Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์แสงของพืช, น.ส.จินดา ธรรมมา…
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์แสงของพืช
Van Helmont
ในปี ค.ศ. 1648 ฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์ (J.B. Van Helmomt) นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม ได้ทดลอง
ปลูกต้นหลิวหนัก 5 ปอนด์ในถังใบใหญ่ที่บรรจุดินซึ่งทำให้แห้งสนิทหนัก 200 ปอนด์ ระหว่างทำกาทดลองได้รดน้ำต้นหลิวที่ปลูกไว้ทุกๆวัน ด้วยน้ำฝนหรือน้ำกลั่นเป็นระยะเวลา 5 ปีต้นหลิวเจริญขึ้นหนักเป็น 169ปอนด์ 3 ออนซ์ (ไม่ได้รวมน้ำหนักของใบซึ่งร่วงไปในแต่ละปี) และเมื่อนำดินในถังมาทำให้แห้งแล้วนำไปชั่ง ปรากฏว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าดินที่ใช้ก่อนทำการทดลองเพียง 2 ออนซ์เท่านั้น
สรุปได้ว่า น้ำหนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นได้มาจากน้ำเพียงอย่างเดียว ซึ่งข้อสรุปนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากในยุคนั้น
Julius Sachs
พ.ศ.2405 จูเลียส ซาซ พบว่าสารอินทรีย์ที่พืชสร้างคือ น้ำตาล ซึ่งเป็นสารคาร์โบไฮเดรต ในเวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้เรียกกระบวนการสร้างคาร์โบไฮเดรตของพืชที่อาศัยแสงนี้ว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)
Jean Senebier
พ.ศ. 2325 (ค.ศ.1782) ฌอง ซีนีบิเยร์ ค้นพบว่าแก๊สที่เกิดจากการลุกไหม้ และแก๊สที่เกิดจากการหายใจของสัตว์ เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนแก๊สที่ช่วยในการลุกไหม้และแก๊สที่ใช้ในการหายใจของสัตว์คือ แก๊สออกซิเจน
Robin Hill
ซึ่งสามารถสรุปผลการทดลองนี้ได้ว่าไฮโดรเจนที่เกลือเฟอริกได้รับและ O2ที่เกิดขึ้นมาจาก H2O
ในปี ค.ศ. 1973 โรบิน ฮิลล์ ได้ทำการทดลองผ่านแสงเข้าไปในของผสมซึ่ง มีคลอโรพลาสต์ที่สกัดออกมาจากใบพืชพวกผักโขม และมีเกลือเฟอริกอยู่ด้วยปรากฏว่า เกลือเฟอริกเปลี่ยนเป็นเกลือเฟอรัส และมี O2 แต่ถ้าผ่านแสงเข้าไปในคลอโรพลาสต์ที่ไม่มีเกลือเฟอริกจะไม่มีO2เกิดขึ้น ดังนั้นการที่เกลือเฟอริกจะเปลี่ยนเป็นเกลือเฟอรัสได้ก็ต่อเมื่อได้รับไฮโดรเจน ขณะเดียวกันมี O2 ในปฏิกิริยาด้วย เกลือเฟอริกจึงทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจน ซึ่งการค้นคว้าต่อมาพบว่ามีสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจนอีกหลายชนิด เช่น เฟอริกไซยาไนด์ เป็นต้น
Sam Ruben & Martin Kamen
ค.ศ.1941 แซม รูเบน และ มาร์ติน คาเมน ได้นำสาหร่ายสีเขียวในปริมาณที่เท่าๆกัน ใส่ลงไปในขวดแก้ว 2 ใบคือ ก.และ ข. แล้วใส่น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในขวดขวด ก. ใส่ H2O ซึ่งประกอบด้วยออกซิเจนซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสี คือ 18O แต่ CO2 ซึ่งมี O2 ธรรมดา
