในการปฏิบัติตามระเบียบวิธีวิจัย หรือเทคนิคในการวิจัยได้เป็นอย่างดี เช่น ความสามารถในการเลือกปัญหาในการตั้งจุดมุ่งหมายการตั้งสมมุติฐานการออกแบบการวิจัยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็นต้น
ด้านเจตคติหรือจิตพิสัย
สำหรับด้านเจตคติหรือด้านความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อและคุณลักษณะประจำตัวที่ ควรมีอยู่ในตัวของนักวิจัยมีหลายประการเช่น
3.1 มีเจตคติในเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude)
3.2 มีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยชอบและรักการวิจัยเห็นว่าการวิจัยมีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างมากทั้งแก่สังคมและแก่ตนเองเป็นงานที่สนุกและน่าสนใจ
3.3 รู้จักตนเองรู้ศักยภาพหรือรู้ขอบเขตกำลังความสามารถของตนมีความมั่นใจในตนเองเป็นตัวของตัวเองมีวินัยในตัวเองและสามารถควบคุมตัวเองได้
3.4 มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใหม่ ๆ และมีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ
3.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กล้าคิดกล้าตัดสินใจกล้าท้าและมีความสุขความพอใจที่ได้แสดงออกซึ่งความคิดของตนมีความเพลิดเพลินกับการทํางานที่ท้าทาย
3.6 มีเหตุผล
3.7 มีความรับผิดชอบต่องานในขณะที่ทำและต่อผลงานที่ได้ทำเสร็จแล้ว
3.8 ทำงานอย่างมีระบบสามารถวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 19 มีความละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบ
3.10 มีความซื่อสัตย์ต่อหลักวิชาละทิ้งงานไปง่าย ๆ
12 มิใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นและคำวิจารณ์ติชมของผู้อื่น
3.13 มองการณ์ไกลและมีแนวคิดที่จะช่วยพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น
คุณสมบัติสำคัญที่นักวิจัยพึงมี 3 ประการ ก็คือ
-การมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัย
-การมีความสามารถหรือทักษะในด้าน
-การใช้เทคนิคการวิจัยที่เหมาะ
จรรยาบรรณของนักวิจัย
จรรยาบรรณหมายถึงประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิกสำหรับนักวิจัยจรรยาบรรณจะเป็นเหมือนกรอบหรือแนวปฏิบัติที่จะช่วยให้งานวิจัยของตนเป็นไปด้วยดีมีประโยชน์เป็นที่ยอมรับถูกต้องเชื่อถือได้และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนเองและสังคม
จรรยาบรรณของนักวิจัย 14 ประการที่จุมพลสวัสติยากรได้เสนอแนะไว้ดังนี้
มีความรับผิดชอบ
2 มีความคิดริเริ่ม
เป็นผู้มีความรู้จริงและเป็นผู้ฉลาดในการมองปัญหาที่จะทำการวิจัย
ไม่อคติ
มีความอดทน
กล้าตัดสินใจ
มีใจกว้างรับฟังความคิดเห็นและคำติชมของผู้อื่น
มีมนุษยสัมพันธ์
มีความซื่อสัตย์สุจริตตรงต่อเวลา
มีเทคนิคในการล้วงเอาความจริงอย่างแนบแนียน
รู้จักรักษาความลับ
12 มีความสามารถในการบริหารงานวิจัย
มีกาามสามารถในการสร้างเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการวิจัย
เป็นผู้รู้สึกประหยัด
ในทัศนะของผู้เขียนจรรยาบรรณของนักวิจัยที่ควรเน้น ได้แก่
การมีความเชื่อในหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific Faith) คือเชื่อในหลักเหตุผลการสามารถพิสูจน์ได้การเปลี่ยนแปลงได้ของสิ่งต่าง ๆ และการสามารถหาทางแก้ไม่ได้
การมีความซื่อสัตย์ ได้แก่
2.1 ซื่อสัตย์ต่อตัวเลขข้อมูลไม่ยกเมมไม่แต่งข้อมูลหรือเปลี่ยนแปลงตัวเลขเพื่อบิดเบือนข้อมูล
2.2 ชื่อสัตย์ในการวิเคราะห์ตีความและการสรุปผลข้อมูลโดยทำอย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏไม่มีอคติหรือความลำเอียงเข้าข้างความคิดเห็นของตนมิใจเป็นกลางมีใจเป็นธรรมและมีความยุติธรรม
2.3 ซื่อสัตย์เชิงวิชาการคือใช้ความรู้ทางวิชาการไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่อ้างเอางานของผู้อื่นมาเป็นของตน
