Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มภร 10/2 เตียง 12 Dx. Lt. pleural effusion - Coggle Diagram
มภร 10/2 เตียง 12 Dx. Lt. pleural effusion
ข้อมูลผู้ป่วย
General appearance : ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 87 ปี รูปร่างผอม ผิวขาว ผมสีดำปนขาว ผมสั้นและบาง ที่บริเวณเปลือกตามีรอยแผลประมาณ 3 ซม. on cannula 3 LPM, retain foley's catheter ปัสสาวะสีเหลืองใส on injection plug ที่มือซ้าย E4 V5 M6 ใส่แพมเพิร์ส ขาขวาโดนตัดจนถึงเข่า
CC: มาตามนัด F/U มีไข้ 1 วัน PTA
อาการแรกรับ : ผู้ป่วยรู้สึกตัว on O2 cannula 3 LPM ไม่มีหอบเหนื่อย R/F ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผ่าตัดขาขวาออก
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : มาพบแพทย์ตามนัด มีไข้ แพทย์จึงให้ Admit
การวินิจฉัยโรคแรกรับ : Atrial filblilation
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
Diabetes militus (โรคเบาหวาน)
Hypertention (ความดันโลหิตสูง)
Chronic kidney disease stage 4 (โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4)
Anemia of chronics disease (ภาวะโลหิตจางจากโรคเรื้อรัง)
Hypothyroidism (ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ)
paroxysmal atrial fibrillation (ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้วที่เกิดขึ้นแล้วกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติได้เอง)
Old Cerebrovascular accident : CVD (โรคหลอดเลือดสมอง)
peripheral artery disease (โรคหลอดลเือดแดงส่วนปลาย)
pulmonary hypertension (ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง)
ประวัติการผ่าตัด
Rt. Above knee amputated
ยาและสารน้ำที่ผู้ป่วยได้รับ
Quantia 25 gm.tab (Quantiapine) รับประทานครั้งละครึ่งเม็ด วันละ 1 ครั้งก่อนนอน
ข้อบ่งใช้ : ใช้สำหรับรักษาโรคจิตเภทและโรคไบโพลาร์ กษาพฤติกรรมก้าวร้าว โรคอัลไซเมอร์ โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น โรคเครียดหลังประสบเหตุสะเทือนใจ และอาการนอนไม่หลับ
ผลข้างเคียง : ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ น้ำหนักคัวเพิ่มขึ้น ท้องผูก อาหารไม่ย่อย
Madiplot 20 mg.tab (Manidipine) รับประทานครั้งละครึ่งเม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร :<3:
ข้อบ่งใช้ : ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคความดันโลหิตสูงทีมีภาวะไตบกพร่องร่วมด้วย
ผลข้างเคียง : หน้าแดง ใบหน้าร้อนผ่าว ปวดท้องหรือไม่สบายท้อง มีลมในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลียหรือไม่มีแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดศีรษะ มึนงง
Sidegra 50 mg.tab (Sildenafil) รับประทานครั้งละ ครึ่งเม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เย็น :<3:
ข้อบ่งใช้ : รักษาความดันโลหิตภายในหลอดเลือดแดงของปอดสูง
ผลข้างเคียง : ปวดหัว หน้าแดง การมองเห็นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันในลูกตาสูง สูญเสียการได้ยิน โดยรายที่ได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรง อาจถึงขึ้นเสียชีวิตได้
Furosemide 40 mg.tab (Furosemide) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 คร้ัง หลังอาหารเช้า :<3:
ข้อบ่งใช้ : รักษาภาวะบวมเนื่องจากโรคหัวใจล้มเหลว โรคตับ หรือโรคไตใช้ร่วมกับยาลดความดันอื่นๆ เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง
ผลข้างเคียง : ระดับโซเดียมในกระแสเลือดต่ำ กรดยูริกในกระแสเลือดสูง ได้ยินเสียงในหู เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย หนาวสั่น ไอ และเสียงแหบ ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดหลัง หรือบริเวณสีข้าง
