Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จิตบำบัด (Psychotherapy), นางสาวสุภิญญา คำพันธ์ 61122230090 - Coggle…
จิตบำบัด (Psychotherapy)
ความหมาย
หมายถึง การรักษาความผิดปกติทางด้านจิตใจหรืออารมณ์ด้วยวิธีการพูดคุยกับผู้ป่วย หรือบางวิธีอาจไม่ใช้วาจา (Nonverbal communication) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ยอมรับตนเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนความคิด เจตคติและพฤติกรรมอันนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม
ลักษณะของจิตบำบัด
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
- จิตบำบัดรายบุคคล (Individual Psychotherapy)
- จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
ชนิดของจิตบำบัดกลุ่ม
- Didactic group การทำกลุ่มแบบนี้ต้องอาศัยความรู้เป็นหลัก ผู้รักษาในกลุ่มจะต้องนำเรื่องราวต่างๆ มาพูดและแนะนำผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องใช้เชาวน์ปัญญาของผู้ป่วยในการเข้าใจถึงปัญหาและอารมณ์ของเขาเอง
2.Therapeutic Social Club เป็นกลุ่มที่ผู้ป่วยเลือกผู้แทนของตนขึ้นมาแล้วผู้แทนเหล่านี้มีส่วนช่วยในการบริหารกิจกรรมต่างๆ ในกลุ่ม โดยผู้รักษาเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาและเลือกบรรดาสมาชิกในกลุ่ม
- Repressive interaction group เป็นกลุ่มที่ให้ผู้ป่วยได้แสดงพฤติกรรมออกมาในรูปของกิจกรรมที่มีประโยชน์
- Free - interaction group ใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เข้ามาใช้เพื่อให้เข้าถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองในกลุ่ม โดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยแสดงความรู้สึกออกมาอย่างอิสระในกลุ่ม รวมทั้งแสดงปฏิกิริยาสัมพันธ์กับสมาชิกอื่นๆ ในกลุ่ม
- Psychodrama ในผู้ป่วยแสดงละครโดยมีจุดมุ่งหมายให้ระบายอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและปัญหาออกมาในรูปของการแสดง ทำให้เข้าใจปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น
-
รูปแบบจิตบำบัด
มี 2 แบบ ดังนี้
- จิตบำบัดแบบหยั่งเห็น (Insight Psychotherapy)
- เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งของจิตใจเฉพาะเรื่อง (ในระดับจิตไร้สำนึก)
- เพื่อแก้ไขกลไกทางจิตที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ
- เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความจริงของชีวิต
- จิตบำบัดแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)
- เพื่อบรรเทาอาการโดยแก้ปัญหาเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง
- เพื่อแก้ปัญหาหรือความขัดแย้งระดับจิตรู้สำนึก
- เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยทนต่อภาวะตึงเครียด
- เพื่อช่วยเพิ่มพลังและประคับประคองให้แก่การทำงานของจิต
-
-
-
-