การมีจิตสำนึกและทำการวิจัยในสิ่งที่ไม่ขัดกับหลักศีลธรรมจริยธรรมและตัวบทกฎหมายมีคุณธรรมในการทำวิจัย
การมีจิตสำนึกในความปลอดภัยของการวิจัยและผลการวิจัยหรือผลกระทบของการวิจัยต่อผู้อื่นมีมนุษยธรรมในการวิจัย
การยอมรับในสิทธิส่วนบุคคล
ประเภทของการวิจัย
การจำแนกประเภทตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย
2.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ( Basic Research or Pure Research )
2.2 การวิจัยประยุกต์ (Applicd Research)
การจำแนกประเภทตามลักษณะของข้อมูล
1.1 การวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Research)
1.2 การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitalivc Research )
การจำแนกประเภทตามระเบียบวิธีวิจัย
3.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการวิจัยเพื่อสืบค้นหรือสืบสวนปัญหาทางด้านประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
3.2 การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณา (Descriptive Research) เป็นข้อเท็จจริงปรากฏการณ์อยู่ในปัจจุบัน
3.3 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research )
ขั้นตอนของการวิจัย
ขั้นตอนสำคัญของกระบวนการวิจัยและกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนมีดังนี้ (Wiersma, 1986: 7-12)
การเขียนโครงการวิจัยหรือเขียนเค้าโครงการวิจัยนั้นรายละเอียดเรื่องการเขียนเค้าโครงการวิจัยจะเสนอไว้ในบทที่ 9 ข้อมูล
8.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการลงมือทำการวิจัยตามกิจกรรมและตามขั้นตอนที่ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ในเค้าโครงการวิจัยกิจกรรมสำคัญในขั้นตอนนี้มี รายละเอียดเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูลจะเสนอไว้ในการทดลองบทที่ 7
6.4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data) เป็นขั้นตอนของกิจกรรมหลายคาดหวัง รายละเอียดเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลจะเสนอไว้ในบทที่ 8
6.5 การสรุปผลการวิจัย (Drawing Conclusion) หลังจากการวิเคราะห์แปลความหรือให้ความหมายของข้อมูลแล้วขั้นตอนนี้จึงเป็นขั้นตอนของการลงสรุปผลที่ได้จากการวิจัยว่าคืออะไรผู้วิจัยได้ความรู้ใหม่อะไรบ้างกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งในขั้นตอนนี้คือการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอผลการวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัยว่ามีความสอดคล้องกับการวิจัยอื่นอย่างไรบ้างมีความเกี่ยวข้องกับความรู้ที่มีอยู่ก่อนแล้วอย่างไรเป็นการเผยแพร่ผลการวิจัยที่ตนได้ทำมาทั้งหมดแก่สาธารณชนซึ่งนับเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัยรายละเอียดเรื่องการเขียนรายงานการวิจัยจะเสนอไว้ในบทที่ 10
6.1 การเลือกและกำหนดปัญหา (Identifying the Problem) เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยต้องระบุลงไปอย่างชัดเจนว่าตนจะทำการศึกษาวิจัยเรื่องอะไรสิ่งที่ต้องการศึกษาหาคำตอบนั้นคืออะไรผู้วิจัยจะต้องนิยามหรืออธิบายขยายความรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่จะวิจัยให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจน รายละเอียดเรื่องการเลือกปัญหาการวิจัยจะนำเสนอไว้ในบทที่ 2
8.2 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Reviewing Information) เป็นขั้นตอนของการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนจะทำการวิจัยทั้งนี้เพื่อช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิจัยดีนี้เรื่องที่จะวิจัยดีขึ้นช่วยให้มองเห็นแนวทางในการทำวิจัยของตน รายละเอียดเรื่องการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะนำเสนอไว้ในบทที่ 3
นางสาวบุษบา สภาวนากุล หรัสนักศึกษา 61161817 ว6.1.ค.บ.5.2