Sodium Bicarbonate 300 mg.tab (Sodium bicarbonate) รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า เย็น
ข้อบ่งใช้ : ใช้เป็นยาลดกรด บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก บรรเทาอาการจุกเสียด ลดอาการระคายเคือง เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหาร ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาภาวะอาหารไม่ย่อย ปรับปัสสาวะให้มีสภาวะเป็นด่าง
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน สับสน วิงเวียน ใจสั่น อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย ชัก แคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้เป็นตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นผิดปกติ กระหายน้ำบ่อย อารมณ์แปรปรวน หายใจหอบถี่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดเกร็งท้อง ท้องอืดหรือมีลมในกระเพาะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักเกร็ง
Eliquis 5 mg.tab (Apixaban) รับประทานครั้งละ ครึ่งเม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เย็น :warning:
ข้อบ่งใช้ : ใช้รักษาหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดดำอุดกั้นและหลอดเลือดปอดอุดตัน
ผลข้างเคียง : มีแผลฟกช้ำง่าย เลือดออกผิดปกติหรือเลือดออกแล้วหยุดยาก รวมถึงเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะเป็นสีแดงหรือน้ำตาล ถ่ายเป็นเลือดหรือมีสีดำ หากใจลำบากหรือหายใจเสียงหวีด ปวดศีรษะรุนแรง เวียนศีรษะหรือรู้สึกจะเป็นลม อ่อนแรง ผื่น ปวดข้อหรือบวม เจ็บหรือแน่นหน้าอก
Xarator 10 mg.tab (Atrovastatin) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
ข้อบ่งใช้ : ลดไขมันในเลือด
ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ท้องผูกหรือท้องเสีย
Bisloc 2.5 mg.tab (Bisoprolol Fumarate) รับประทานครั้งละ ครึ่งเม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า :<3:
ข้อบ่งใช้ : ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูง โดยอาจใช้ร่วมกับยารักษาความดันโลหิตชนิดอื่นด้วย และใช้รักษาภาวะอัตราการเต้นหัวใจผิดปกติ
ผลข้างเคียง : หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ มึนงง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน หรือมีอาการคล้ายหวัด เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ เจ็บคอ เป็นต้น
Folic Acid 5 mg.tab (Folic acid) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า :star:
ข้อบ่งใช้ : เป็นอาหารเสริม ช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดี ใช้รักษาโรคโลหิตจางชนิดที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิค
ผลข้างเคียง : เวียนศีรษะ ไม่อยากอาหาร เรอ ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร รู้สึกขมปาก มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ มีภาวะซึมเศร้า รู้สึกตื่นเต้น กระสับกระส่าย แปรปรวน อยู่ไม่สุข
Thyrosit 100 mcg.tab (Levothyroxine) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้ : ให้ทดแทนหรือเสริมในการรักษาภาวะไทรอยด์ต่ำ
ผลข้างเคียง : กระสับกระส่าย น้ำหนักลด มือสั่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง วิตกกังวล นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก
Omeprazole capsules 20 mg (Omeprazole) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้ : ลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น แผลในกระเพาะอาหาร หลอดอาหารอักเสบ
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เวียนศีรษะ ลมพิษ ไอ
Androlic 50 mg.tab (Oxymetholone) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า :star:
