Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มภร. 10/2 เตียง B-5 UTI c R/O AKI :red_flag:, กิจกรรมการพยาบาล
…
-
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินและสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นจากของเสียคั่งในร่างกาย เช่น ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ซึมลง มีอาการหอบเหนื่อยเป็นต้น เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย และหากมีอาการดังกล่าวขึ้น สามารถให้การพยาบาลได้อย่างทันท่วงที
- ประเมินอาการบวม และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการอาการบวม เช่น หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเลือดคั่ง
- ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง พร้อมทั้งประเมินระดับความรู้สึกตัว เพื่อเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะของเสียคั่งในร่างกาย
- ประเมินและบันทึกปริมาณปัสสาวะ ปริมาณปัสสาวะใน 1 ชั่วโมง ควรขับออกอย่างน้อย 30 ml หากมีความผิดปกติ ต้องรายงานให้แพทย์รับทราบ
- ประเมินและบันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออก ทุก 8 ชม เพื่อเป็นการประเมินความสมดุลของสารน้ำเข้าและออก
- ดูแลให้ได้รับสารอาหารโดยเพิ่มโปรตีนจากไข่ขาว เพื่อเพิ่มระดับอัลบูมิน ในร่างกาย ลดอาการบวมตามแผนการรักษาของแพทย์
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำดื่มตามแผนการรักษาของแพทย์โดยจำกัดน้ำดื่มคือหลังให้อาหารทางสายยาง ให้ได้รับน้ำตาม30ml/มื้อ เพื่อควบคุมอัตราการกรองของไตให้มีประสิทธิภาพและลดอาการคั่งของของเสียภายในร่างกาย
- ดูแลให้ผู้ป่วยยกแขนสูง ทั้ง 2 ข้าง เพื่อลดอาการบวม
- ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ lasix 40 mg iv stat. เพื่อลดภาวะน้ำเกินในร่างกาย
- ติดตามผล lab BUN Cr GFR เพื่อประเมินการทำงานของไตในการกรองของเสีย
•01/12/63 : ผู้ป่วยเรียกปลุกตื่น หลับตลอดเวลา NPO ไว้ ผู้ป่วย on injection plug ที่บริเวณขาซ้าย ได้รับเลือด LPRC 244 ml ขณะได้รับเลือด ไม่มีอาการผิดปกติ หรืออาการแสดงของภาวะแพ้เลือด ไม่มีอาการไข้หนาวสั่น ผู้ป่วยไปทำหัตถการ angiogram ที่บริเวณ left femoral vein ภายหลังกลับมาที่ตึก ผู้ป่วย restraint ที่บริเวณขาทั้งสองข้าง
02/12/63 : ผู้ป่วยหญิงไทย เรียกปลุกตื่น ถามตอบรู้เรื่อง E3VM4V3 หายใจ room air ไม่มีอาการหอบเหนื่อย on injection plug ที่บริเวณขาซ้าย ไม่มี Phlebitis มีอาการบวมบริเวณข้อมือทั้งสองขา และขา บวดกดบุ๋ม ระดับ +1 แขนขาทั้งสองข้างอ่อนแรง มีแผลกดทับ stage 1 ที่สะโพกซ้ายขนาด 1*2cmและสะโพกขวา ขนาด 22 cm ลักษณะแผลแดงดี ขอบแผลแห้ง ไม่มีdischarge ซึม บริเวณแผลที่ทำ angiogram ที่ขาหนีบด้านซ้ายแห้งดี ไม่มีเลือดซึม ผู้ป่วย Retain foley’s catheter ปัสสาวะไหลดี สีเหลืองใส มีตะกอนเล็กน้อย Urine Output 250 ml V/S T=37.7 องศาเซลเซียส P=76 ครั้ง/นาที RR = 20 ครั้ง/นาที BP=106/69 O2 saturation = 100%
07/12/63 ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ลืมตาได้เอง ถามตอบรู้เรื่อง สีหน้าสดใส หายใจ room air ไม่มีอาการหอบเหนื่อย บริเวณจมูกขวา On NG tube ได้รับ BD สูตร 1.2:1 250*4 Feed TV 1,400 TC 1,440 TP = 50 g/day เพิ่มไข่ขาว 2 ฟอง/มื้อ รับfeed ได้ดี on injection plug ที่บริเวณขาซ้าย ไม่มี phlebitis ขาทั้ง 2 ข้างและบริเวณฝ่ามือมีอาการบวม กดบุ๋ม ระดับ +1 บริเวณต้นขาด้านขวารอยhematoma มีขนาดลดลง สีม่วงเขียวจางลดลง แผลกดทับ stage 1 ที่บริเวณสะโพกซ้ายขนาด 1x2 cm.และสะโพกขวาขนาด 2x2 cm. แผลมีลักษณะสีแดงดี ขอบแผลแห้ง ไม่มี discharge ซึม on foley’s catheter ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม มีตะกอนค้างสายเล็กน้อย intake 550 ml/8hr , output 450 ml/8hr
V/S (14:00 น.) T=37.0 องศาเซลเซียส P=92 ครั้ง/นาที RR=18ครั้ง/นาที BP=104/78mmHg O2saturation = 98%
08/12/63 : ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ลืมตาได้เอง ถามตอบรู้เรื่อง สีหน้าสดใส หายใจ room air ไม่มีอาการหอบเหนื่อย บริเวณจมูกขวา On NG tube ได้รับสารอาหารensure สูตร 1.5:1 250*4 Feed รับfeed ได้ดี ขาทั้ง 2 ข้างและบริเวณฝ่ามือมีอาการบวม กดบุ๋ม ระดับ +1 บริเวณต้นขาด้านขวารอยhematoma มีขนาดลดลง สีม่วงเขียวจางลดลง แผลกดทับ stage 1 ที่บริเวณสะโพกซ้ายขนาด 1x2 cm.และสะโพกขวาขนาด 2x2 cm. แผลมีลักษณะสีแดงดี ขอบแผลแห้ง ไม่มี discharge ซึม off foley’s catheter เวลา 12.40 น ปัสสาวะสีเหลืองใส intake 550 ml/8hr , output 400 ml/8hr
V/S (14.00น.) T=37.1 องศาเซลเซียส P=70ครั้ง/นาที RR=18ครั้ง/นาที BP=129/72mmHg O2saturation = 98%