ขวด ข. ใส่ CO2 ที่ประกอบด้วย 18O แต่ใส่ H2O ที่มี O2 ธรรมดา ตั้งขวดทั้ง 2 ใบให้ได้แสง สาหร่ายจะสังเคราะห์แสง เกิด O2 แล้วนำมาทดสอบพบว่า ขวด ก. O2 ที่ได้จากการสังเคราะห์เป็น 180 ขวด ข. ที่ได้จากการสังเคราะห์เป็น O2 ธรรมดา
สรุปได้ว่า O2 ที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงมาจากโมเลกุลของน้ำ
Whihelm Englman
ชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1895การทดลองของเองเกลมันใช้ Aerobic bacteria และใช้ส่าหร่าย spirogyra ที่มีรงควัตถุเหมือนพืช เพื่อยืนยันว่าความยาวคลื่น ณ แสงสีแดง และแสงสีม่วง ทำให้เกิดการสังเคราะห์มากที่สุด คือมีการปล่อย O2มามากสุดนั่นเอง จากการทดลองพบว่า แบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจนมารวมกลุ่มกันที่บริเวณสาหร่ายได้รับแสง
Joseph
Priestley
ในปี ค.ศ.1772 โจเซฟ พริสท์ลีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการทดลองโดยจุดเทียนไขไว้ในครอบแก้ว ปรากฎว่าสักครู่เทียนไขดับ และเมื่อใส่หนูเข้าไปครู่ต่อมาหนูก็ตาย แต่ถ้าเอาพืชใส่ อีก 10 วันต่อมาเมื่อจุดเทียนไขใหม่ ปรากฎว่าเทียนลุกไหม้อยู่ได้โดยไม่ดับทันที ต่อมาได้ทำการทดลองจุดเทียนไขในครอบแก้วที่มีพืชด้วย พบว่าเทียนไขจุดติดไฟได้ดี และเมื่อเอาหนูใส่เข้าไป พบว่าหนูยังคงมีชีวิตอยู่ได้
ข้อสรุปได้ว่า 1.การลุกไหม้ของเทียนไขและการหายใจของหนูทำให้เกิดอากาศเสีย ดังนั้นจึงทำให้เทียนไขดับและทำให้หนูตาย 2.พืชสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้
Jan Ingen-Housz
พ.ศ.2339 แจน อินเก็น ฮูซ นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ ได้ทำการทดลองคล้ายกับโจเซฟ พริสต์ลีย์ โดยใส่พืชในครอบแก้วแต่แยกเป็นส่วนๆ เช่น ลำต้น ใบ แล้วทิ้งไว้ในที่มืดหลังจากนั้นจึงจุดเทียนไขพบว่าไม่ติดไฟ และเมื่อทดลองอีกครั้งโดยนำไปไว้ที่บริเวณแสงสว่าง แล้วจุดไฟพบว่าในครอบแก้วที่มีพืชสีเขียวสามารถจุดติไฟได้
สรุปได้วว่า พืชจะเปลี่ยนอากาศเสีย เป็นอากาศดีได้ต้องใช้แสงด้วย
Nicolas Theodore de Soussure
พศ. 2347 เขาได้พิจารณาการค้นพบของ แวน เฮลมองท์ ที่แสดงให้เห็นว่า น้ำหนักของพืชเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำหนักของน้ำที่พืชได้รับ แล้วมาศึกษาต่อ โดยสรุปว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นบางส่วนเป็นน้ำหนักของน้ำที่พืชได้รับ
Van Niel
ในปี ค.ศ. 1930 แวน นีล พบว่า แบคทีเรียบางชนิด สามารถสังเคราะห์แสงได้โดยไม่ใช้H2O แต่ใช้ H2S จึงเกิดซัลเฟอร์ (S) ออกมา
ได้เสนอสมมติฐานว่า…ในกระบวนการสร้างอาหารของพืชนั้น
น่าจะคล้ายกับการสร้างอาหารของแบคทีเรีย ซึ่งแสง (light) มีบทบาทสำคัญคือ ทำให้โมเลกุล ของน้ำแตกตัวเป็น H+ กับ OH- จากนั้น H+ จะเข้าทำปฏิกิริยากับCO2 เกิดเป็นคาร์โบไฮเดรต ( CH2O ) ขึ้น
น.ส.จินดา ธรรมมา ชั้น ม.4/7 เลขที่ 52
น.ส.ชนิษฐา ชูชาติ ชั้น.4/7 เลขที่53