ข้อบ่งใช้ : ใช้เพื่อรักษาภาวะโลหิตจาง
ผลข้างเคียง : อาจเกิดอาการท้องร่วง ตื่นเต้น หรือนอนไม่หลับ
Senolax tab (Sennosides) รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
ข้อบ่งใช้ : ใช้เป็นยาระบาย รักษาภาวะท้องผูก
ผลข้างเคียง : ท้องผูกเรื้อรัง ท้องอืด รู้สึกเหมือนมีลมในท้อง และปวดท้อง สูญเสียน้ำและเกลือแร่
Fermasian 200 mg.tab (Ferrous fumarate) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น :star:
ข้อบ่งใช้ : ใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ผลข้างเคียง : อุจจาระมีสีคล้ำ ไม่อยากอาหาร มีไข้ เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องผูก ท้องร่วง
Patblu 500 mg.tab (Paracetamol) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง เวลาปวดหรือมีไข้
ข้อบ่งใช้ : ใช้เพื่อลดไข ้ บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง
ผลข้างเคียง : เป็นพิษต่อตับถ้ากินในขนาดมากๆ
lab
Complete blood count : CBC
26/11/2563
Hb = 8.5 g/dL ค่าปกติ 12.3-15.5 g/dL ต่ำกว่าปกติ
Hct = 27.1 % ค่าปกติ 36.8-46.6 % ต่ำกว่าปกติ
RBC = 2.76 10x6/uL ค่าปกติ 3.96-5.29 10x6/uL ต่ำกว่าปกติ
MCV = 98.4 fL ค่าปกติ 79.9-97.6 fL สูงกว่าปกติ
MCHC = 31.3 g/dL ค่าปกติ 31.5-34.5 g/dL ต่ำกว่าปกติ
Neutrophil = 80.7 % ค่าปกติ 48.1-71.2 % สูงกว่าปกติ
Lymphocyte = 11.8 % ค่าปกติ 21.1-42.7 % ต่ำกว่าปกติ
29/11/2563
Hb = 7.8 g/dL ค่าปกติ 12.3-15.5 g/dL ต่ำกว่าปกติ
Hct = 25.7 % ค่าปกติ 36.8-46.6 % ต่ำกว่าปกติ
RBC = 2.58 10x6/uL ค่าปกติ 3.96-5.29 10x6/uL ต่ำกว่าปกติ
MCV = 99.7 fL ค่าปกติ 79.9-97.6 fL สูงกว่าปกติ
Neutrophil = 80.6 % ค่าปกติ 48.1-71.2 % สูงกว่าปกติ
Lymphocyte = 12.4 % ค่าปกติ 21.1-42.7 % ต่ำกว่าปกติ
เคมีคลินิก
26/11/2563
Glucose(FBS) 151 mg/dL ค่าปกติ 70-99 mg/dL สูงกว่าปกติ
Creatinine 1.76 mg/dL ค่าปกติ 0.55-1.02 mg/dL สูงกว่าปกติ
Total protein 5.6 g/dL ค่าปกติ 6.4-8.3 g/dL ต่ำกว่าปกติ
Albumin 2.5 g/dL ค่าปกติ 3.5-5.2 g/dL ต่ำกว่าปกติ
Sodium(Na) 133 mmol/L ค่าปกติ 136-145 mmol ต่ำกว่าปกติ
29/11/2563
Creatinine 1.92 mg/dL ค่าปกติ 0.55-1.02 mg/dL สูงกว่าปกติ
Total protein 5.5 g/dL ค่าปกติ 6.4-8.3 g/dL ต่ำกว่าปกติ
Albumin 2.5 g/dL ค่าปกติ 3.5-5.2 g/dL ต่ำกว่าปกติ
Sodium(Na) 133 mmol/L ค่าปกติ 136-145 mmol ต่ำกว่าปกติ
CO2 30.9 mmol/L ค่าปกติ 22-29 mmol/L สูงกว่าปกติ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจาก pleural effusion
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วย on O2 cannula 3 LPM
ผู้ป่วยมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด พบเป็นน้ำสีเหลืองใส จากการเจาะปอด (29/11/2563)
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมการหายใจให้มีประสิทธิภาพ ไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่มีภาวะ cyanosis เช่น ปลายมือปลายเท้าเขียว ริมฝีปากม่วงคล้ำ
ผู้ป่วยไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย
ผู้ป่วยไม่มีภาวะ Hypoxia เช่น ผิวหนังซีด สับสน มึนงง หายใจถี่
O2 sat keep 95%
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้าเขียว ประเมินอาการซีด
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการและอาารแสดงที่ผิดปกติ
จัดท่านอนศีรษะสูง 45 องศา เพื่อช่วยให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น เพิ่มพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้มากขึ้น
ดูแลให้ได้รับ O2 cannula 3 LPM ตามแผนการรักษา ดูแลสายไม่ให้หักพับงอ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนเพียงพอ
การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย ไม่มีภาวะ Cyanosis และไม่มีภาวะ Hypoxia O2 sat มากกว่าเท่ากับ 95%
มีโอกาสเกิดภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์และสารน้ำในร่างกายเนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็น CKD stage 4
ผู้ป่วยทานข้าวได้นิดเดียว
Na = 133 mmol/L
ผู้ป่วยปากแห้งเล็กน้อย ผิวแห้ง
เกณฑ์การประเมินผล
มีภาวะสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโตรไลท์ในร่างกาย
ค่า Na อยู่ในระหว่าง 136-146 mmol/L
ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
ผู้ป่วยทานอาหารได้มากขึ้น
ผิวหนังชุ่มชื้น มีความยืดหยุ่นของผิวหนัง ไม่มีปากแห้ง
ไม่มีภาวะ Hyponatremia เช่น ไม่มีอาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ Hyponatremia เช่น อ่อนเพลีย กระหายน้ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ประเมินสัญญาณชีพ เพื่อประเมินความผิดปกติ
สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออก เพื่อประเมินดูสมดุลอิเล็กโตรไลท์ของสารน้ำในร่างกาย
ดูแลให้ได้รับยา Furosemide ตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา ดังนี้ ระดับโซเดียมในกระแสเลือดต่ำ กรดยูริกในกระแสเลือดสูง ได้ยินเสียงในหู เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย หนาวสั่น ไอ และเสียงแหบ ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดหลัง หรือบริเวณสีข้าง
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะค่าโซเดียม
การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ปากแห้งเล็กน้อย ผิวหนังชุ่มชื้น
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ได้ติดตามผลต่อ
ไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการปวด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยบอกว่า ปวดหลัง
ขณะที่ขยับเตียงมีสีหน้าทำหน้านิ่งคิ้วขมวด
ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยนอนหลับได้ดี
ผู้ป่วยไม่บ่นปวด รู้สึกผ่อนคลาย
Pain score น้อยกว่า 4
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยส่งเสริมความสุขสบายและบรรเทาอาการปวด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะปวด โดยใช้หลัก Nummeric scale
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล
จัดท่า นอนศีรษะสูงและท่านอนให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย
ติดตามและประเมินความปวดทุกครั้ง หากปวดมากและ pain score มากกว่า 4 ดูแลให้ได้รับยา Patblu 500 mg.tab ครั้งละ 1 เม็ด ให้ทุก 6 ชั่วโมง เวลาปวดหรือมีไข้
สอนการ Relaxation Technique เพื่อบรรเทาอาการ เช่น การหายใจช้าๆ เป็นจังหวะ ,การทำTherapeutic Technique, การทำสมาธิ เพื่อส่งเสริมการผ่อนคลาย , ลดสิ่งเร้าทางอารมณ์ เบี่ยงเบนความสนใจ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ
การประเมินผล
Pain score = 2 คะแนน ผู้ป่วยนอนหลับได้ดี ผู้ป่วยบอกว่าไม่ได้ปวดมาก แต่ปวดเวลานอนหัวสูงมากๆ
พยาธิสภาพ
โรคเบาหวาน
ส่งผลให้
ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ ในผู้ที่เป็นเบาหวานที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น จะมีผลต่อหลอดเลือดแดงขนาคใหญ่ในระบบไหลวียนทั่วร่างกาย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด เกิดการแข็งและหนาตัว (Atherosclerosis) ขาดความยืดหยุ่น ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ อุดตันได้ง่าย การไหลเวียนของเลือดลดลง ส่งผลต่อปริมาณเลือคที่ไปเลี้ยงหัวใจ สมอง และหลอดเลือดส่วนปลาย เกิดอันตรายต่ออวัยวะดังกล่าว ดังนี้ หลอดเลือดหัวใจ การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในพลาสมา ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบแคบ หรืออุดตันการไหลเวียนของเลือดที่ไปลี้ยงกล้มเนื้อหัวใจลดลง เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction) และยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ และการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ พบว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease [CAD])
ส่งผลให้
หลอดเลือดสมอง เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หากมีการอุดตันบางส่วนจะทำให้สมองบาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว (Transient ischemic attack [TIA]) และถ้ามีการอุดตันทั้งหมดจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease [CVA]) โดยพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาหตุให้ผู้ป่วยสียชีวิตถึงร้อยละ 12-17 และยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพาตมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า
ส่งผลให้
หลอดเลือดส่วนปลาย โดยเฉพาะหลอดเลือดที่มาเลี้ยงขาและเท้า ถ้ามีการตีบแข็งของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเท้าจะทำให้มีอาการปวดน่องเวลาเดินไกล ๆ และถ้าเป็นรุนแรง มีการอุดตันของหลอดเลือดจนเกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อและต้องถูกตัดขาไปในที่สุด
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease : PAD) คือโรคที่เกิดจากการอุดตันภายในผนังหลอดเลือดแดง จากการสะสมของแผ่นไขมัน เกล็ดเลือด หรือแคลเซียมที่ทับถมและแทรกตัวอยู่ภานในผนังหลอดเลือดแดง ส่งผลให้มีปริมาณเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลง
ส่งผลให้
การเสื่อมของจอประสาทตาจากโรคเบาหวาน (Diabetic retinopathy)จะเกิดขึ้นที่บริเวณจอรับภาพ (Retina) ซึ่งจากสาหตุข้างต้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดฝอย ร่วมกับมีการสูญเสียของเพอริไซท์ (Pericytes) มีผลทำให้ผนังของหลอดเลือดฝอยบางจึงเกิดการ โป้งพอง หรือการฉีกขาดของหลอดลือดทำให้มีเลือดออกในจอรับภาพ (Retinal hemorrhage) โดยในระยะเริ่มต้นจะพบเป็นจุดหรือหยดเล็ก ๆ เมื่อเริ่มเป็นหรือเป็นน้อย ๆ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกผิดปกติ ไม่มีการเจ็บปวดหรือการเปลี่ยนแปลงของสายตา เพราะเลือดที่ออกยังไม่บังจุดศูนย์กลางของการมองเห็น ต่อมาอาจเกิดจากการเสื่อมของหลอดเลือดที่จอรับภาพจนมีการหลั่งของเหลวที่ไหลซึมออกมา ทำให้จุดรับภาพบวม (Macular edema) มีผลให้การมองเห็นลดลง และถ้ามีการตีบแคบ อุดตันของหลอดเลือดมากขึ้นจะทำให้จอรับภาพขาดเลือดไปเลี้ยง
ส่งผลให้
หลอดเลือดแดงตีบแข็ง Atherosclerosis
ร่วมกับมีแรงต้านทานการไหลเวียนโลหิตเป็นผลให้เกิด
โรคความดันโลหิตสูง
เกิดจากการมีแรงต้านทานการไหลเวียนโลหิตในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการตีบแคบลวของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กส่วนปลาย และอาจมีส่วนจากการลดจำนวนและความหนาแน่นของหลอดเลือดฝอยด้วย ความดันโลหิตสูงยังทำให้ความยืดหยุ่นตามของหลอดเลือดดำลดลง ซึ่งส่งผลให้เลือดไหลจากหลอดเลือดดำกลับสู่หัวใจมากขึ้นจนเพิ่มการทำงานของหัวใจ เป็นสาเหตุทำให้เกิดหัวใจวายในที่สุด
การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ผนังของหลอดเลือดจะเกิดการแข็งตัวและตีบแคบ ซึ่งเกิดจากการสะสมของแคลเซียมและเส้นใยคอลลาเจนเพิ่มขึ้น ทำให้ความสามารถในการไหลเวียนของเลือดลดลง ส่งผลให้เกิดแรงต้านทานบริเวณหลอดเลือดดำส่วนปลายเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตๅจึงสูงขึ้น
Problem list
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดหลัง
ภาวะซีด
ความไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์